foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

การเดินทางและการท่องเที่ยวในทัศนะของอิสลาม

      การเดินทางโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางที่เป็นวาญิบ (ข้อบังคับทางศาสนา) เช่นการเดินทางเพื่อไปประกอบพิธีฮัจญ์ และการเดินทางอื่นๆ ที่ไม่ใช่วาญิบนั้นมีเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งในทัศนะของอิสลามและเหตุผลทางสติปัญญาของมนุษย์ถือว่าเป็นสิ่งที่ดีงามและมีคุณประโยชน์อย่างมาก พระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งได้ทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า

هُوَ الَّذِي جَعَلَ لَكُمُ الْأَرْضَ ذَلُولًا فَامْشُوا فِي مَنَاكِبِهَا وَكُلُوا مِن رِّزْقِهِ وَإِلَيْهِ النُّشُورُ

“พระองค์คือผู้ทรงบันดาลแผ่นดินนี้ให้ราบเรียบสำหรับพวกเจ้า ดังนั้นจงท่องเดินทางไปในเขตแคว้นที่ราบและที่สูงทั้งหลายของมัน และจงบริโภคจากปัจจัยยังชีพของพระองค์...” (1)

      ทำนองเดียวกัน เกี่ยวกับคุณค่าและคุณประโยชน์ของการเดินทางนั้น ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) กล่าวว่า

سٰافِروا تَصِحُّوا و جٰاهِدُوا تَغْنَموا

"ท่านทั้งหลายจงเดินทางเถิด แล้วพวกท่านจะมีสุขภาพที่ดี และจงต่อสู้ (ในทางของพระผู้เป็นเจ้า) เถิด แล้วพวกท่านจะได้รับโชคผล" (2)

      หมายความว่า การเดินทางจากดินแดนหนึ่งไปยังอีกดินแดนหนึ่ง ซึ่งจะเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ บรรยากาศ อิริยาบถ อาหาร น้ำและอื่นๆ นั้น จะช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพต่างๆ ทางด้านจิตใจของมนุษย์ และสิ่งนี้เองที่โดยตัวของมันแล้วถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

     ในบทกวีภาษาอาหรับ ในหนังสือ “ดีวาน” ซึ่งถูกอ้างสัมพันธ์ไปยังท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวไว้เช่นนี้ว่า

تَغَزَّبْ عَنِ اْلاَوطانِ فى طَلبِ العُلٰى وَ سٰافِرْ فَفَى اْلاَسْفارِ خَمْسُ فوائِدَ تَفَرُّج هَمِّ وَ اکْتِساب مَعيشَةٍ وَ عِلْمَ و آداب و صُحْبَة مٰاجدٍ

“จงเดินทางและจงออกห่างไปให้ไกลจากบ้านเกิดเมืองนอนเถิด เพื่อแสวงหาคุณค่าอันสูงส่ง เพราะในการเดินทางนั้นมีคุณประโยชน์ห้าประการ คือ การคลี่คลายจากความทุกข์ การได้รับมาซึ่งปัจจัยดำรงชีพ ความรู้ มารยาท (ขนบธรรมเนียมประเพณี) และการพบมิตรผู้มีเกียรติ”

คุณประโยชน์ห้าประการของการเดินทาง

  1. การคลี่คลายจากความทุกข์ (تَفَرُّج هَمّ) การเดินทางจะช่วยขจัดความทุกข์โศก ความซึมเศร้า ความเครียด ความหมกมุ่นของจิตใจและความจำเจซ้ำซากในชีวิตประจำวันของเราให้หมดไป และจะทำให้เกิดความผ่อนคลาย ความกระปี้กระเป่าและความมีชีวิตชีวาแก่ชีวิตของเรา
  2. การได้รับมาซึ่งปัจจัยดำรงชีพ (اکْتِساب مَعيشَة) การเดินทางจะช่วยทำให้เราสามารถแสวงหาและจัดเตรียมปัจจัยอำนวยสุขได้ดีกว่า และยกระดับการดำเนินชีวิตของตนเองได้ดียิ่งขึ้น คนที่ฉลาดนั้น ในการแสวงหาปัจจัยดำรงชีพของเขา เขาจะไม่จำกัดกรอบความคิดและตัวเองอยู่ในสภาพแวดล้อมรอบๆ ตัวเขาเพียงเท่านั้น เขาจะตระหนักเป็นอย่างดีว่าหากเขาย่างก้าวออกไปจากสภาพแวดล้อมที่จำเจรอบตัวของเขา เขาจะพบเห็นสิ่งใหม่ๆ และช่องทางใหม่ๆ.สำหรับการประกอบอาชีพและการยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองได้
  3. ความรู้ (عَلْم) การเดินทางจะช่วยเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ให้แก่ชีวิตของเรา จะช่วยทำให้เขารู้จักและเข้าใจโลกได้มากยิ่งขึ้น ได้เรียนรู้สิ่งที่พบเห็น จากเดชานุภาพแห่งการสร้างสรรค์ของพระผู้เป็นเจ้าและร่องรอยต่างๆ ของบรรพชนในยุคอดีต เพื่อนำมาเป็นอุทาหรณ์และบทเรียนในการดำเนินชีวิต
  4. มารยาทและขนบธรรมเนียมประเพณี (آداب) การเดินทางจะทำให้เราสามารถรับรู้และเรียนรู้ถึงมารยาทและขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ของกลุ่มชน และบางทีอาจเป็นไปได้ว่าบางส่วนของมารยาทและขนบธรรมเนียมประเพณีเหล่านั้นอาจจะดีงามกว่าของหมู่ชนของตนเอง ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เอง การเดินทางจะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและการเลือกสรรสิ่งที่ดีงามต่างๆ ทางด้านมารยาท ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม
  5. การพบมิตรผู้มีเกียรติ (صُحْبَة مٰاجدٍ) การเดินทางจะทำให้เราได้รับเตาฟีก (ความสำเร็จ) ในการพบปะกับประชาชนที่มีเกียรติและเป็นคนดีในสังคมต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะช่วยเสริมสร้างบุคลิกภาพ สถานภาพทางสังคมและทางจิตวิญญาณของเราให้สูงส่งและดีงามมากยิ่งขึ้น

      ข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่เราพบเห็นได้จากประวัติศาสตร์ บรรดามหาบุรุษแห่งพระผู้เป็นเจ้าจะประสบความสำเร็จในภารกิจและบรรลุสู่เป้าหมายในชีวิตของตนภายหลังจากการเดินทางและการอพยพเกือบทั้งสิ้น

มารยาทของการเดินทาง

      อย่างไรก็ดี การเดินทางที่อิสลามส่งเสริมนั้นจะต้องวางพื้นฐานอยู่บนการแสวงหาความดีงามและคุณค่าต่างๆ ที่สูงส่ง ดังนั้นจำเป็นที่จะต้องหลีกเลี่ยงจากความฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย ความไร้สาระและสิ่งที่เป็นฮะรอม (ต้องห้ามตามข้อบัญญัติของศาสนา)

      ทำนองเดียวกัน อิสลามถือว่า ความดีงามและคุณค่าต่างๆ ของการกระทำของคนเรานั้น อยู่ที่เจตนา (เหนียต) เป้าหมายของผู้กระทำและผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ การกระทำที่จะมีคุณค่าได้นั้นจะต้องกระทำเพื่อเป้าหมายที่บริสุทธิ์และถูกต้อง และจะต้องเป็นไปในหนทางของพระผู้เป็นเจ้า และเพื่อการช่วยเหลือค้ำจุนสิ่งถูกสร้างของพระผู้เป็นเจ้า ด้วยเหตุนี้เองในริวายะฮ์ (คำรายงาน) จำนวนมาก จึงได้แนะนำและกำชับสั่งเสียให้อ่านดุอาอ์ต่างๆ อันเป็นเฉพาะ เพื่อว่าผลประการหนึ่งของการอ่านดุอาอ์เหล่านั้นจะช่วยกำหนดทิศทางที่ถูกต้องและเป้าหมายที่บริสุทธิ์ในการเดินทางของเราได้ จะขอกล่าวถึงตัวอย่างหนึ่งจากฮะดีษเหล่านั้นดังนี้คือ

      ท่านอิมามบากิร (อ.) เมื่อจะออกจากบ้านท่านจะกล่าวเสมอว่า

بسمِ‌الله وَ بِسمِ‌اللهِ و عَلَى‌اللهِ تَوَکَّلْتُ وَ لاٰ حََوَل وَ لاٰ قوةَ اِلاّ بالله الْعَلىّ العَظيمْ

“ด้วยพระนามของอัลลอฮ์และด้วยกับการขอความช่วยเหลือโดยผ่านพระนามของอัลลอฮ์ และด้วยกับอัลลอฮ์เท่านั้นที่ข้าพระองค์ขอมอบหมาย ไม่มีอานุภาพและพลังอำนาจใด นอกจากโดย (การอนุมัติจาก) อัลลอฮ์ ผู้ทรงสูงส่ง ผู้ทรงยิ่งใหญ่” (3)

      ฮะดีษ (วจนะ) อีกบทหนึ่ง ท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ได้กล่าวกับท่านอิมามอะลี (อ.) ว่า

يٰا عَلىُّ لاٰ يَنْبَغى لِلّرجُلِ العاقِلِ اَنْ يکون طٰاعِناً اِلاّ فى ثلاثٍ: مَرَمَّةٍ لِمَعاشٍ و اَوْ تزدُدٍ لَمِعٰادٍ او لَذّةٍ فى غيرِ مُحرّم

“โอ้อะลีเอ๋ย! ไม่สมควรสำหรับผู้มีสติปัญญาที่เขาจะเป็นผู้ท่องเดินทาง นอกจาก (เป้าหมาย) สามประการ คือ การแก้ไขปรับปรุงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ หรือการสะสมเสบียงเพื่อปรโลก และหรือการแสวงหาความสุขในสิ่งที่ไม่ใช่ฮะรอม (ต้องห้าม)” (4)

     และฮะดีษ (วจนะ) อีกบทหนึ่งได้กล่าวว่า

سِیحُوا، فِاِنَّ الماءَ اِذا ساحَ طابَ و اِذا وَقَفَ تَغَیَّرَ وَ اصفَرَّ

“ท่านทั้งหลายจงเดินทางท่องเที่ยวเถิด เพราะแท้จริงน้ำนั้นหากมันไหลเวียน มันจะคงสภาพความสะอาดบริสุทธิ์ไว้ได้ และเมื่อใดที่มันหยุดนิ่ง มันจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองและเน่าเสีย” (5)

แหล่งที่มา :

(1) อัลกุรอานบทอัลมุลก์โองการที่ 15

(2) วะซาอิลุชชีอะฮ์ ฮะดีษที่ 14980

(3) วะซาอิลุชชีอะฮ์ ฮะดีษที่ 15080

(4) วะซาอิลุชชีอะฮ์ ฮะดีษที่ 14975

(5) มุสตัดร็อก อัลวะซาอิล เล่มที่ 8 หน้าที่ 47 ฮะดีษที่ 9349

แปล/เรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม