foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

สองหลักประกันจากความเมตตาของพระเจ้า

      ในหลายโองการของคัมภีร์อัลกุรอาน พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงชี้ถึงรางวัลและของขวัญต่างๆ ของบรรดาผู้ศรัทธาที่มีตักวา (ความยำเกรง) ที่เกิดขึ้นภายใต้ร่มเงาของความศรัทธา (อีหม่าน) ที่ลึกซึ้งและความยำเกรง (ตักวา) ตัวอย่างหนึ่งจากโองการเหล่านั้น พระองค์ได้ทรงตรัสว่า :

یا أَیُّهَا الَّذِینَ آمَنُوا اتَّقُوا اللّهَ وَ آمِنُوا بِرَسُولِهِ یُؤْتِکُمْ کِفْلَیْنِ مِنْ رَحْمَتِهِ وَ یَجْعَلْ لَکُمْ نُوراً تَمْشُونَ بِهِ وَ یَغْفِرْ لَکُمْ وَ اللّهُ غَفُورٌ رَحِیمٌ

“โอ้บรรดผู้ศรัทธาเอ๋ย จงยำเกรงต่ออัลลอฮ์ และจงศรัทธาต่อศาสนทูตของพระองค์เถิด แล้วพระองค์จะทรงประทานโชคผลสองประการจากความเมตตาของพระองค์ให้แก่พวกเจ้า และจะทรงบันดาลแสงสว่างแก่พวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจะได้ก้าวเดินไปด้วยกับมัน และจะทรงอภัยโทษให้แก่พวกเจ้า และอัลลอฮ์นั้นเป็นผู้ทรงอภัยอย่างมากมาย ผู้ทรงเมตตาเสมอ” (1)

ผู้ที่จะได้รับสองหลักประกันจากความเมตตาของพระเจ้า

    ในโองการข้างต้น พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสต่อบรรดาผู้ศรัทธาทุกคนที่ทางภายนอกได้ยอมรับคำประกาศเชิญชวนของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แล้ว แต่จนถึงขณะนี้ ยังไม่มีความศรัทธาที่มั่นคง (อีหม่าน รอซิก)  ความศรัทธาที่ที่จะทำให้ก้นบึ้ง (ด้านใน) ของหัวใจของพวกเขาสว่างไสวและปรากฏให้เห็นในการกระทำ (อะอ์มาล) ต่างๆ ของพวกเขา

    คำว่า “กิฟลุน” (کِفْل) หมายถึง โชคผลหรือสิ่งที่จะได้รับซึ่งจะช่วยขจัดความต้องการของมนุษย์ และด้วยเหตุนี้เองเรียกผู้ค้ำประกันว่า "กะฟีล" (کفیل) ซึ่งช่วยจัดการกับปัญหาของคู่สัญญาหรือคู่กรณีและจะทำให้ผลประโยชน์ได้เกิดขึ้นแก่เขา

    อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์ของคำว่า “โชคผลสองประการ” (کِفْلَیْنِ) ในที่นี้ ก็คือสองความดีงาม (ฮะซะนะฮ์) ที่ปรากฏอยู่ในโองการที่  201 ของบทอัลบะกอเราะฮ์นั่นเองที่กล่าวว่า :

رَبَّنا آتِنا فِی الدُّنْیا حَسَنَةً وَ فِی الآخِرَةِ حَسَنَةً

“โอ้พระผู้อภิบาลของเรา! โปรดประทานความดีงามในโลกนี้ และความดีงามในปรโลกให้แก่พวกเราด้วยเถิด” (2)

ผลรางวัลของผู้ศรัทธาที่มีตักวา

     เกี่ยวกับผลรางวัลที่สองของบรรดาผู้ศรัทธาที่มีความยำเกรง (ตักวา) ตามโองการข้างต้นที่กล่าวว่า : “และจะทรงบันดาลแสงสว่างแก่พวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจะได้ก้าวเดินไปด้วยกับมัน” (وَ یَجْعَلْ لَکُمْ نُوراً تَمْشُونَ بِهِ)  นักอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอานบางคนได้กล่าวว่า : "จุดประสงค์ก็คือ" แสงแห่งศรัทธา" (นูรุลอีมาน) ที่มันจะเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของผู้ศรัทธาและทางด้านขวาของพวกเขาในวันกิยามะฮ์ และจะทำให้เขาฝ่าความมืดในทุ่งมะห์ชัรไปได้โดยอาศัยมัน  และพวกเขาจะมุ่งหน้าไปสู่สวรรค์และความผาสุกอันเป็นนิรันดร์ ดังที่โองการที่ 12 ของอัลกุรอานบทเดียวกันนี้ได้กล่าวว่า :

يَوْمَ تَرَى الْمُؤْمِنِينَ وَالْمُؤْمِنَاتِ يَسْعَىٰ نُورُهُم بَيْنَ أَيْدِيهِمْ وَبِأَيْمَانِهِم بُشْرَاكُمُ الْيَوْمَ جَنَّاتٌ تَجْرِي مِن تَحْتِهَا الْأَنْهَارُ خَالِدِينَ فِيهَا ۚ ذَٰلِكَ هُوَ الْفَوْزُ الْعَظِيمُ

“วันที่เจ้าจะเห็นบรรดาผู้ศรัทธาชายและบรรดาผู้ศรัทธาหญิง ที่แสงสว่าง (นูร) ของพวกเขาจะฉายแสง ณ เบื้องหน้าของพวกเขา และ ทางเบื้องขวาของพวกเขา (จะมีเสียงกล่าวว่า) วันนี้มีข่าวดีแก่พวกเจ้า คือสวนสวรรค์หลากหลายที่มีธารน้ำหลายสายไหลผ่าน ณ เบื้องล่างของมัน โดยที่พวกเขาจะพำนักอยู่ในนั้นตลอดกาล นั่นคือชัยชนะ อันยิ่งใหญ่” (3)

    ในขณะที่นักอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอานอีกบางคนเชื่อว่า หมายถึง  "แสงแห่งอัลกุรอาน"  (นูรุลกุรอาน) ที่จะเกิดกับบรรดาผู้ศรัทธาในโลก ดังที่ในโองการที่ 15 ของบทอัลมาอิดะฮ์) ได้กล่าวว่า :

قَدْ جاءَکُمْ مِنَ اللّهِ نُورٌ وَ کِتابٌ مُبِینٌ

“แท้จริงแสงสว่างจากอัลลอฮ์ และคัมภีร์อันชัดแจ้งนั้นได้มายังพวกเจ้าแล้ว” (4)

     แต่ตามรูปการภายนอกแล้ว โองการนี้มีความหมายครอบคลุม (มุฏลัก) แบบกว้าง ๆ และไม่เฉพาะเจาะจงกับโลกนี้ หรือปรโลกแต่อย่างใด และกล่าวอีกสำนวนหนึ่งก็คือว่า ความศรัทธา (อีหม่าน) และความยำเกรง (ตักวา) จะเป็นสื่อทำให้ม่านปิดกั้นต่างๆ ถูกขจัดออกไปจากหัวใจของผู้ศรัทธา และเปิดเผยให้เห็นภาพของข้อเท็จจริงต่างๆ  และผลของมันจะทำให้เขาได้รับญาณทิพย์พิเศษ โดยที่บรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธาหรือมีศรัทธาที่อ่อนแอจะไม่ได้รับมัน

     และกรณีที่ว่า มีการระบุไว้ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) ต่างๆ ของอะฮ์ลุลบัยติ์ (อ.) ที่ว่า : จุดประสงค์ของ "แสงสว่าง" (นูร) ในโองการข้างต้น ก็คืออิมามมะอ์ซูม (ผู้บริสุทธิ์) ที่ประชาชนจะปฏิบัติตามท่านนั้น ในความเป็นจริงแล้วเป็นการอธิบายถ฿งหนึ่งจากบรรดาตัวอย่าง (มิศดาก) ของคำว่า นูร (แสงสว่ง) นั่นเอง

     และรางวัลที่สามของบรรดาผู้ศรัทธาที่มีความยำเกรง (ตักวา) ก็คือ การอภัยโทษความผิดบาปทั้งหลาย  (وَ یَغْفِرْ لَکُمْ) “และพระองค์จะทรงอภัยโทษแก่พวกเจ้า” เนื่องจากว่าหากปราศจากการอภัยโทษดังกล่าวนี้แล้ว จะไม่มีผลรางวัลใดๆ หวานชื่นสำหรับมนุษย์ ประการแรก จำเป็นต้องปลอดภัยจากการลงโทษของพระผู้เป็นเจ้า และหลังจากนั้นด้วยแสงสว่างแห่งความศรัทธา (นูรอีหม่าน) และความยำเกรง (ตักวา) ค้นพบหนทางของตน และในที่สุดก็จะบรรลุสู่ความเมตตาที่ทวีคูณจากพระผู้เป็นเจ้า

ความสัมพันธ์ตักวา (ความยำเกรง) และญาณทิพย์ (ความเข้าใจที่ถ่องแท้)

     คัมภีร์อัลกุรอานได้พูดถึงผลต่างๆ ที่มากมายสำหรับตักวา (ความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า) การขจัดม่านปิดกั้นต่างๆ ออกจากความและหัวใจของมนุษย์

     ความสัมพันธ์ระหว่าง "ตักวา (ความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า)" และ "การมีญาณทิพย์" (การหยั่งรู้และความเข้าใจที่ลึกซึ้ง) นั้นได้ถูกกล่าวถึงในโองการต่างๆ ของคัมภีร์อัลกุรอาน ตัวอย่างเช่น ในโองการที่ 29 ของอัลกุรอานบทอัลอันฟาล ได้กล่าวว่า :

یا أَیُّهَا الَّذِینَ آمَنُوا إِنْ تَتَّقُوا اللّهَ یَجْعَلْ لَکُمْ فُرْقاناً

“โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย! หากพวกเจ้ายำเกรงอัลลอฮ์ พระองค์จะทรงประทานเครืองจำแนก (ระหว่างความจริงและความเท็จ) แก่พวกเจ้า” (5)

     และในโองการอัลกุรอานที่ 282 ของบทอัลบากอเราะฮ์ ได้กล่าวว่า :

وَ اتَّقُوا اللّهَ وَ یُعَلِّمُکُمُ اللّهُ

“และพวกเจ้าจงยำเกรงอัลลอฮ์ แล้วพระองค์สอนให้พวกเจ้ารู้” (6)

     และโองการที่เรากำลังพูดถึงข้างต้นได้กล่าวถึงประเด็นนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า :

وَ یَجْعَلْ لَکُمْ نُوراً تَمْشُونَ بِهِ

“และจะทรงบันดาลแสงสว่าง (นูร) แก่พวกเจ้าเพื่อพวกเจ้าจะได้ก้าวเดินไปด้วยกับมัน”

     ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองนอกเหนือไปจากมิติต่างๆ ทางด้านจิตวิญญาณที่บางครั้งอาจจะไม่เป็นที่รับรู้ได้สำหรับเรา  ในแง่ของการวิเคราะห์ด้วยเหตุผลทางปัญญาก็สามารถเข้าใจและยอมรับได้ เนื่องจากว่าอุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดของการรับรู้และความเข้าใจ (มะอ์ริฟะฮ์) และม่านปิดกั้นที่สำคัญที่สุดต่อหัวใจของมนุษย์นั้น คืออารมณ์ใฝ่ต่ำ กิเลสตัณหาความเพ้อฝันที่ยาวไกล การตกเป็นทาสของวัตถุและความเย้ายวนใจของโลกแห่งวัตถุ ซึ่งจะไม่ปล่อยให้มนุษย์รับรู้และตัดสินใดๆ ได้อย่างถูกต้องและมองเห็นสัจธรรมความเป็นจริงในรูปลักษณ์ที่มันควรจะเป็น แต่ภายใต้แสงแห่งศรัทธา (อีหม่าน) และความยำเกรงพระเจ้า (ตักวา)  ฝุ่นควันเหล่านี้จะลดตัวลงและเมฆหมอกและความมืดมนที่ปลกคลุมท้องฟ้าแห่งจิตวิญญาณของมนุษย์ก็จะหายไป แสงอาทิตย์แห่งสัจธรรมและข้อเท็จจริงก็จะสาดส่องเข้าสู่หัวใจของคนเรา และเขาจะเข้าใจข้อเท็จจริงต่างๆ ตามที่มันเป็น และมันจะเป็นความสุขและความหวานชื่นที่ไม่อาจสาธยายได้ของการรับรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องและลึกซึ่งที่ผู้ศรัทธา (มุอ์มิน) จะได้รับและจะเปิดทางเบื้องหน้าให้แก่เขาเพื่อที่จะย่างก้าวไปสู่เป้าหมายอันศักดิ์สิทธิ์

    ใช่แล้ว! ตักวา (ความยำเกรงพระเจ้า) จะให้การรู้แจ้งและญาณทิพย์แก่มนุษย์ เช่นเดียวกับที่การรู้แจ้งและการหยั่งรู้นั้นก็จะทำให้มนุษย์เกิดตักวา (ความยำเกรงพระเจ้า) กล่าวคือทั้งสองจะมีผลสนองและปฏิสัมพันธ์ต่อกันและกัน ด้วยเหตุนี้เองในฮะดีษ (วจนะบทหนึ่ง ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงกล่าวว่า :

لَوْ لا أَنَّ الشَّیاطِینَ یَحُومُونَ عَلى قُلُوبِ بَنِى آدَمَ لَنَظَرُوا إِلى مَلَکُوتِ السَّمواتِ

“หากบรรดามาร (ชัยฏอน) ไม่ว่ายวนอยู่รอบจิตใจของลูกหลานอาดัมแล้ว แน่นอนยิ่งพวกเขาจะได้มองไปที่อาณาจักรแห่งชั้นฟ้าทั้งหลาย" (7)

    เพื่อที่จะเข้าใจคำพูดนี้ได้ดียิ่งขึ้น เราจะมาพิจารณาคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) ที่กล่าวว่า :

لا دِینَ مَعَ هَوى لاعَقْلَ مَعَ هَوى مَنِ اتَّبَعَ هَوَاهُ أَعْمَاهُ وَ أَصَمَّهُ وَ أَزَلَّهُ وَ أَضَلَّهُ

“ศาสนาไม่อาจอยู่ร่วมกับอารมณ์ใฝ่ต่ำ สติปัญญาไม่อาจอยู่ร่วมกับอารมณ์ใฝ่ต่ำ ผู้ใดก็ตามที่ปฏิบัติตามอารมณ์ใฝ่ต่ำ มันจะทำให้เขามืดบอด ทำให้เขาเป็นใบ้ และจะทำให้เขาผิดพลาดและหลงทาง” (8)

เชิงอรรถ:

1.อัลกุรอานบทอัลหะดีด โองการที่ 28

2.อัลกุรอานบทอัลบะกอเราะฮ์ โองการ 201

3.อัลกุรอานบทอัลหะดีด โองการที่ 12

4.อัลกุรอานบทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 15

5.อัลกุรอานบทอัลอันฟาล โองการที่ 9

6.อัลกุรอานบทอัลบากอเราะฮ์ โองการที่ 28

7.ญามิอุซซะอาดาต , มุลลา นะรอกี , เล่ม 1 , หน้า 18

8.ตัฟซีรนะมูเนะฮ์ , มะการิม ชีราซี, เล่ม 7, หน้า 140


ที่มา : (คุฏบะฮ์นมาซวันศุกร์ - มัสยิดซอฮิบุซซะมาน - 15/12/2560)

เรียบเรียงโดย : เชคมุฮัมมัด นาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม