foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

ทุ่งอาเราะฟะฮ์ ดินแดนแห่งการวิงวอนขอ(ดุอาอ์)

       บทคัดย่อ : วันอาเราะฟาต คือ วันแห่งการ (ดุอาอ์) วิงวอนและกลับตัวกลับใจ แม้ว่าในวันนี้ตามรายงานกล่าวว่า เป็นสิ่งส่งเสริมให้กระทำ (มุสตะฮับ) การถือศีลอด แต่ถ้าการถือศีลอดเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายอ่อนแอจนบุคคลนั้นไม่อาจอ่านดุอาอ์ต่างๆ ในวันนี้ได้

      ดังนั้น เขาจะต้องไม่ถือศีลอด เพื่อเก็บพละกำลังไว้อ่านดุอาอ์ ฉะนั้น ในวันอาเราะฟะฮ์ ดุอาอ์จึงมีความสำคัญยิ่งกว่าการถือศีลอดมุสตะฮับ เสียด้วยซ้ำไป (1)

      วันอาเราะฟาตปีหนึ่งมีแค่วันเดียวเหมือนค่ำคืนแห่งอานุภาพ (ลัยละตุลก็อดร์) ปีหนึ่งมีอยู่เพียงคืนเดียว ดังนั้นมวลผู้ศรัทธาไม่ควรพลาดโอกาสต่อวันสำคัญเหล่านี้ ทว่าควรให้ความสำคัญและมีความกระตือรือร้น ทั้งบอกกล่าวและชักชวนให้บุตรหลานของตนได้มีส่วนร่วมในวันเวลาดังกล่าว โดยพร้อมเพียงกัน

อาเราะฟะฮ์ดินแดนแห่งการดุอาอ์

บทนำ : เมื่อกล่าวถึงสถานที่ที่เหมาะสมต่อการวิงวอนขอดุอาอ์คงจะไม่มีใครสามารถลืมเลือนทุ่งอาเราะฟาตได้อย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นหนึ่งในสถานที่ที่ได้รับการยกย่องว่าคำขอดุอาดฺจะถูกตอบรับ

      บทบาทที่แท้จริงของดุอาอ์คือ การไปถึงยังความเมตตาอันกว้างไพศาลของอัลลอฮ์ ท่านอิมามซอดิก (อ.) กล่าวว่า “ดุอาอ์คือสถานแห่งการตอบรับ ประหนึ่งหมู่เมฆคือขุมคลังแห่งสายฝน” (2)

      เป็นที่ชัดเจนตามคำกล่าวของท่านอิมามที่ว่า เฆมคือขุมคลังแห่งสายฝน และดุอาอ์ก็เป็นสถานแห่งการตอบรับ

      อีกนัยหนึ่งกล่าวได้ว่า การตอบรับนั้นซ่อนอยู่ในบทดุอาอ์ ประหนึ่งสายฝนที่ซ่อนอยู่ในหมู่เมฆ ดังนั้นถ้าบุคคลหนึ่งมีความคิดบริสุทธิ์ มีความจริงใจ มีความรู้และความเข้าใจ ถ้าเขาดุอาอ์เหมือนผู้อื่นที่ดุอาอ์ แน่นอนดุอาอ์ของเขาจะถูกตอบรับ ชัยชนะที่สำคัญของบรรดาศาสดา (อ.) ส่วนหนึ่งมาจากความสิริมงคลของดุอาอ์ เนื่องจากการใช้กำลังหรือการปฏิบัติอาจทำให้ร่างกายได้รับชัยชนะ

      แต่ดุอาอ์จะทำให้จิตวิญญาณประสบความสำเร็จและได้รับชัยชนะ ดั่งที่ท่านอิมามริฎอ (อ.) กล่าวแก่เหล่าสหายของท่านว่า “พวกท่านจงใช้อาวุธของเหล่าบรรดาศาสดาเถิด มีผู้ถามท่านว่า อาวุธของบรรดาศาสดาคืออะไร อิมาม (อ.) ตอบว่า “ดุอาอ์” (3)

      อาจกล่าวได้ว่าหนึ่งในปรัชญาของการ วุกูฟในทุ่งอาเราะฟาต ของตอนบ่ายวันที่ 9 เดือนซุลฮิจญะฮ์นั้น ก็เพื่อให้ปวงบ่าวได้มีโอกาสดุอาอ์และ(เตาบะฮ์) กลับตัวกลับใจ ชำระล้างจิตใจตนให้สะอาดบริสุทธิ์ พร้อมกับวิงวอนต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ให้ทรงอภัยโทษแก่ตน ให้ตนสะอาดบริสุทธิ์เหมือนแรกเกิด

      อาเราะฟะฮ์ ในความหมายหนึ่งจึงหมายถึง การรู้จัก ซึ่งแน่นอนว่าตรงนี้ย่อมหมายถึงการ รู้จักตนเอง ถ้ามนุษย์รู้จักตนเองมากเท่าใด เขาย่อมรู้จักอัลลอฮ์ เพิ่มมากเป็นทวีคูณ ฮะดีษรายงายของท่านศาสนทูต (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ใครก็ตามรู้จักตนเอง เขาก็จะรู้จักพระผู้อภิบาลของเขา”

ความสำคัญของการวิงวอนขอ (ดุอาอ์)

      ดุอาอ์ เป็นเพียงสิ่งเดียวที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์ของมนุษย์ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์แล้ว มนุษย์มิได้มีกรรมสิทธิ์ในกิจการใดเลยนอกจากดุอาอ์และความนอบน้อมถ่อมตน ดังคำพรรณนาในบทดุอาอ์โกเมล วรรคหนึ่งกล่าวว่า

يَا سَرِيعَ الرِّضَا اغْفِرْ لِمَنْ لاَ يَمْلِكُ إِلاَّ الدُّعَاءَ

โอ้ พระผู้ทรงเร่งรีบในการอภัย โปรดอภัยให้แก่บุคคลซึ่งมิมีสิ่งใด เว้นแต่ ดุอาอ์ (4)

      ด้วยเหตุนี้ ยามเมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูภายใน ไม่มีอาวุธใดจะปราบปรามได้ นอกจากการคร่ำครวญ

وَ سِلاَحُهُ الْبُكَاءُ

“และอาวุธของเขาคือการร่ำไห้คร่ำครวญ”

      ศัตรูภายนอกเราสามารถกำจัดได้ด้วยอาวุธ ทั้งอาวุธหนักและเบา แต่สำหรับชัยฏอนศัตรูตัวฉกาจที่แฝงอยู่ในจิตใจ มีเพียงการร่ำไห้คร่ำครวญ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์เท่านั้น ที่จะสามารถกำจัดให้สิ้นซากไปได้

       ด้วยเหตุนี้บุคคลใดที่ไม่เคยร่ำไห้คร่ำครวญ เขาจึงไม่มีอาวุธประจำกาย และผู้ใดไม่มีอาวุธประจำกายเขาจะไม่มีวันได้รับชัยชนะอย่างแน่นอน เนื่องจากมนุษย์ตราบที่เขายังมองเห็นแต่ตัวตน เขาจะมองไม่เห็นอัลลอฮ์ เขาจะไม่นอบน้อมถ่อมตนต่อพระองค์ และเมื่อเขาไม่ดุอาอ์ ไม่ร่ำไห้คร่ำครวญต่อพระองค์ เขาก็จะพ่ายแพ้ต่อศัตรูทั้งภายนอกและภายใน

      ถึงแม้ว่าตลอดระยะของการดำเนินชีวิต จะมีความเหมาะสมกับการดุอาอ์เสมอแต่ในช่วงเทศกาลฮัจญ์โดยเฉพาะการได้มีโอกาสไปปรากฏตัว ณ สถานที่อันเฉพาะ จะมีความโชติช่วงและมีมรรคผลเป็นพิเศษมากยิ่งกว่า ต่อการดุอาอ์และการวิงวอนต่อพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ดุอาอ์ นั้นถือเป็นความใสบริสุทธิ์และเป็นที่ยอมรับ ณ พระองค์ ส่วนอิฮ์รอมและกะอ์บะฮ์คือความเสรีและความสะอาด ซึ่งทั้งสองนั้น มีผลต่อการกลั่นกรองให้เกิดความใสบริสุทธิ์ ดังนั้น การดุอาอ์ในพิธีฮัจญ์ และดุอาอ์ ณ มีกอตที่กำหนดไว้ ย่อมได้รับผลสะท้อนที่ดียิ่งเสมอ ฉะนั้น ถ้าสังเกตทุกขั้นตอนของการปฏิบัติฮัจญ์จะพบว่าขั้นตอนเหล่านั้นมีคำสั่งพิเศษให้ดุอาอ์ขณะปฏิบัติ ซึ่งความพิเศษที่สุดของการดุอาอ์ในพิธีฮัจญ์คือดุอาอ์อาเราะฟาต ในทุ่งอาเราะฟะฮ์ พร้อมกับมวลประชาชนทั่วสารทิศที่เดินทางมาชุมนุมกัน ณ สถานที่นั้น ด้วยความรักและความนอบน้อมถ่อมตน

     รายงานจำนวนมากมายกล่าวถึง การกระทำในวันอาเราะฟะฮ์ ขณะที่วุกูฟในทุ่งอาเราะฟาต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง วิธีการอ่านดุอาอ์ขณะวุกูฟ ซึ่งส่วนหนึ่งของดุอาอ์ในวันนั้นคือ ดุอาอ์อาเราะฟะฮ์ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) และดุอาอ์ของท่านอิมามซัจญาด (อ.) และบางส่วนได้ให้ความสำคัญกับการดุอาอ์ให้บุคคลอื่น ซึ่งส่วนใหญ่จากเหล่าสหายของอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) จะทุ่มเทและให้ความสำคัญต่อวันนี้เป็นอย่างมาก พวกเขาจะใช้เวลาส่วนใหญ่ดุอาอ์ให้แก่บุคคลอื่น

      อะลี บุตรของอิบรอฮีม กล่าวถึงประเด็นนี้โดยเล่าจากบิดาของท่านว่า ได้เห็น “อับดุลลอฮ์ บิน ญุนดับ” ในอาเราะฟาต ซึ่งเขาได้ยกมือดุอาอ์ต่ออัลลอฮ์ เป็นเวลานาน ซึ่งนัยตาทั้งสองของเขาเอ่อล้นด้วยน้ำตา ซึ่งฉันไม่เคยเห็นเหล่าสหายคนใดดุอาอ์เช่นนี้มาก่อน เมื่อประชาชนได้เริ่มเคลื่อนย้ายไปยัง มัชอะริลฮะรอม ฉันได้กล่าวแก่เขาว่า ฉันไม่เคยเห็นบุคคลใดดุอาอ์ดีไปกว่าท่าน อับดุลลอฮ์ กล่าวตอบว่า ฉันขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า ในเวลานั้นฉันได้ดุอาอ์ให้แก่บรรดาพี่น้องผู้ศรัทธา เนื่องจากฉันได้ยินจากท่านอิมามมูซากาซิม (อ.) กล่าวว่า “บุคคลใดก็ตามได้ดุอาอ์ให้แก่พี่น้องร่วมศรัทธาของตน จะมีเสียงดังจากข้างๆ บัลลังก์ของอัลลอฮ์ว่า จงเพิ่มเป็นทวีคูณแก่เขา 100,000 เท่า ในสิ่งที่เขาได้วอนขอ”

     ฉะนั้นไม่สมควรดอกหรือที่ฉันจะรับผลบุญของดุอาอ์หนี่งแสนเท่าที่ถูกตอบรับ ด้วยการดุอาอ์ให้แก่พี่น้องร่วมศรัทธา (5)

ความใกล้ชิดของอัลลอฮ์ยังปวงบ่าว

     ฮัจญ์ คือเหตุนำไปสู่การรู้จัก ซึ่งจะไม่พบในที่อื่นใดอีกเว้นเสียแต่ ทุ่งอาเราะฟาต ดังรายงานที่กล่าวว่า “อัลฮัจญ์คือการรู้จัก” (6) หมายถึง วันอาเราะฟะฮ์และแผ่นดินอาเราะฟาต แต่ละอย่างมีความพิเศษและฐานันดรอยู่ในตัว การไปถึงยังความพิเศษทั้งสองนั้น จะทำให้ผู้แสวงบุญทั้งหลายพบกับความง่ายดาย และจะทำให้เขารับรู้ถึงทั้งสองแม้แต่ในช่วงเวลาอื่นที่มิใช่ฮัจญ์

      ด้วยเหตุนี้ทุ่งอาเราะฟาต ที่เราจะเข้าใจถึงความพิเศษและความประเสริฐของวันอาเราะฟะฮ์และทุ่งอาเราะฟาต กล่าวคือ การเตรียมพร้อมตัวเองเพื่อดุอาอ์ในวันนั้น การวอนขอ(ดุอาอ์) ซึ่งถือว่าเป็นมันสมองของอิบาดะฮ์ (7) สถานแห่งการตอบรับประหนึ่งเมฆที่เป็นขุมคลังแห่งสายฝน (8)

      ดุอาอ์ คือสื่อสำหรับการถ่ายทอดความปรารถนา ซึ่งมิได้เกิดจากอารมณ์และอำนาจฝ่ายต่ำ ทว่าด้วยตัวของมันแล้วคือ การตอบรับ ในดุอาอ์นั้นเขาไม่เรียกร้องจากใครอื่น นอกจากอัลลอฮ์ผู้ทรงมั่งคั่ง ผู้ทรงไพศาล นอกจากพระองค์ผู้ทรงสมบูรณ์แท้แล้ว เขามิได้วิงวอนขอจากผู้ใดอีก และในเวลานั้นเขามิได้มีเจตนาอื่นใด นอกจากการปลดเปลื้องบรรดาสิ่งปกคลุมทั้งหลาย ด้วยรัศมีนิรันดร์ของพระองค์ เพื่อว่าจิตวิญญาณของเขาจะได้พันธนาการเข้ากับอำนาจและเกียรติยศของพระองค์ (9)

       ความใกล้ชิดของอัลลอฮ์ (ซบ.) ที่มีต่อปวงบ่าวนั้น มีหลายระดับและหลายขั้นตอนซึ่งภายในของแต่ละระดับนั้นสามารถนำเราไปถึงยังระดับต่อไป ดังนั้นการติดตามความพิเศษเหล่านี้ในทุกระดับจะนำเราไปสู่รายละเอียดที่ใหม่กว่า ซึ่งจะทำให้เราใส่ใจเป็นพิเศษในดุอาอ์แน่นอน

       ระดับขั้นบางส่วนเหล่านี้ จะมีความใกล้ชิดยิ่งกว่าอีกบางส่วน ซึ่งเมื่อเทียบกับโองการอัลกุรอานจะทำให้เข้าใจได้ดังนี้

      1- ในโองการที่ 186 บทบะเกาะเราะฮ์ กล่าวถึงความใกล้ชิดของอัลลอฮ์ที่มีต่อมนุษย์ และดุอาอ์ว่า

وَإِذَا سَأَلَكَ عِبَادِي عَنِّي فَإِنِّي قَرِيبٌ أُجِيبُ دَعْوَةَ الدَّاعِ إِذَا دَعَانِ فَلْيَسْتَجِيبُواْ لِي وَلْيُؤْمِنُواْ بِي لَعَلَّهُمْ يَرْشُدُونَ

“เมื่อปวงบ่าวของข้าถามเจ้าเกี่ยวกับข้า (จงตอบเถิดว่า) ข้าอยู่ใกล้ชิดยิ่ง ข้าตอบรับคำวิงวอนขอของผู้วิงวอน เมื่อเขาวิงวอนต่อข้า ดังนั้น จงตอบรับคำเชิญชวนของข้า และศรัทธาต่อข้า เพื่อพวกเขาจะได้อยู่ในหนทางที่ถูก”

     ถ้าสังเกตโองการจะเห็นว่า ความใกล้ชิดของอัลลอฮ์ (ซบ.) สมจริงเสมอเนื่องจากคำตอบที่ปวงบ่าวได้ถามจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) อัลลอฮ์ คือผู้ตอบโดยตรง พระองค์มิได้ตรัสแก่ท่านศาสดาว่า เจ้าจงตอบพวกเขาเถิด ทว่าพระองค์ทรงตอบต่อหน้าศาสดาโดยตรงว่า “ข้าอยู่ใกล้ชิดยิ่ง”

      อัลลามะฮ์ เฏาะบาเฏาะบาอีย์ อธิบายความหมายของดุอาอ์ ในโองการนี้ไว้ในตัฟซีรอัลมีซานอย่างลึกซึ้งและงดงามที่สุด โดยกล่าวว่า

  1. ที่มาของคำพูดคือ อัลลอฮ์ ซึ่งพระองค์ตรัสในฐานะของบุรุษที่หนึ่ง มิใช่บุรุษที่สาม แน่นอนว่าสิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความการุณย์พิเศษที่พระองค์ทรงมีต่อประเด็นของดุอาอ์
  2. แทนที่พระองค์จะตรัสว่า “เมื่อประชาชนได้ถามเจ้า” แต่พระองค์ทรงเลือกใช้ประโยคว่า“เมื่อปวงบ่าวของข้า” บ่งให้เห็นความการุณย์อันเอนกอนันต์ของพระองค์ที่มีต่อปวงบ่าว
  3. สื่อกลางในการตอบคำวิงวอนได้ถูกตัดหายไป ซึ่งได้กล่าวตอบโดยไม่มีสื่อกลางว่า “ข้าอยู่ใกล้ชิดยิ่ง”ซึ่งมิได้ตรัสว่า “จงกล่าวเถิดว่าแท้จริงข้า” หรือตรัสว่า “พระองค์ทรงอยู่ใกล้ชิด” แต่ตรัสว่า “ข้าอยู่ใกล้ชิดยิ่ง”
  4. ประโยคดังกล่าวได้เริ่มต้นด้วยคำว่า “อินนะ” แสดงให้เห็นถึงการเน้นย้ำเป็นพิเศษ
  5. ความใกล้ชิดของอัลลอฮ์ ได้อธิบายด้วยซิฟัต (ลักษณะนาม) ว่า “เกาะรีบ”มิได้อธิบายด้วยคำที่เป็นกริยา ซึ่งมิได้บ่งบอกให้เห็นถึงความใกล้ชิดแต่อย่างใด แน่นอนว่า การกล่าวเช่นนี้เน้นย้ำให้เห็นถึง ความเป็นจริงและความต่อเนื่องในความใกล้ชิดของพระองค์ที่มีต่อปวงบ่าว
  6. การตอบรับดุอาอ์ พระองค์ตรัสด้วยกริยาที่เป็นรูปปัจจุบันกาลที่ว่า “อุญีบ์” บ่งชี้ให้เห็นถึงความต่อเนื่องในการตอบรับดุอาอ์ นั่นหมายความว่า เมื่อใดที่ปวงบ่าววิงวอนขอดุอาอ์ต่อพระองค์ พระองค์ทรงตอบรับเสมอ
  7. การตอบรับดุอาอ์พระองค์ใช้ประโยคที่เป็นเงื่อนไข (ชัรฏียะฮ์) ที่ว่า “อิซาดะอาน” กล่าวคือ เมื่อเขาวิงวอนต่อข้า ซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าเงื่อนไขดังกล่าว มิมีประเด็นใดเพิ่มเติมบนประโยคที่กล่าวก่อนหน้านี้ “ดะอ์วะตัดดาอิ” คำวิงวอนขอของผู้วิงวอน ทว่าสองสิ่งนี้เสมือนเป็นสิ่งเดียวกัน แน่นอนประโยชน์ของเงื่อนไขเหล่านี้บ่งบอกให้เห็นว่า การตอบรับดุอาอ์นั้น มิได้มีเงื่อนไขหรือกฎเกณฑ์แต่อย่างใด ดังเช่นโองการที่กล่าวว่า

وَقَالَ رَبُّكُمُ ادْعُونِي أَسْتَجِبْ لَكُمْ

“พระผู้อภิบาลของพวกเจ้าตรัสว่า จงวิงวอนขอต่อข้า เพื่อข้าจะได้ตอบรับพวกเจ้า” (10)

     ดังนั้น ประเด็นทั้ง 7 ประการที่กล่าวมานี้ บ่งบอกให้เห็นถึงความกรุณาและความการุณย์พิเศษที่อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงมีต่อดุอาอ์ พระองค์เน้นย้ำให้เห็นถึง ความแน่นอนและความรวดเร็วในการตอบรับดุอาอ์ ซึ่งทั้งหมดเป็นคุณสมบัติของโองการข้างต้น (11)

     2- อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงใกล้ชิดกับปวงบ่าวที่พร้อมหน้ายังพระองค์ ยิ่งกว่าบรรดาผู้ที่อยู่พร้อมหน้าทั้งหลาย เพียงแต่มนุษย์ไม่เข้าใจและรับรู้ไม่ได้ถึงความใกล้ชิดอันเฉพาะพิเศษของพระองค์

وَنَحْنُ أَقْرَبُ إِلَيْهِ مِنكُمْ وَلَكِن لَّا تُبْصِرُونَ

“เราอยู่ใกล้ชิดเขายิ่งกว่าพวกเจ้าแต่ทว่าพวกเจ้ามองไม่เห็น” (12)

     3- อัลลอฮ์ ทรงใกล้ชิดกับมนุษย์ยิ่งกว่าเส้นชีวิตที่ลำคอของเขาเสียอีก “เรานั้นใกล้ชิดเขายิ่งกว่าเส้นเลือดชีวิตของเขาเสียอีก” (13)

  1. อัลลอฮ์ ทรงใกล้ชิดกับมนุษย์ยิ่งกว่าตัวของเขาเองเสียอีก การใคร่ครวญถึงความถูกต้องของความใกล้ชิดระดับนี้ หรือความเข้าใจความหมายที่ถูกต้องนั้นสามารถเข้าใจได้จากคำกล่าวของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่ว่า “พระองค์ทรงอยู่ ณ ทุกสรรพสิ่ง ชนิดที่ไม่มีวันแยกแยะได้ และทรงออกจากทุกสรรพสิ่งชนิดที่ไม่มีวันใกล้ชิดได้” (14) ขณะที่อธิบายโองการที่กล่าวว่า “พึงรู้ไว้เถิด แท้จริงอัลลอฮ์ทรงกั้นระหว่างบุคคลกับหัวใจของเขา” (15)

     บรรดาผู้แสวงบุญทั้งหลาย เมื่อได้ติดตามระดับต่างๆ เหล่านี้แล้ว เขาก็จะไปถึงยังจุดสิ้นสุด ทว่าการรับรู้สิ่งเหล่านี้ เป็นคุณสมบัติของผู้เชื่อมั่นในพระเจ้า มีความบริสุทธิ์ใจ และจริงใจต่อพระองค์ ดังนั้น ไม่มีความสงสัยใดๆ ในความใกล้ชิดของอัลลอฮ์

    ดังนั้นผู้ที่ดุอาอ์ทุกคนเมื่อเริ่มดุอาอ์ให้กล่าว 10 ครั้ง ว่า “ยาอัลลอฮ์” หลังจากนั้นให้กล่าวว่า “ยาร็อบบี” และสุดท้ายให้กล่าวว่า “ร็อบบี” คำว่า “ยา” ซึ่งในภาษาอาหรับเรียกว่า คำนิดา หมายถึงการส่งเสียงร้องเรียก ซึ่งจากเสียงร้องเรียกจะเปลี่ยนเป็นเสียงกระซิบกระซาบแทน (นัจญ์วา) จาก “มะนาดาต” เปลี่ยนเป็น“มะนาญาต” เนื่องจากมนุษย์นั้น ขณะกระซิบกระซาบเขาจะมีความรู้สึกว่าใกล้ชิดยิ่งกว่า และเนื่องจากเขาปรากฏอยู่ ณ เบื้องพระพักตร์ของพระองค์แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องส่งเสียงร้องเรียกอีกต่อไป ไม่มีสิ่งขวางกั้นระหว่างพระผู้สร้างกับสิ่งถูกสร้าง ระหว่างปวงบ่าวกับอัลลอฮ์ ไม่มีสิ่งกีดขวางใดๆ ทั้งสิ้น นอกจากความเป็นบ่าว

     วรรคหนึ่งของดุอาอ์อบูฮัมซะฮ์ ษุมาลียฺ กล่าวว่า “แท้จริงพระองค์มิได้ปิดกั้นพระองค์ให้ไกลห่างไปจากสิ่งถูกสร้างเว้นเสียแต่ว่าพวกเขาได้ปิดกั้นตัวเองจากพระองค์ เนื่องด้วยการงานของพวกเขา” (16)

     แม้ว่าในโลกของวัตถุดูเหมือนว่าจะมีสิ่งกีดกั้นระหว่าง พระผู้สร้างกับสิ่งถูกสร้างของพระองค์ แต่ในโลกของจิตวิญญาณแล้ว สิ่งปิดกั้นก็คือสิ่งเดียวกันกับสิ่งถูกปิดกั้น ด้วยเหตุนี้ ระหว่างพระผู้สร้างกับสิ่งถูกสร้างจึงไม่มีสิ่งใดขวางกั้น นอกจากความเป็นบ่าวเท่านั้น (17)

      ท่านอิมามโคมัยนี (รฎ.) ได้กล่าวถึงบรรดานักแสวงบุญทั้งหลายไว้ในหนังสือเซาะฮีฟะฮ์นูร เล่มที่ 20 หน้า 109 ว่า “บรรดาปากกา คำพูด และนักเขียนทั้งหลายไร้ความสามารถในการพรรณนาถึงการขอบคุณในความโปรดปรานอันอเนกอนันต์ของพระองค์ ที่มีต่อประชาโลก พระผู้สร้างผู้ทรงปรากฏรัศมีอันเรืองรองของพระองค์ทั่วทั้งจักรวาล ทำให้โลกแห่งความเร้นลับและเปิดเผย ถูกประดับประดาด้วยความโปรดปรานของพระองค์ สิ่งเหล่านี้ได้มาถึงเราได้ด้วยความสิริมงคลของตัวแทนผู้ถูกเลือกสรรของพระองค์

      “อัลลอฮ์ คือ รัศมีแห่งฟากฟ้าทั้งหลายและแผ่นดิน” (18) พระองค์ทรงประทานคัมภีร์แห่งฟากฟ้าแก่ผู้เป็น เซาะฟียุลลอฮ์ จนถึง เคาะลีลุลลอฮ์ และจากเคาะลีลุลลอฮ์ จนถึงฮะบีบุลลอฮ์ พระองค์ทรงสั่งสอนแนวทางไปถึงยังความสมบูรณ์ และการบรรลุสู่ความสมบูรณ์แท้จริง ทรงสอนการจาริกจิตใจเพื่อไปสู่พระองค์ ดังที่กล่าวว่า “จงออกจากเคหะสถานของตนเพื่ออพยพไปสู่อัลลอฮ์”

      ในหนังสือ อธิบาย 40 ฮะดีษ ท่านอิมามกล่าวถึงประเด็นนี้ว่า “เงื่อนไขของการบังเกิดการจาริกจิตใจคือ การอพยพออกจากบ้านที่มืดมิดแห่งจิตใจ ออกจากอัตตาตัวตน และออกจากความเห็นแก่ตัว ดังเช่นการเดินทางด้วยความรู้สึกจริง จนกระทั่งมนุษย์ไปถึงสถานภาพอันแท้จริงของตน แม้ว่าเขาเพียงแค่คิดว่าจะเดินทาง ก็ให้พูดว่า ฉันเดินทาง แน่นอน การเดินทางจะไม่เกิดสมจริง (การเดินทางตามหลักชัรอีย์) นอกเสียจากว่าเขาได้ออกจากบ้านแบกสัมภาระของเขาไปด้วย ทำนองเดียวกันการเดินทางของผู้จาริกจิตใจไปยังอัลลอฮ์ หรือการอพยพของความรู้สึกจะไม่มีวันเกิดสมจริง เว้นเสียแต่ว่า เขาได้เดินทางออกจากบ้านที่มืดมิดของจิตใจ”

      หนังสือเล่มดังกล่าวหน้า 333-334 ท่านอิมามกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวว่า“ตราบที่มนุษย์ยังหลงอยู่ในอำนาจฝ่ายต่ำ เขาก็จะยังคงอยู่ในบ้านแห่งความมืดมิดแห่งจิตใจตลอดไป ไม่มีการเดินทางไปสู่พระองค์ ทว่าเป็นผู้พำนักอยู่ในแผ่นดินตลอดกาล เนื่องจากก้าวแรกของการเดินทางไปสู่อัลลอฮ์ คือ ละทิ้งความลุ่มหลงแห่งจิตใจ”

     ดังนั้น มนุษย์ถ้าคาดหวังว่าจะปลดปล่อยตนเองจากสิ่งขวางกั้น เขาต้องเดินทางออกจากตัวตน ต้องหลีกห่างจากความต้องการของตนเอง เพื่อจะได้ปรากฏสมจริงตามนัยของโองการที่ว่า “ผู้ที่ออกจากบ้านของเขาไป ในฐานะผู้อพยพไปยังอัลลอฮ์” (19) บุคคลใดไม่เดินทางออกจากตัวตน เป็นไปได้ที่ความตายอาจพรากเขาให้พ้นจากนรก ไปสู่สวรรค์ แต่เขาจะไม่มีวันไปถึง ญันนะตุลลิกออ์ เด็ดขาด และบุคคลใดถูกช่วยเหลือให้รอดพ้นจากอัตตาตัวตน วิถีอันเร้นลับของพระเจ้าก็จะเปิดขึ้นสำหรับเขา ฉะนั้น ในช่วงเทศกาลฮัจญ์ ขั้นตอนต่างๆ ในการปฏิบัติฮัจญ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขั้นตอนในทุ่งอาเราะฟาต ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่สุดหรือโอกาสทองก็ว่าได้ ที่เขาจะได้ปลดปล่อยตนเองให้หลุดพ้นจากอัตตาตัวตน และอพยพออกจากบ้านของอำนาจฝ่ายต่ำ

      อัลกุรอานกล่าวอธิบายถึงการอพยพด้านในแง่ของสถานที่ว่าเป็นการอพยพออกจากความตกต่ำและความหน้ารังเกลียดทั้งหลายว่า “จงหลบหลีกให้ห่างไกลจากสิ่งสกปรกโสโครก” (20)

      บุคคลที่หนีออกจากความต่ำทรามและความสกปรกโสโครก เขาก็จะรอดพ้นจากความคับแคบทางธรรมชาติ และเมื่อความตายย่างกรายมาถึงเขา อัลลอฮ์ ทรงสัญญาว่า พระองค์จะเป็นผู้ตอบแทนรางวัลแก่เขา (21)

บทสรุป

      มนุษย์สามารถดุอาอ์ได้ทุกที่ เนื่องจากไม่ว่าเขาจะหันหน้าไปทางทิศใด ก็จะพบอัลลอฮ์ ณ ที่นั่น แต่อิสลามสอนให้รู้ว่าหน้าที่ประการหนึ่งของมนุษย์คือ การแสวงหาสิ่งที่ดีกว่า เมื่ออิสลามสอนว่าบนโลกนี้มีสถานที่มากมายที่ดีที่สุด เหมาะสมต่อการวิงวอนขอดุอาอ์ และอิบาดะฮ์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ แผ่นดินอาเราะฟาต และเมื่ออยู่ ณ แผ่นดินที่ดีที่สุดแล้ว เราก็ควรทำสิ่งที่ดีที่สุดด้วย นั่นคือการดุอาอ์วิงวอนขอให้พี่น้องผู้ศรัทธา การวิงวอนขออภัยโทษให้แก่พวกเขา และแก่ตัวเอง วิงวอนให้แก่บรรดาผู้ได้รับการกดขี่ข่มเหง ต่างได้รับอิสระภาพ วิงวอนให้จิตใจของมุสลิมอ่อนน้อมถ่อมตน มีความรักใคร่ปรองดอง ห่วงใยกันและกัน มีความเข้าใจต่อกัน และยุติการสังหารกันและกัน


เชิงอรรถ :

(1) บิฮารุลอันวาร เล่ม 94, หน้า 123-124

(2) อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2, หน้า 471

(3) อ้างแล้วเล่มเดิม หน้า 468

(4) มะฟาตีฮุลญินาน ดุอาอ์โกเมล

(5) อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2, หน้า 508, เล่ม 4, หน้า 465.

(6) ฮัจญะตุลบัยฎอ เล่ม 2, หน้า 204.

(7) บิฮารุลอันวาร เล่ม 90, หน้า 300

(8) อุซูลกาฟียฺ เล่ม 2, หน้า 471

(9) วรรคหนึ่งจากดุอาอ์ชะอ์บานียะฮ์

(10) อัลกุรอานบทฆอฟิร โองการที่ 60

(11) ตัฟซีรมีซาน เล่ม 2, หน้า 30-31 คัดลอกในเชิงสรุปความ

(12) อัลกุรอานบทวากิอะฮ์ โองการที่ 85

(13) อัลกุรอานบทก็อฟ โองการที่ 16

(14) บิฮารุลอันวาร เล่ม 4, หน้า 27

(15) อัลกุรอานบทอันฟาล โองการที่ 24

(16) มะฟาตีฮุลญินาน ดุอาอ์ อบูฮัมซะฮ์ ษุมาลียฺ

(17) บิฮารุลอันวาร เล่ม 3, หน้า 327

(18) อัลกุรอานบทนูร โองการที่ 35

(19) อัลกุรอานบทอัน-นิซาอ์ โองการที่ 100

(20) อัลกุรอานบทมุดัษษิร โองการที่ 5

(21) อัลกุรอานบทอันอาม โองการที่ 45


บทความโดย  : เชค ดร. มุฮัมมัดชะรีฟ เกตุสมบูรณ์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม