foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

พื้นฐานมานุษยวิทยา คือ ทฤษฎีทางการเมืองของท่านอิมามอะลี (อ.)

       การแต่งตั้งท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)  และการปรากฏขึ้นของอิสลาม เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงอันลุ่มลึกในวัฒนธรรมและแนวคิด รวมถึงโครงสร้างทางสังคมของคาบสมุทรอาหรับ ผลของการเปลี่ยนแปลงทางด้านแนวคิดนี้คือการสิ้นสลายของโครงสร้างทางสังคมและการเมืองของยุคอนารยะ (ญาฮิลียะฮ์) และการล่มสลายของชนชั้นต่างๆ ทางสังคมในยุคนั้น ความไม่เท่าเทียมกันต่างๆ ทางด้านสังคมได้ถูกแทนที่ด้วยความเสมอภาคของประชาชน เสรีภาพและสิทธิในการปกครองเหนือสังคมของพวกเขา และการให้เกียรติและคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ของประชาชนในคาบสมุทรอาหรับ

     อิสลามด้วยกับมุมมองใหม่ที่มีต่อการเมืองและสังคม ได้นำเสนอโครงสร้างใหม่ของระบอบการเมืองและสังคมในรูปของรัฐของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)  ซึ่งในรัฐดังกล่าวนี้ ประชาชนในสังคมและบรรดาผู้ศรัทธาจะได้รับความสำคัญ การเป็นผู้ที่ถูกยอมรับและมีสถานภาพพิเศษ องค์กรต่างๆ อย่างเช่น สภาที่ปรึกษา การให้สัตยาบัน การกำชับความดีและการห้ามปรามความชั่ว จะได้รับการปฏิบัติอย่างกระตือรือร้น สถานภาพต่างๆ เหล่านี้จะปรากฏออกมาให้เห็นจากการมีส่วนร่วมของประชาชนในระบอบใหม่ ้กับมวลมนุษย์ได้เห็นถึงพื้นฐานการปกครองและการบริหารจัดการสังคม ความรู้ความเข้าใจต่างๆ ในทฤษฎีและแนวทางการ

     ไม่ต้องสงสัยเลยว่า ภายหลังจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  แล้ว ท่านอิมามอะลี (อ.) คือผู้ที่มีความรอบรู้มากกว่าทุกๆ คนในพื้นฐานและหลักเกณฑ์ต่างๆ ของอิสลาม และในยุคหลังการวะฟาต (เสียชีวิต) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  และโดยเฉพาะในยุคสมัยการปกครองของท่าน ท่านได้เลือกแนวทางทั้งในเชิงปฏิบัติและทฤษฎีโดยวางพื้นฐานอยู่บนหลักการขั้นพื้นฐานของแนวคิดทางการเมืองแบบอิสลาม ในเนื้อหาต่อไปนี้เราจะกล่าวถึงหลักการต่างๆ ของแนวคิดทางการเมืองของท่านอิมาม (อ.)

1. การเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว

      คัมภีร์อัลกุรอานได้ยอมรับการเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียวในฐานะหลักการขั้นพื้นฐานของการนำทางและการพัฒนาการของมนุษย์ และถือว่าพระผู้เป็นเจ้านั้นทรงเป็นแหล่งกำเนิดแห่งอำนาจโดยสมบูรณ์และปวงบ่าวของพระองค์คือสัญลักษณ์แห่งการพัฒนาการของมนุษย์ไปสู่ความสมบูรณ์และแหล่งกำเนิดสูงสุด และเนื่องจากการเคารพภักดีในพระเจ้าองค์เดียวนั้น แนวคิดของมนุษย์จะถูกสัมพันธ์ไปยังแหล่งกำเนิดของอำนาจเพียงหนึ่งเดียว ซึ่งจะปฏิเสธอำนาจทั้งปวงที่ถูกสร้างขึ้นโดยความนึกคิดที่แปดเปื้อนไปด้วยการตั้งภาคีของมนุษย์ ด้วยกับแนวคิดในการเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว สิ่งถูกสร้างทั้งปวงคือส่วนหนึ่งจากโลกแห่งการดำรงอยู่ และเป็นสิ่งถูกสร้างของพระผู้เป็นเจ้า และปรากฏการณ์ทั้งมวลจะย้อนไปสู่ข้อเท็จจริงเพียงหนึ่งเดียว

      ในบทสรุปก็คือ ทุกสรรพสิ่งจำเป็นต้องดำเนินไปตามแบบแผน (ซุนนะฮ์) ต่างๆ ด้วยวิธีเดียวกัน การมองโลกแห่งการดำรงอยู่ในทัศนะแบบนี้ ถือว่ามีเพียงกฎเกณฑ์เดียวที่ปกคลุมอยู่ ซึ่งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นถึงความเป็นเอกภาพในโลกแห่งการดำรงอยู่ ชิ้นส่วนต่างๆ ของจักรวาลแม้จะมีสภาพที่แยกตัวกันอย่างกระจัดกระจาย แต่ก็ดำเนินตามกฎอันเดียวกัน และในระบอบเพียงหนึ่งเดียวนี้ มีระดับขั้นตอนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และมีการปฏิบัติในเชิงตอบสนองต่อกันและกัน การมีเป้าหมายของระบอบแห่งการสร้างก็เช่นกัน ก็มีรากฐานอยู่ในความเป็นเอกภาพของระบอบแห่งการดำรงอยู่ ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้บรรยายลักษณะความเกี่ยวข้องสัมพันธ์และความเป็นระบบระเบียบดังกล่าวไว้ดังนี้ว่า

     “พระองค์ได้ทรงกำหนดสภาวการณ์แก่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้างขึ้น โดยที่พระองค์ได้ทรงทำให้การกำหนดของพระองค์เป็นที่มั่นคง และพระองค์ได้ทรงบริหารจัดการมันอย่างดีเยี่ยม และพระองค์ได้ทรงบันดาลให้ทุกสรรพสิ่งมุ่งดำเนินไปสู่ทิศทางของมันโดยที่มันมิได้ละเมิดขอบเขตตำแหน่งที่ตั้งของมันและไม่ย่นย่อ เพื่อจะไปให้ถึงยังจุดหมายสุดท้ายของมัน และไม่รู้สึกยากลำบากในการดำเนินไป เมื่อมันได้ถูกบัญชาให้ดำเนินไป บนพื้นฐานแห่งพระประสงค์ของพระองค์

     ... ดังนั้นพระองค์ได้ทรงทำให้สิ่งคดงอทั้งหลายตั้งตรง และด้วยเดชานุภาพของพระองค์ พระองค์ได้ทรงประสานให้เกิดความสอดคล้องกันในระหว่างสิ่งทั้งหลายที่ขัดแย้งกัน และทรงจัดเตรียมสื่อต่างๆ ในการประสานความสัมพันธ์ของสิ่งเหล่านั้น และพระองค์ได้ทรงจำแนกสรรพสิ่งทั้งมวลออกเป็นประเภทต่างๆ ที่หลากหลาย โดยพิจารณาตามขอบเขต ความเสมอภาค สัญชาตญาณ รูปลักษณ์และคุณลักษณะต่างๆ และด้วยวิทยปัญญาและการบริหารจัดการของพระองค์ พระองค์ได้ทรงสร้างแต่ละสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาตามลักษณะทางธรรมชาติที่พระองค์ทรงประสงค์” (1)

       ในโครงสร้างทางความคิดของท่านอิมามอะลี (อ.) ถือว่าจักรวาลยังคงเกี่ยวข้องและสัมพันธ์อยู่กับแหล่งกำเนิดแห่งการดำรงอยู่ของตนเอง และตลอดเวลามันจะอยู่ในสภาพของการเคลื่อนตัวไปข้างหน้า การพัฒนาการและการเปลี่ยนาแปลงไปในทิศทางของความสมบูรณ์และความสูงส่ง จักรวาลคือระบอบที่รวมของสายสัมพันธ์และความเกี่ยวข้องต่างๆ ของสรรพสิ่งที่มีอยู่ทั้งมวลที่มีต่อกัน ในประเด็นที่เป็นหน่วยย่อย (สายสัมพันธ์ต่างๆ ของมวลมนุษย์) ก็เช่นเดียวกับระบอบโดยรวมที่จำเป็นต้องมีความเกี่ยวข้องและความสัมพันธ์ปกคลุมอยู่ ภารกิจทางการเมืองในทัศนะของท่านอิมาม (อ.) คือการขับเคลื่อนไปในทิศทางของความสัมพันธ์ที่ปกคลุมอยู่เหนือระบอบแห่งการดำรงอยู่ ปรัชญาทางการเมืองในทัศนะดังกล่าวนี้ คือการนำมนุษย์ออกจากการตั้งภาคี (ชิรก์) และการกำหนดทิศทางให้เขาไปสู่เอกภาพและการเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว

      ฉะนั้นปรัชญาของการกำหนดการชี้นำทางและการแก้ไขปรับปรุงไว้ในทางการเมือง และคำนิยามของมันในแนวคิดต่างๆ ทางศาสนา ก็คือการจัดตั้งระบอบการเมืองและสังคมที่สอดคล้องกับรากฐานต่างๆ ของการดำรงอยู่ หมายความว่า ในสังคมทั้งหลายนั้นความเป็นเอกภาพจะต้องถูกทำให้เกิดขึ้น ซึ่งจะเป็นสายสัมพันธ์ที่ไม่มีวันตัดขาดออกจากแหล่งกำเนิดแห่งการดำรงอยู่ได้ ความยุติธรรมในสังคมอันเป็นที่มุ่งหวังของท่านอิมามอะลี (อ.) ก็คือการสร้างบรรยากาศที่ปกคลุมและสอดคล้องกับกฎแห่งการดำรงอยู่ การยืนกรานและการยืนหยัดของท่านอิมาม (อ.) ในการที่จะสถาปนาความยุติธรรมซึ่งมีรากฐานที่มาจากแนวคิดของท่าน และการมีความรู้ถึงรากฐานและระบอบแห่งการดำรงอยู่ อุดมคติของท่านคือการสถาปนาระบอบสังคมที่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของการสร้างสรรสรรพสิ่งต่างๆ เครื่องมือของระบอบการเมืองนี้และกิจการอันเป็นเฉพาะของมัน ก็คือความยุติธรรมนั่นเอง

2. การได้รับสิทธิประโยชน์ของมนุษย์จากพลังแห่งสติปัญญาและเจตจำนงเสรี

     ความประเสริฐของมนุษย์ที่มีเหนือกว่าสรรพสิ่งอื่นๆ นั้น เกิดจากความมีสติปัญญา มีเจตจำนงและพลังอำนาจในการเลือกของเขา สติปัญญาและเหตุผลได้ให้พลังอำนาจแห่งการคิดสร้างสรรค์แก่มนุษย์ จากเหตุผลดังกล่าวนี้เอง มนุษย์จึงเป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์และชัดเจนที่สุดจากสิ่งที่ถูกสร้างของพระผู้เป็นเจ้าในหน้าแผ่นดิน ที่เป็นผู้สร้างชะตากรรมของตนเอง ภาพสะท้อนประการแรกในความมีเจตจำนงและอำนาจในการเลือกของมนุษย์ คือการละเมิดของเขาในสวนสวรรค์และการออกมาจากมัน ดังนั้นด้วยกับการที่มนุษย์ได้ออกมาจากสวนสวรรค์ จึงทำให้เขามีความจำเป็นที่จะต้องคิดประดิษฐ์และใช้ประโยชน์จากเครื่องมือต่างๆ เพื่อที่เขาจะสามารถพิชิตเหนืออุปสรรคต่างๆ ของการดำเนินชีวิตในโลกนี้ได้ การจัดตั้งองค์กรต่างๆ ทางสังคม ตัวอย่างเช่น องค์การทางการเมืองก็ถือเป็นส่วนหนึ่งจากเครื่องมือเหล่านั้น

     ด้วยเหตุผลของคุณลักษณะต่างๆ ที่มีสองด้านของมนุษย์ องค์กรต่างๆ ที่ถูกจัดตั้งขึ้นมานั้นได้ฉุดกระชากมนุษย์ไปสู่คุกแห่งความเป็นทาส และมนุษย์ได้ตกอยู่ในกับดักและบ่วงพันธนาการของบรรดาเจว็ดแห่งความนึกคิด ผลของความเป็นทาสดังกล่าวนี้ทำให้มนุษย์ถูกลิดรอนอำนาจการควบคุมชะตากรรมของตนเองและขาดความรู้ความเข้าใจในข้อเท็จจริง มนุษย์ด้วยผลของการจมปักอยู่ในความเป็นทาส ทำให้เขาสูญเสียเอกลักษณ์แห่งความเป็นมนุษย์ และขาดพลังความสามารถในการใช้ประโยชน์จากสติปัญญาไป และชะตากรรมของเขาได้ตกอยู่ในอุ้งมือของเหล่าบรรดาผู้กุมอำนาจและผู้นำจอมเผด็จการ

     บรรดาศาสดาได้มาเพื่อปลดปล่อยมนุษย์จากการเป็นทาสทางด้านจิตวิญญาณและด้านร่างกาย เพื่อทำให้เขารู้ถึงแบบแผนและขนบธรรมเนียมที่เบี่ยงเบนในประวัติศาสตร์ และหล่อหลอมสติปัญญาและความนึกคิดของเขาให้ต่อต้านระบอบแห่งการตั้งภาคีและลัทธิเผด็จการ บรรดาศาสดามาเพื่อปลุกสามัญสำนึกที่ถูกซ่อนอยู่หรือถูกทำลายลงไปของมนุษย์ เพื่อชี้นำเขาสู่ทางนำ เสรีภาพ อิสรภาพและอำนาจการปกครองเหนือชะตากรรมของตนเอง

     ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวเกี่ยวกับเป้าหมายของการส่งบรรดาศาสดาลงมาเช่นนี้ว่า

“... พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงมหาบริสุทธิ์ยิ่งได้ทรงคัดเลือกบรรดาศาสดาจากลูกหลานของอาดัม โดยที่พระองค์ได้ทรงเอาพันธสัญญาจากพวกเขาด้วยการประทานวะห์ยู (วิวรณ์) ลงมา และได้ทรงมอบความไว้วางใจต่อพวกเขาให้ทำหน้าที่ประกาศสาสน์ (ของพระองค์แก่มวลมนุษย์) แต่แล้วเมื่อส่วนมากของมวลมนุษย์ได้เปลี่ยนแปลงพันธสัญญาของอัลลอฮ์ที่ให้ไว้ต่อพวกเขา ดังนั้นพวกเขาจึงได้โง่เขลาต่อสิทธิของพระองค์ และพวกเขาได้ยึดเอาบรรดาพระเจ้าจอมปลอมเป็นภาคีร่วมเคียงกับพระองค์ และบรรดามารร้าย (ชัยฏอน) ได้ทำให้พวกเขาเบี่ยงเบนออกจากการรู้จักพระองค์ และได้แยกพวกเขาออกจากการเคารพภักดีพระองค์ ดังนั้นพระองค์จึงได้ทรงส่งบรรดาศาสนทูตของพระองค์ลงมายังหมู่พวกเขา ตามช่วงเวลาต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อเรียกร้องพวกเขาให้ปฏิบัติตามพันธสัญญาแห่งสัญชาติญาณ (ฟิฏเราะฮ์) และเตือนพวกเขาให้รำลึกถึงความโปรดปรานต่างๆ ของพระองค์ที่ถูกหลงลืมไป” (2)

       ภารกิจเฉพาะที่แท้จริงขององค์กรต่างๆ ทางสังคมและการเมือง ก็คือการช่วยเหลือมนุษย์เพื่อไปให้ถึงยังเจตนารมณ์ของปวงศาสดา จากเหตุผลดังกล่าวนี้เอง ท่านอิมามอะลี (อ.) จึงถือว่าปรัชญาของการเป็นตัวแทนของบรรดาอิมาม (อ.) ภายหลังจากการแต่งตั้งศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)  ลงมาแล้วนั้น ก็คือการสืบสานแบบฉบับ (ซุนนะฮ์) ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)  ในความเป็นจริงแล้ว ภารกิจพิเศษอันเป็นการเฉพาะของการปกครองของบรรดาตัวแทนของปวงศาสดา นั่นก็คือการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของความเป็นมนุษย์และการชุบชีวิตแก่สัญชาตญาณ (ฟิฏเราะฮ์) ของมนุษย์ ภารกิจเฉพาะนี้จะเกิดขึ้นได้ด้วยกับการมีความรู้ความเข้าใจถึงวิธีการ กฎเกณฑ์และข้อบัญญัติต่างๆ แห่งวะห์ยู (วิวรณ์) และการมีพลังอำนาจทางการเมืองนั้นจะทำให้ภารกิจการรับผิดชอบนี้สัมฤทธิ์ผล

      ในทัศนะของท่านอิมามอะลี (อ.) ภารกิจหน้าที่ของนักการเมืองและนักปกครอง คือการธำรงไว้ซึ่งสิทธิต่างๆ ของสังคม สิทธิขั้นพื้นฐานสองประการที่ปัจเจกบุคคลในสังคมพึงมี ซึ่งบุคคลใดก็ตามจะต้องไม่ทำลายมัน อันได้แก่ 1) บุคคลมีอำนาจอธิปไตยและการตัดสินใจเป็นของตนเอง 2) บุคคลอื่นไม่มีอำนาจอธิปไตยและการตัดสินใจเกี่ยวกับเพื่อนมนุษย์ (3)

      ตามหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานประการแรก  บุคคลมีอำนาจในการเลือกสิทธิประโยชน์ต่างๆ การปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นๆ วิธีการดำเนินชีวิตทุกรูปแบบของตนเอง และในกิจการต่างๆ ข้างต้นนั้นเขาสามารถที่จะกำหนดเป้าหมายและเลือกสื่อในทุกๆ รูปแบบได้ (4)

      ตามหลักเกณฑ์ขั้นพื้นฐานประการที่สอง บุคคลใดก็ตามไม่มีสิทธิครอบงำและใช้กำลังบังคับอันเป็นเครื่องแสดงถึงความเป็นทาส และการออกห่างของมนุษย์จากสัญชาตญาณแห่งความเป็นมนุษย์ ด้วยเหตุนี้เองจำเป็นที่จะต้องมีสายสัมพันธ์ในลักษณะหนึ่งระหว่างมวลชนของสังคมกับผู้ปกครอง ซึ่งต้องอาศัยหลักเกณฑ์และองค์ประกอบต่างๆ อันเป็นการเฉพาะ

     ในการมองภาพรวมจากทัศนะของท่านอิมามอะลี (อ.) สังคมจำเป็นต้องมีตักวา (ยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า) ในลักษณะหนึ่ง ซึ่งจะเป็นตัวยับยั้งเขาจากการเอาตัวเองเข้าไปพัวพันเข้าสู่หุบเหวแห่งความเสื่อมทราม สิ่งจำเป็นของสังคมเช่นนี้ คือผู้ปกครองที่มีความตักวา (ยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้า) มวลชนที่มีความรู้ความเข้าใจต่อหลักการศรัทธาและข้อบัญญัติต่างๆ ของศาสนา มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับมานุษยวิทยาและมีความรู้ความเข้าใจถึงขอบเขตต่างๆ ของปัจเจกบุคคลและสังคม ในทิศทางดังกล่าวนี้ ภารกิจเฉพาะของหน่วยงานต่างๆ ทางสังคม คือการจัดเตรียมพื้นฐานสำหรับการนำเอาบทบัญญัติและหลักคำสอนต่างๆ ของศาสนามาสู่การปฏิบัติอย่างเป็นจริง ด้วยกับการพิจารณาถึงบรรดาหลักเกณฑ์ข้างต้น


เชิงอรรถ

1.นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, คำเทศนาอันดับที่ 91

2.นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, คำเทศนาอันดับที่ 1

3.มุฮัมมัด ตะกี ญะอ์ฟะรี, ฮิกมัต อุซูล ซิยาซี อิสลาม, หน้า 392

4.เล่มเดิม


ที่มา : หนังสือ แนวคิดทางการเมือง ในสุนทโรวาทของท่านอะลี (อ.) เขียนโดย อะลี ฟะรีดูนี

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม