foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

เหตุผลใดที่อิมามฮุเซน (อ.) ไม่ยอมให้สัตยาบันต่อยาซีด!

สถานภาพหนึ่งเดียวที่เป็นความสง่างามของมนุษย์ และนี่คือภาระหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องพิทักษ์รักษาตำแหน่งนี้เอาไว้ให้ได้ การรักษาตำแหน่งอันทรงคุณค่านี้จะเป็นไปได้ก็โดยอาศัยการเชื่อฟังและการยอมตนเป็นบ่าวต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงเท่านั้น…..

      หนึ่งในบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ของท่านอิมามฮุเซน (อ.)  ในเหตุการณ์กัรบะลา คือบทเรียนแห่งเกียรติและศักดิ์ศรี แน่นอน! ใครก็ตามต้องการที่จะเป็นผู้มีเกียรติและมีชีวิตอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี เพื่อที่จะบรรลุสู่เป้าหมายนี้ อันดับแรกจำเป็นที่พวกเขาจะต้องรู้จักศัตรู เพราะเนื่องจากบรรดาศัตรูนั้นไม่ต้องการให้ฝ่ายตรงข้ามของตนได้พบกับเกียรติและศักดิ์ศรี

      เกียรติศักดิ์ศรีคือสิ่งหนึ่งที่สูญหายไป ที่ในชีวิตของมนุษย์ทุกคนเฝ้าตามหามัน และในการดำเนินชีวิตนั้นไม่มีบุคคลใดที่ต้องการจะเป็นผู้ที่ไร้เกียรติและศักดิ์ศรี หากใครก็ตามยอมรับความพ่ายแพ้อย่างง่ายดายและมองว่าตัวเองเป็นผู้พ่ายแพ้โดยปราศจากความพยายามใดๆ เขาได้สูญเสียเกียรติและศักดิ์ศรีของตนไปแล้ว และได้เลือกเอาความอัปยศอดสู คำว่า “อิซซะฮ์” นั้นหมายถึง ความแข็งแกร่งและการไม่ยอมรับความพ่ายแพ้ เป็นคุณลักษณะที่เกิดจากความหวงแหน (ฆ็อยเราะฮ์) ความไว้ตน ความองอาจและความกล้าหาญ ในความเป็นจริงแล้วคำว่า “อิซซะฮ์” (เกียรติศักดิ์ศรี) นั้นหมายถึงการที่ทุกคนรู้ถึงสถานภาพและตำแหน่งของตัวเอง สถานภาพที่เขาจะไม่ยอมขายมันและสูญเสียมันไป

      ในคัมภีร์อัลกุรอาน มนุษย์ได้ถูกแนะนำในฐานะ “ค่อลีฟะฮ์ (ตัวแทน) ของพระเจ้า”

إِنِّي جَاعِلٌ فِي الأَرْضِ خَلِيفَةً

“แท้จริงข้าจะสร้างตัวแทนขึ้นในแผ่นดิน” (1)

      สถานภาพหนึ่งเดียวที่เป็นความสง่างามของมนุษย์ และนี่คือภาระหน้าที่ของพวกเขาที่จะต้องพิทักษ์รักษาตำแหน่งนี้เอาไว้ให้ได้ การรักษาตำแหน่งอันทรงคุณค่านี้จะเป็นไปได้ก็โดยอาศัยการเชื่อฟังและการยอมตนเป็นบ่าวต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงเท่านั้น เนื่องจาก “อิซซะฮ์” (เกียรติศักดิ์ศรี) นั้นเป็นคุณลักษณะที่ดีงาม และพระผู้เป็นเจ้าคือผู้ทรงครอบคลุมคุณลักษณะที่ดีงามและน่าสรรเสริญทั้งมวลไว้ กระทั่งว่าพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงชี้ถึงประเด็นนี้ไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน และถือว่าเกียรติศักดิ์ศรีทั้งมวลเป็นของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว และการเข้าใกล้ชิดพระองค์คือหนทางที่จะได้รับมาซึ่งเกียรติศักดิ์ศรี

مَنْ کَانَ یُرِیدُ الْعِزَّةَ فَلِلَّهِ الْعِزَّةُ جَمِیعًا

“ผู้ใดที่ปรารถนาเกียรติยศศักดิ์ศรี ดังนั้นเกียรติยศศักดิ์ศรีทั้งมวลเป็นของอัลลอฮ์” (2)

       ตลอดเวลามีคนจำนวนมากที่พยายามในการแสวงหาเกียรติและศักดิ์ศรี แต่เนื่องจากเลือกทางที่ผิดพลาดและใช้ประโยชน์จากเครื่องมือที่ไม่ถูกต้อง พวกเขาจึงได้รับผลในทางตรงกันข้าม และแทนที่จะเป็นผู้มีเกียรติศักดิ์ศรีกลับกลายเป็นผู้ต่ำต้อยไร้เกียรติและอัปยศอดสู แม้แต่ในยุคแรกของอิสลาม ผู้ศรัทธาบางคนมองว่าเกียรติและศักดิ์ศรีของตนเองนั้นอยู่ในการใกล้ชิด ความเป็นมิตรและการผูกสัมพันธ์กับบรรดาผู้ปฏิเสธ พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตำหนิการกระทำของพวกเขาไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน และทรงชี้ถึงแนวทางที่ถูกต้องสำหรับการได้มาซึ่งเกียรติยศศักดิ์ศรี โดยตรัสว่า :

الَّذینَ یَتَّخِذونَ الکافِرینَ أَولِیاءَ مِن دونِ المُؤمِنینَ ۚ أَیَبتَغونَ عِندَهُمُ العِزَّةَ فَإِنَّ العِزَّةَ لِلَّهِ جَمیعًا

“บรรดาผู้ที่ยึดเอาพวกปฏิเสธศรัทธาเป็นมิตรสนิทนอกเหนือไปจากบรรดาผู้ศรัทธา พวกเขากำลังแสวงหาเกียรติศักดิ์ศรี ณ พวกเขากระนั้นหรือ แท้จริงเกียรติยศศักดิ์ศรีทั้งมวลนั้นเป็นของอัลลอฮ์” (3)

     หนึ่งในบุคคลที่ในชีวิตของตนได้ย่างก้าวไปในเส้นทางของเกียรติยศศักดิ์ศรีตลอดเวลา และได้แสดงให้เห็นถึงการมีชีวิตอย่างมีเกียรติศักดิ์ศรี นั่นคือท่านอิมามฮุเซน (อ.) ท่านคือผู้ซึ่งไม่ต้องการเห็นความอัปยศอดสูของอิสลาม และได้ยืนหยัดขึ้นต่อสู้เพื่อนำเกียรติศักดิ์ศรีกลับคืนมาสู่ศาสนาและประชาชาติของตาของท่าน โดยที่ท่านกล่าวว่า :

إِنَّما خَرَجْتُ لِطَلَبِ الاِصْلاحِ فی أُمَّةِ جَدّی

“แท้จริงแล้วฉันได้ยืนหยัดขึ้นต่อสู้ เพื่อแสวงหาการแก้ไขปรับปรุงในหมู่ประชาชาติของตาของฉัน” (4)

      หากอิมามฮุเซน (อ.) วางตัวนิ่งเฉยหรือเลือกที่จะประนีประนอม แน่นอนยิ่งไม่เพียงแต่ศักดิ์ศรีของชาวมุสลิมทุกคนเท่านั้นที่จะจะถูกทำลาย ทว่าแม้แต่เกียรติศักดิ์ศรีของอิสลามก็จะไม่หลงเหลืออยู่อีกต่อไป เมื่อมีบุคคลที่เป็นคนชั่วและทำบาปอย่างเปิดเผยได้ขึ้นมานั่งในตำแหน่งผู้ปกครอง (คิลาฟะฮ์) ดื่มสุรา เล่นกับสุนัขและลิง แล้วเราจะสามารถพูดเกี่ยวกับเกียรติและศักดิ์ศรีของอิสลามได้อย่างไร? ด้วยเหตุนี้เองท่านอิมามฮุเซน (อ.) จึงได้ประกาศด้วยเสียงอันดังและไม่หวั่นกลัวใดๆ ว่า :

یَزیدُ رَجُلٌ فاسِقٌ شارِبُ الْخَمْرِ، قاتِلُ النَّفْسِ المُحَرَّمَهِ، مُعْلِنٌ بِالْفِسْقِ، وَ مِثْلِی لا یُبایِعُ لِمِثْلِهِ

“ยะซีดคือบุรุษที่เป็นคนเลว ดื่มสุราเมรัย ฆ่าชีวิตผู้บริสุทธิ์ กระทำความชั่วอย่างเปิดเผย และคนอย่างฉันจะไม่ให้สัตยาบันกับคนเยี่ยงเขาอย่างแน่นอน” (5)

      ในอีกด้านหนึ่ง จะทำให้เกิดแนวความคิดเช่นนี้ขึ้นมาว่า สามารถที่จะประนีประนอมและให้การสนับสนุนรัฐบาลที่กดขี่ได้ เหตุผลประการหนึ่งจากการที่รัฐบาลของยะซีดต้องการให้ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ให้สัตยาบันนั้นก็คือประเด็นนี้นั่นเอง ทั้งนี้เนื่องจากว่าการให้สัตยาบันของท่านจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การให้สัตยาบันของมุสลิมอีกจำนวนมาก

       ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้กล่าวกับมุฮัมมัด ฮะนะฟียะฮ์ น้องชายของท่านว่า

يا أخي، والله لو لم يكن في الدنيا ملجأ ولا مأوى لما بايعتُ يزيد بن معاوية أبداً

“โอ้น้องชายของฉัน ขอสาบานต่ออัลลอฮ์! มาตรว่าในโลกนี้จะไม่มีที่ลี้ภัยและไม่มีสถานที่พักพิงใดๆ ฉันก็จะไม่ขอให้สัตยาบันต่อยะซีด บุตรของมุอาวิยะฮ์ตลอดไป” (6)

      การไม่ให้สัตยาบันของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ทำให้เกิดมุมมองและทัศนคติที่ว่า อำนาจการปกครองของยะซีดเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องชอบธรรมตามศาสนบัญญัติ ประชาชนชาวกูฟะฮ์ก็เช่นกัน ภายหลังจากที่ท่านอิมาม (อ.) ไม่ยอมให้สัตยาบันต่อยะซีด พวกเขาได้เชื้อเชิญท่านอิมาม (อ.) ให้เดินทางไปยังกูฟะฮ์ และประกาศต่อต้านอำนาจการปกครองของยะซีด นอกจากนี้การไม่ยอมให้สัตยาบันของท่านอิมาม (อ.) ยังเป็นพื้นฐานนำไปสู่การพัฒนาและการขยายตัวทางแนวความคิดและขบวนการยืนหยัดต่อสู้ต่างๆ ในเวลาต่อมา

     ท่านอายะตุลลอฮ์มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี ได้เขียนไว้เช่นนี้ว่า “ผลของการยืนหยัดต่อสู้ของท่านซัยยิดุชชุฮะดาอ์ (อ.) ทำให้ประชาชนได้ตระหนักว่า บนีอุมัยยะฮ์ไม่ใช่ค่อลีฟะฮ์ (ผู้สืบทอดอำนาจการปกครอง) ที่แท้จริงของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) นี่คือผลประการแรกของการรับใช้บริการที่ท่านฮุเซน บินอะลี (อ.) ได้กระทำ โดยการยืนหยัดต่อสู้ของท่าน...” (7)

      ขบวนการยืนหยัดต่อสู้ของกลุ่มเตาวาบีน ขบวนการยืนหยัดต่อสู้ของประชาชนชาวมะดีนะฮ์และขบวนการยืนหยัดต่อสู้ของมุคตาร ได้เกิดขึ้นเป็นผลสืบเนื่องมาจากการเป็นชะฮีดของท่านอิมามฮุเซน (อ.) และการไม่ยอมให้สัตยาบันของท่านต่อยะซีด ในปัจจุบันนี้ก็เช่นเดียวกัน ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อการปลดปล่อยทั้งหลายได้เกิดขึ้นด้วยกับการปฏิบัติตามแบบอย่างของเหตุการณ์แห่งกัรบะลา ชัยชนะของประชาชนชาวอิหร่านที่มีต่อระบอบการปกครองทรราชและอำนาจการปกครองที่เผด็จการของกษัตริย์ชาฮ์ ก็มีรากฐานที่มาจากขบวนการต่อสู้ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ประชาชนชาวเลบานอนและปาเลสไตน์ที่ทำการต่อสู้กับรัฐบาลที่กระหายเลือดแห่งอิสราเอลก็ได้รับแรงบันดาลใจมาจากซัยยิดุชชุฮะดาอ์ (อ.) ด้วยเหตุนี้เอง การต่อสู้ (ญิฮาด) ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) จึงดำรงอยู่อย่างเป็นอมตะในหน้าประวัติศาสตร์ เป็นยาชูกำลังและคอยเป็นขวัญกำลังใจให้แก่บรรดานักปฏิรูปอยู่ตลอดเวลา


แหล่งที่มา :

(1) อัลกุรอาน บทอัลบากาเราะฮ์ โองการที่ 30

(2) อัลกุรอาน บทฟาฏิร โองการที่ 10

(3) อัลกุรอาน บทอันนิซาอ์ โองการที่ 139

(4) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 44, หน้าที่ 329

(5) บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 44, หน้าที่ 325

(6) อัลฟุตูห์, อิบนุอะอ์ซัม อัลกูฟี, เล่มที่ 5, หน้าที่ 31 ; บิฮารุ้ลอันวาร, เล่มที่ 44, หน้าที่ 329

(7) ดัร พัรตู ออซัรคัช, มุฮัมมัดตะกี มิศบาห์ ยัซดี, หน้าที่ 38


แปล/เรียบเรียง : ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม