foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

จุดประสงค์ของคำว่า “ซิกร์ กะซีร” (การรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมาย) นั้นคืออะไร

 يا ايّها الّذين امنوا اذكرا الله ذكراً كثيراً

 “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! จงรำลึกถึงอัลลอฮ์ด้วยการรำลึกอย่างมากมายเถิด” (1)

           เนื่องจากปัจจัยที่นำไปสู่ความเผอเรอในชีวิตทางโลกแห่งวัตถุนั้นมีมากมาย และการกระซิบกระซาบของหมู่มาร (ซาตาน) ก็ถาโถมเข้ามาสู่มนุษย์จากทุกทิศทุกทาง ดังนั้นเพื่อที่จะต่อสู้กับสิ่งเหล่านี้ ไม่มีหนทางอื่นใด นอกจาก «ذكر كثير» "การรำลึก (ถึงอัลลอฮ์) อย่างมากมาย" และ "การรำลึก (ถึงอัลลอฮ์) อย่างมากมาย" ที่แท้จริงนั้นหมายถึง "การคิดคำนึงและการมุ่งตรงสู่พระผู้เป็นเจ้าอย่างจริงจัง" ไม่ใช่แค่เพียงกล่าวรำลึกด้วยวาจาและการกระดกลิ้นเพียงเท่านั้น การรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมายนั้นจะฉายแสงรัศมีปกคลุมการดำรงอยู่ของการกระทำและการแสดงออกทั้งหมดของมนุษย์

            ด้วยเหตุนี้ คัมภีร์อัลกุรอานในโองการนี้ จึงเรียกร้องผู้ศรัทธาทุกคนให้ทำการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าในทุกสภาพ เมื่อทำอิบาดะฮ์ (นมัสการและเคารพภักดี) และรำลึกถึงพระองค์ ก็จงทำด้วยจิตใจที่มุ่งตรงต่อพระองค์ และจงมีความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์ เมื่อเผชิญหน้ากับความชั่วและความผิดบาปต่างๆ ก็จงรำลึกถึงพระองค์ ยับยั้งหัวใจและสายตาของตน หรือหากพลาดพลั้งไปกระทำในสิ่งที่เป็นความชั่วและการละเมิดฝ่าฝืนต่อพระผู้เป็นเจ้า ก็จงรีบกลับตัวกลับใจ (เตาบะฮ์) และหันกลับสู่แนวทางสัจธรรม เมื่อได้รับเนี๊ยะอ์มัต (สิ่งดีงาม) ก็จงรำลึกและขอบคุณต่อพระองค์ เมื่อประสบกับความทุกข์ยาก ความเดือดร้อนและภัยพิบัติต่างๆ ก็จงรำลึกถึงพระองค์ และจงมีความอดทนอดกลั้น

            จุดประสงค์ของคำว่า “ซิกร์ กะซีร” (การรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมาย) นั้นคืออะไร ในคำรายงาน (ริวายะฮ์) และในคำพูดของนักอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอานนั้น ได้อรรถาธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้มากมาย ซึ่งตามรูปการแล้วทั้งหมดที่ถูกกล่าวถึงนั้นคือตัวอย่าง (มิศดาก) ของคำว่า “ซิกร์ กะซีร” (การรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมาย) ทั้งสิ้น และคำๆ นี้มีความหมายครอบคลุมอย่างกว้างขวางถึงคำอรรถาธิบายดังกล่าวทั้งหมด ตัวอย่างเช่น ในฮะดีษ (วจนะ) บทหนึ่งของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านกล่าวว่า

 إذا أيقَظَ الرجُلُ أهلَهُ مِنَ اللَّيلِ فَتَوَضَّآ و صَلَّيا كُتِبا مِنَ الذّاكِرينَ اللّه َ كثيرا و الذّاكِراتِ

“เมื่อผู้ชายได้ปลุกภรรยาของเขาให้ตื่นนอนขึ้นมาในยามกลางคืน โดยที่ทั้งสองจะทำวุฎูอ์และทำนมาซ เขาทั้งสองจะถูกบันทึกว่าเป็นผู้รำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมาย” (2)

            และในฮะดีษ (วจนะ) บทหนึ่งจากท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า : ใครก็ตามที่กล่าว “ตัสเบี๊ยะห์” ของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รออ์ (อ.) ในเวลากลางคืน เขาจะเข้าอยู่ในโองการนี้ บรรดามุฟัซซิรีน (นักอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอาน)

           บางคนกล่าวว่า : “ซิกร์ กะซีร” (การรำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมาย) คือการที่มนุษย์จะรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าทั้งในเวลายืนและนั่ง และในยามเข้านอน แต่อย่างไรก็ตาม “ซิกร์” (การรำลึก) นั้นคือสัญลักษณ์บ่งชี้ถึงการคิดใคร่ครวญ (ฟิกร์) และการคิดใคร่ครวญก็คือพื้นฐานนำไปสู่การกระทำ (อะมั้ล)

          ดังนั้นจุดประสงค์จากคำว่า “ซิกร์” (การรำลึกพระผู้เป็นเจ้า) ในที่นี้จะประกอบไปด้วยการคิดใคร่ครวญและการนำสู่การกระทำ (อะมั้ล) รางวัลตอบแทนที่ยิ่งใหญ่สำหรับคนกลุ่มนี้ทั้งชายและหญิงที่ทำการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าอย่างมากมาย    

          คัมภีร์อัลกุรอานได้อธิบายไว้เช่นนี้ว่า

 وَالذَّاكِرِينَ اللَّهَ كَثِيرًا وَالذَّاكِرَاتِ أَعَدَّ اللَّهُ لَهُم مَّغْفِرَةً وَأَجْرًا عَظِيمًا

“บรรดาชายและหญิงผู้รำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมายนั้น อัลลอฮ์ได้ทรงเตรียมการอภัยโทษและผลรางวัลอันยิ่งใหญ่ไว้แล้วสำหรับพวกเขา” (3)

          อันดับแรก ผู้ที่รำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าอย่างมากมายนั้นจะได้รับการชำระล้างด้วยน้ำแห่งการอภัยโทษในความผิดบาปต่างๆ ของเขา ที่เป็นสาเหตุทำให้จิตวิญญาณของเขาแปดเปื้อน หลังจากนั้นพระองค์จะทรงประทานรางวัลอันยิ่งใหญ่แก่พวกเขา โดยที่ความยิ่งใหญ่ของมันนั้นไม่มีผู้ใดล่วงรู้ได้นอกจากพระองค์เพียงเท่านั้น

           ประเด็นที่น่าสนใจในที่นี้ ก็คือ คำว่า “ أَعَدَّ اللَّهُ لَهُم َ” (อัลลอฮ์ได้ทรงเตรียมไว้แล้วสำหรับพวกเขา) ซึ่งใช้รูปกริยาอดีตกาล (อัลมาฎีย์) เป็นเครื่องอธิบายให้เห็นว่า รางวัลและผลตอบแทนนี้จะเกิดขึ้นจริงและจะไม่มีการละเมิดอย่างแน่นอน หรือชี้ให้เห็นว่า สวรรค์และเนี๊ยะอ์มัต (สิ่งดีงาม) ต่างๆ ของพระองค์นั้น ขณะนี้ถูกเตรียมพร้อมไว้แล้วสำหรับปวงผู้ศรัทธา ผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมาย

   อบูซะอีด เล่าว่า :

أن رسول الله (صلى الله علیه وآله وسلّم) سئل أی العباد أفضل درجة عند الله یوم القیامة ؟

قال : الذاكرون الله كثیرا . قلت : یا رسول الله و من الغازی فی سبیل الله ؟

قال : لو ضرب بسیفه فی الكفار و المشركین حتى ینكسر و یختضب دما لكان الذاكرون الله أفضل درجة منه

          มีผู้ถามท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ว่า “บ่าวคนใดที่มีสถานะที่ประเสริฐที่สุด ณ อัลลอฮ์ ในวันกิยามะฮ์” ท่านตอบว่า “บรรดาผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮ์อย่างมากมาย” (อบูซะอีด กล่าวว่า) ฉันได้ถามว่า “โอ้ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์! และเขาจะประเสริฐกว่าผู้ที่ทำสงครามในทางของอัลลอฮ์อีกกระนั้นหรือ?” ท่านตอบว่า “แม้เขา (นักรบผู้นั้น) จะฟันดาบของตนในหมู่ผู้ปฏิเสธและผู้ตั้งภาคี จนกระทั่งดาบหัก และ (ร่างกายของเขา) เปื้อนไปด้วยเลือดก็ตาม แน่นอนยิ่งว่า ผู้ที่รำลึกถึงอัลลอฮ์นั้นย่อมมีสถานะที่ประเสริฐกว่าเขา” (4)

          แน่นอนผู้ที่ทำการต่อสู้ (ญิฮาด) ในหนทางของพระผู้เป็นเจ้าด้วยความบริสุทธิ์ใจต่อพระองค์นั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้ที่เขาจะไม่ใช่ผู้ที่รำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าอย่างมากมาย อย่างไรก็ตาม การรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าอย่างมากมาย หรือ “ซิกร์ กะซีร” นั้นจะไม่เกิดขึ้น นอกจากการที่เราจะต้องพยายามในการฝึกฝนด้วยการคิดใคร่ครวญและมุ่งความสนใจไปยังพระองค์อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาและในทุกสภาพการณ์ และแน่นอนยิ่งว่า ความจำเป็นของการรำลึกถึงพระผู้เป็นเจ้าที่มีต่อหัวใจและจิตวิญญาณของมนุษย์นั้น ก็เปรียบได้ดั่งอาหารและน้ำที่มีต่อร่างกายของเรา


แหล่งอ้างอิง :

(1) อัลกุรอานบทอัลอะห์ซาบ โองการที่ 41

(2) มัจญ์มะอุลบะยาน, เล่มที่ 8, หน้าที่ 561

(3) อัลกุรอานบทอัลอะห์ซาบ โองการที่ 35

(4) ตัฟซีร อัลมีซาน, เล่มที่ 16, หน้าที่ 333


บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม