อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงมีบัญชาให้รังสรรค์ความเป็นพี่น้อง ความสมานฉันท์ ความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน ซึ่งมัสญิด อัลฮะรอม คือตัวอย่างอันละเอียดอ่อนของความเสมอภาค และความเท่าเทียมกัน เวลานั้น พระองค์มีบัญชาให้มนุษย์เดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์ เพื่อจะได้เข้าใจถึงความเป็นพี่น้องกัน และความเสมอภาคกัน
หลักการอิสลามเน้นหนัก เรื่องความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันของปัจเจกชน ท่านเราะซูล (ซ็อลฯ) กล่าวว่า “ผู้คนมีความเท่าเทียมประหนึ่งฟันหวี” (13)
บางครั้งอิสลามกล่าวว่า กลุ่มชนในสังคมนั้นมีความเสมอภาคกัน ทั้งเรื่องพงศ์พันธุ์ และเชื้อชาติ อัลลอฮ์ตรัสว่า
يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنَّا خَلَقْنَاكُم مِّن ذَكَرٍ وَأُنثَىٰ وَجَعَلْنَاكُمْ شُعُوبًا وَقَبَائِلَ لِتَعَارَفُوا ۚ إِنَّ أَكْرَمَكُمْ عِندَ اللَّـهِ أَتْقَاكُمْ ۚ
“โอ้ มนุษยเอ๋ย แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าทั้งจากเพศชายและเพศหญิง เราได้แยกพวกเจ้าเป็นชนชาติ และเผ่าพันธุ์ เพื่อจะได้รู้จักกัน แท้จริงผู้ที่มีเกียรติยิ่งในหมู่พวกเจ้า ณ อัลลอฮ์ คือ ผู้ที่มีความสำรวมตนยิ่งในหมู่พวกเจ้า” (14)
หลักการทั้งสองที่กล่าวมากล่าวถึง ความเสมอภาคกันของปัจเจกชน และสังคมความเท่าเทียมกันทางเชื้อชาติ เผ่าพันธ์ และภาษา ความเสมอภาคกันจึงถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของหลักการอิสลามและเพื่อให้เห็นภาพความเท่าเทียมกันทางสังคม พระองค์จึงมีบัญชาให้มุสลิมทุกคนไปรวมตัวกัน ณ มักกะฮ์แผ่นดินที่มีความเสมอภาคกัน ให้ทั้งหมดเดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์เหมือนกัน แต่งตัวชุดเหมือนกัน อัลกุรอานกล่าวว่า
إِنَّ الَّذِينَ كَفَرُوا وَيَصُدُّونَ عَن سَبِيلِ اللَّـهِ وَالْمَسْجِدِ الْحَرَامِ الَّذِي جَعَلْنَاهُ لِلنَّاسِ سَوَاءً الْعَاكِفُ فِيهِ وَالْبَادِ ۚ
“มิต้องสงสัย บรรดาผู้ปฏิเสธที่ขัดขวาง (ผู้คน) จากทางของอัลลอฮ์และมัสญิดอัล-ฮะรอม ซึ่งเราได้ทำให้เท่าเทียมกันสำหรับปวงมนุษย์ (ไม่ว่า) จะเป็นผู้พำนักอยู่ในนั้นหรือผู้สัญจร” (15)
อัลกุรอาน ครั้นเมื่อแนะนำฮะรัม กะอ์บะฮ์ และมัสญิดฮะรอม จะกล่าวว่า ไม่ว่าเจ้าจะมาจากแดนไกลหรือใกล้ เมื่ออยู่ข้างกะอ์บะฮ์ เจ้ามีความเท่าเทียมกัน เจ้าจะมาจากในเมืองหรือชนบท เมื่ออยู่ ณ กะอ์บะฮ์ เจ้าเท่าเทียมกัน เจ้าจะรู้จักกันหรือเป็นคนแปลกหน้า เมื่อเจ้าอยู่ ณ กะอ์บะฮ์ เจ้าเหมือนกัน และไม่ว่ามนุษย์จะมาจากที่ใดและส่วนไหนของโลก เมื่อพวกเขาอยู่ในมัสยิดฮะรอม ข้างๆ กะอ์บะฮ์ พวกเขาต่างเท่าเทียมกันทั้งสิ้น
อัลลอฮ์ (ซบ.) จึงมีบัญชาให้ผู้สถาปนากะอ์บะฮ์ประกาศว่า
وَأَذِّن فِي النَّاسِ بِالْحَجِّ يَأْتُوكَ رِجَالًا وَعَلَىٰ كُلِّ ضَامِرٍ يَأْتِينَ مِن كُلِّ فَجٍّ عَمِيقٍ
“จงประกาศการฮัจญฺแก่มวลมนุษย์ พวกเขาจะมาหาเจ้า จากทางไกลทุกทิศทาง โดยการเดินเท้า และโดย (ขี่พาหะนะ) อูฐเพรียวทุกตัว” (16)
ความหมายคือ เชิญชวนประชาชนทุกหมู่เหล่า ทั่วสารทิศ ให้มาประกอบพิธีฮัจญ์ ทุกคนที่มาไม่ว่าใครก็ตามจึงมีความเท่าเทียมกัน อีกด้านหนึ่งกล่าวว่า มักกะฮ์และกะอ์บะฮ์ เปิดต้อนรับทุกคนเสมอ ผู้ใดมีความสามารถ มีศักยภาพ มีความสมบูรณ์แข็งแรง มีความรู้ หรือไม่มีความรู้ อยู่ไกล หรืออยู่ใกล้ เมื่อทุกคนอยู่ในมักกะฮ์ล้วนมีความเท่าเทียมกันทั้งหมด ซึ่งเบื้องต้นพระองค์มีบัญชาให้ทุกคนเดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์ หลังจากนั้น ตรัสว่า ณ ที่แห่งนี้คือสถานที่แห่งความเสมอภาคเท่าเทียมกัน นั่นคือการมองไปที่แก่นของความเท่าเทียมกัน เพื่อกำจัดสิทธิส่วนบุคคลและเชื้อชาติ ให้มองดูเชื้อชาติและเผ่าอื่นๆ เป็นเฉกเช่นเชื้อชาติและผู้คนของตน
การเดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์ สำหรับทุกคนเท่าเทียมกัน ซึ่งตรงนี้จะสอนให้รู้จักความเสมอภาคและความสะอาดแก่ทุกคน ฉะนั้น ถ้าหากอัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงมีบัญชาแก่ศาสดาอิบรอฮีม และอิสมาอีล (อ.) ว่า
وَعَهِدْنَا إِلَىٰ إِبْرَاهِيمَ وَإِسْمَاعِيلَ أَن طَهِّرَا بَيْتِيَ لِلطَّائِفِينَ وَالْعَاكِفِينَ وَالرُّكَّعِ السُّجُودِ
“เราสั่งเสียอิบรอฮีมและอิสมาอีลว่า จงทำความสะอาดบ้านของข้า สำหรับผู้มาเวียน ผู้จำสมาธิ ผู้โค้งและผู้กราบ” (17)
หมายถึง ผู้เดินเฏาะวาฟรอบกะอ์บะฮ์ที่สะอาด
พวกเขาจะได้เรียนรู้จักความสะอาดทั้งภายนอกและภายในว่าคืออะไร เมื่อกล่าวว่าผู้เดินเวียนรอบกะอ์บะฮ์เท่าเทียมกัน ก็เพื่อสอนให้รู้จักความเสมอภาคกัน ความเป็นมนุษย์มิได้อยู่ที่สีผิว ตำแหน่ง หรือฐานะทางสังคม ทว่าความเป็นมนุษย์ผู้สมบูรณ์ อยู่ที่ความสำรวมตนต่ออัลลอฮ์กะอ์บะฮ์จึงเป็นศูนย์กลางอบรมมนุษย์ให้ดำรงตนและมีคุณสมบัติของมลาอิกะฮ์ในตัว
บทสรุป
อัลลอฮ์ (ซบ.) ทรงสร้างกะอ์บะฮ์ ขึ้นมาเพื่อความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม
กะอ์บะฮ์ คือสัญลักษณ์ของความสะอาด ความเท่าเทียม ศูนย์กลางของความเป็นพี่น้องและการปลดเปลื้องตัวเองให้พ้นจากอบายมุข กิเลส ตัณหา การไม่ลุ่มหลงต่อตำแหน่งและลาภยศ ผู้ที่เดินเวียนวนรอบกะอ์บะฮ์ ต้องมีความสะอาด อย่างน้อยต้องมีความสะอาดภายนอก
ด้วยเหตุนี้ ฮุจญาตทุกคนเมื่อเดินเฏาะวาฟจำเป็นต้องมีวุฎูอ์ (น้ำละหมาด) และถ้าหากฮุจญาตฎาะวาฟด้วยความเข้าใจและมีความบริสุทธิ์ใจ หลังสิ้นการเฎาะวาฟเขาจะมีความสะอาดบริสุทธิ์ ปราศจากบาป ประหนึ่งมลาอิกะฮ์ ในทางตรงกันข้าม เมื่อผู้เฏาะวาฟจำเป็นต้องมีความสะอาด ผู้ดูแลกะอ์บะฮ์ ก็จะต้องสะอาดบริสุทธิ์ด้วยเช่นกัน
กะอ์บะฮ์ ไม่มีใครผู้ใดเป็นเจ้าของถือกรรมสิทธิ์ครอบครอง หรือสามารถแสดงตนเป็นเจ้าของได้ นอกจากอัลลอฮ์ (ซบ.) พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลกและจักรวาลเท่านั้น
เชิงอรรถ
12- มันลายะฮ์เฎาะเราะฮ์ล ฟะกีฮ์ เล่ม 2 หน้า 124
13- นะฮ์ญุล ฟะซอฮะฮ์ หน้า 635
14- อัลกุรอานบท ฮุจญฺรอต โองการที่ 13
15- อัลกุรอานบท ฮัจญ์ โองการที่ 25
16- อัลกุรอานบท ฮัจญ์ โองการที่ 27
17- อัลกุรอานบท บะเกาะเราะฮ์ โองการที่ 125
บทความโดย : เชค ดร. มุฮัมมัดชะรีฟ เกตุสมบูรณ์
ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม
In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم
Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم
ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You
WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์
ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center