foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

ย้อนรอย:เมืองมักกะฮ์และมัสยิดอัลฮะรอม ตอนที่2  เกียรติแห่งวงศ์วานของศาสดาอิบรอฮีม(อ.) ณ แผ่นดินฮิญาซ

เกียรติแห่งวงศ์วานของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และการเริ่มต้นการตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ของชาวอาหรับ

       เมื่อท่านศาสดาอิบรอฮีม (อ.) และศาสดาอิสมาอีล (อ.) สร้างวิหารหารกะอ์บะฮ์ขึ้นมาใหม่แล้ว ตัวท่านศาสดาเอิบรอฮีม (อ.) ก็เดินทางกลับไปใช้ชีวิตที่ปาเลสไตน์กับท่านหญิงซาเราะฮ์ภรรยาของท่านอีกคนหนึ่ง และมีบุตรคือศาสดาอิศฮาก (อ.) ซึ่งเป็นบิดาของศาสดายะอ์กูบ (อ.) ศาสดายะอ์กูบ (อ.) มีฉายาหนึ่งคือ “อิสรออีล” ดังนั้นผู้ที่สืบเชื้อสายมาจากศาสดายะอ์กู๊บ (อ.) จึงถูกเรียกว่า “บนีอิสรออีล” หรือวงศ์วานของอิสรออีล ได้แก่ชนชาติยิวในปัจจุบัน

       ท่านศาสดาอิสมาอีล (อ.) ใช้ชีวิตอยู่กับมารดาคือท่านหญิงฮาญัรที่แผ่นดินฮิญาซ และแต่งงานกับสตรีจากเผ่าญุรฮุมที่เป็นชาวอาหรับ ท่านจึงเป็นบรรพบุรุษของชาวอาหรับ และเริ่มมีชุมชนเล็ก ๆ รอบ ๆ วิหารกะอ์บะฮ์และบ่อน้ำซัมซัม คาราวานที่เดินทางไปมาระหว่างเยเมน ซีเรียและอียิปต์ จะแวะพักที่นี่ จนกลายเป็นสถานีการค้าระหว่างทาง

      เมื่อท่านหญิงฮาญัรสิ้นชีวิต ศพของท่านถูกฟังไว้เคียงข้างบัยตุลลอฮ์ ในปัจจุบันจะอยู่ระหว่างบัยตุลลอฮ์กับแนวหินอ่อนโค้งสีขาว (ดูภาพที่ 1 และ 2 ประกอบ)

 

       เดิมผนังของวิหารกะอ์บะฮ์จะยาวปกคลุมบริเวณหินโค้งสีขาว แต่การก่อสร้างในสมัยหลังได้หดลงมา จึงมีการสร้างแนวหินโค้งที่เรียกว่า “ฮาตีม” เพื่อให้รู้ว่าการเวียนรอบวิหารกะอ์บะฮ์นั้นห้ามเดินเข้ามาเลยแนวหินโค้ง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของวิหารกะอ์บะฮ์

       ดังนั้นการที่ท่านหญิงฮาญัรถูกฝังไว้บริเวณหินโค้งก็เท่ากับว่า ร่างของท่านถูกฝังอยู่ในบัยตุลลอฮ์หรือบ้านของอัลลอฮ์เลยทีเดียว นี่คือเกียรติยศของผู้หญิงตัวเล็ก ๆ คนหนึ่งที่แสดงความเชื่อมั่นต่ออัลลอฮ์ อย่างที่สุด ยามที่เธอต้องเผชิญกับความหิวกระหายซึ่งกำลังนำเธอไปสู่ความตาย

       เมื่อท่านศาสดาอิสมาอีลสิ้นชีวิต ศพของท่านถูกฝังอยู่บริเวณใต้หินโค้งสีขาว ซึ่งในเวลานั้นก็คือริมผนังของบัยตุลลอฮ์นั่นเอง นี่คือเกียรติยศของบุตรแห่งฮาญัร ที่เผชิญความตายมาพร้อมกับมารดาในวันที่หิวกระหายที่สุดของทั้งสองคน

       บุคคลแรกที่ตั้งชุมชนชาวอาหรับที่เป็นลูกหลานของท่านศาสดาอิสมาอีลอย่างถาวรเป็นระบบรอบวิหารกะอ์บะฮ์ คือกุศอย บินกิลาบ เมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 5 โดยกุศอยเป็นผู้ถือกุญแจวิหารกะฮ์บะฮ์ในนามตัวแทนของลูกหลานอิสมาอีล และลูกหลานของกุศอยเป็นผู้ถือกุญแจวิหารกะอ์บะฮ์จนถึงปัจจุบัน

 

       ตระกูลบนีชัยบะฮ์ซึ่งเป็นลูกหลานของกุศอย บินกิลาบ (ค.ศ.400-480) ทางสายของอับดุรดาร บุตรชายคนโต เป็นตระกูลที่ถือกุญแจวิหารกะอ์บะฮ์มาจนถึงปัจจุบัน ตามคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เมื่อครั้งที่ท่านยึดนครมักกะฮ์ได้ใน ค.ศ.629 ดังนั้นเมื่อกษัตริย์ซาอุดิอาระเบียต้องการเข้าไปภายในวิหารกะอ์บะฮ์ต้องขออนุญาตพวกเขา

       ตระกูลบนีชัยบะฮ์สืบเชื้อสายมาจากอุศมาน บินฏอลฮะฮ์ ซึ่งเป็นลูกหลานของอับดุรดาร อับดุรดารผู้นี้เป็นพี่ชายของอับดุลมานาฟบรรพบุรุษของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และท่านอิมามอะลี (อ.) และเป็นพี่ชายของอับดุลอุซซาบรรพบุรุษของท่านหญิงคอดิยะฮ์ ภรรยาของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ผู้เป็นมารดาของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) ในวันที่ท่านยึดนครมักกะฮ์ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้กล่าวกับอุศมาน บินฏอลฮะฮ์ว่า :

خُذُوهَا ، يَعْنِي حِجَابَةَ الْكَعْبَةِ ، يَا بَنِي طَلْحَةَ خَالِدَةً تَالِدَةً لا يَنْزَعُهَا مِنْكُمْ إِلا ظَالِم “

“จงรับมันไป โอ้บนีฏอลฮะฮ์ ตลอดไปจนถึงวันกิยามะฮ์ และมันจะไม่ถูกนำไปจากพวกท่าน ยกเว้นผู้เป็นทรราชที่กดขี่และอยุติธรรม”    

       ผู้ถือกุญแจวิหารกะอ์บะฮ์คนปัจจุบันที่มาจากตระกูลบนีชัยบะฮ์ คือเชคอับดุลกอดิร อัชชัยบีย์ (ดูภาพประกอบ) ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 108 นับจากอุศมาน บินฏอลฮะฮ์ และนับเป็นเรื่องแปลกแต่จริงที่ตระกูลอัชชัยบีย์มิได้ยอมรับในแนวทางวะฮะบีย์ ทุกปีเมื่อถึงเดือนรอบีอุลเอาวัล จะมีการจัดเมาลิดที่บ้านของท่าน และมีประชาชนมาร่วมงานมากมายจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก โดยที่รัฐบาลซาอุดิอาระเบียไม่กล้าเข้าไปแตะต้อง เนื่องจากคำสั่งของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ข้างต้นที่กล่าวว่า ใครละเมิดสิทธิของตระกูลบนีชัยบะฮ์ก็คือทรราชนั่นเอง!!

       ตามประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาดังกล่าวรอบ ๆ วิหารกะอ์บะฮ์ ซึ่งเสมือนเป็นบ้านของพระผู้เป็นเจ้า แต่เต็มไปด้วยเทวรูปที่ชาวอาหรับให้การเคารพภักดีร่วมไปกับการเคารพภักดีอัลลอฮ์ (ซบ.) ด้วย ซึ่งคือการตั้งภาคีต่อพระองค์นั่นเอง ยกเว้นลูกหลานของอิสมาอีลส่วนหนึ่ง ที่นำโดยกุศอยเท่านั้นที่ยังยึดมั่นอยู่ในหลักศรัทธาของศาสดาอิบรอฮีม (อ.) บรรพบุรุษของพวกเขา

       บุคคลแรกที่เปลี่ยนแปลงศาสนาของศาสดาอิสมาออีล (อ.) คืออะมาร อิบนิลุฮัย อัลคุซาอี เมื่อประมาณศตวรรษที่ 1 โดยนำเอาเทวรูปมาจากเมืองชาม ที่เป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรโรมันที่เขาเดินทางไปค้าขาย มาประดิษฐานไว้ที่วิหารกะอ์บะฮ์ และแนะนำประชาชนว่าให้เคารพภักดีเทวรูปนี้ร่วมกับอัลลอฮ์ (ซบ.) เมื่อได้รับการยอมรับเขาจึงนำเอาเทวรูปมาประดิษฐานเพิ่ม จนกระทั่งไม่นานนักภายในและรอบ ๆ วิหารกะอ์บะฮ์ก็เต็มไปด้วยเทวรูปมากถึง 360 รูป และแพร่กระจายไปทั่วคาบสมุทรอาหรับในเวลาไม่นาน นับตั้งแต่บัดนั้นจนถึงวันเวลาที่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ถือกำเนิด การตั้งภาคีต่ออัลลอฮ์ (ซบ.) ก็ดำเนินตลอดมา...

เรียบเรียง : Fareed Denyingyoch

FaceBook IICTH.COM

ผู้เยี่ยมชมขณะนี้

We have 82 guests and no members online

4890294
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
820
8377
17312
4850244
58520
68082
4890294

26-Apr-2024 :: 13:52:29