foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

ภาพสะท้อนของการพิชิตมักกะฮ์ ด้วยความเมตตาของท่านศาสดา (ซ็อลฯ)

ส่วนหนึ่งจากข้อกล่าวหาและการให้ร้ายต่างๆ ที่สำคัญซึ่งในช่วงหลายปีมานี้ได้ถูกพลาดพิงยังท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) โดยเหล่าศัตรู นั่นก็คือการที่พวกเขาพยายามนำเสนอว่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) เป็นศาสดาที่นิยมความรุนแรงและการหลั่งเลือด

      คนบางกลุ่มเป็นมุสลิมแต่รูปภายนอก ซึ่งมีแต่เพียงชื่อเท่านั้นที่เป็นอิสลาม แต่ไม่ได้รับประโยชน์ใดๆ จากคำสอนอันสูงส่งที่ให้ชีวิตและจิตวิญญาณของมันเลย พวกเขาได้แนะนำอิสลามและศาสดาของอิสลามให้โลกรู้จักในฐานะศาสนาแห่งความรุนแรงด้วยการกระทำและพฤติกรรมต่างๆ ที่เลวร้ายของตน ในขณะที่คัมภีร์อัลกุรอานได้ยกย่องสรรเสริญท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ด้วยคุณลักษณะที่งดงามว่า «خلق عظیم»  (ผู้มีจริยธรรมอันยิ่งใหญ่) ดังที่ในซูเราะฮ์อัลอาลัมได้กล่าวว่า :

وَ اِنَّكَ لَعَلي خُلُقٍ عَظيمٍ

“และแท้จริงเจ้าคือผู้ตั้งมั่นอยู่บนจริยธรรมที่ยิ่งใหญ่” (อัลกอัลกอลัม โองการที่ 4)

      บรรดาวะฮ์ฮาบีและกลุ่มตักฟีรีย์ ซึ่งโดยอาศัยชื่ออิสลามนั้นพวกเขาจะเข่นฆ่าทุกคนโดยไม่แยกแยะว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิม และผู้แพร่ขยายวัฒนธรรมของความรุนแรงในโลกก็คือบุคคลเหล่านี้

      หากใครก็ตามที่ถือว่าสงครามต่างๆ ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เป็นเครื่องแสดงถึงการนิยมความรุนแรงของท่านแล้ว จำเป็นต้องกล่าวว่า เขาผู้นั้นได้ตัดสินโดยห่างไกลจากความเป็นธรรมอย่างยิ่ง เพราะเนื่องจากว่าสงครามโดยส่วนใหญ่ของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) นั้นเป็นสงครามเพื่อการปกป้องตนและเป็นสงครามที่เกิดขึ้นโดยถูกบังคับ

      สิบสามปีที่ท่านศาสดาและชาวมุสลิมได้พำนักอยู่ในนครมักกะฮ์ พวกเขาได้ถูกกลั่นแกล้ง ถูกทำร้ายและถูกทารุณกรรมอย่างรุนแรงโดยชาวมุชริกีน (ผู้ตั้งภาคี)  แต่ในช่วงเวลาเหล่านี้พระผู้เป็นเจ้ายังไม่ได้อนุญาตให้ชาวมุสลิมทำสงครามและทำการปกป้องตนเอง ชาวมุสลิมที่เหนื่อยหน่ายจากการข่มเหงรังแกและการทารุณของชาวมุชริกีน (ผู้ตั้งภาคี) ได้ไปพบท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และร้องทุกข์ต่อท่านเพื่อขออนุญาตทำการญิฮาด (ต่อสู้)  แต่ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ผู้ซึ่งทุกการกระทำและพฤติกรรมของท่านวางรากฐานอยู่บนวะฮ์ยู (วิวรณ์) ของพระผู้เป็นเจ้า ท่านกล่าวกับพวกเขาว่า : พวกท่านจงอดทนไปก่อน ขณะนี้บัญชาให้ทำการญิฮาด (ต่อสู้) จากพระผู้ป็นเจ้ายังไม่ได้ถูกประทานลงมายังฉัน จนกระทั่งการข่มเหงรังแกและการทำร้ายต่างๆ ของชาวมุชริกีน (ผู้ตั้งภาคี) ได้ทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ทำให้ชาวมุสลิมจำเป็นต้องอพยพ (ฮิจญ์เราะฮ์) ไปยังนครมะดีนะฮ์ และในนครมะดีนะฮ์นั่นเองที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานโองการแรกเกี่ยวกับการต่อสู้ (ญิฮาด) ลงมายังท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และชาวมุสลิมจึงได้รับอนุญาตให้ทำการปกป้องตนเองจากการโจมตีต่างๆ ของของศัตรูได้ โดยที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงตรัสว่า :

أُذِنَ لِلَّذِینَ یُقَاتَلُونَ بِأَنَّهُمْ ظُلِمُواوَإِنَّ اللَّـهَ عَلَی نَصْرِ‌هِمْ لَقَدِیرٌ

“ได้ถูกอนุมัติแก่บรรดาผู้ที่ถูกบังคับให้ทำการต่อสู้ เนื่องจากพวกเขาถูกกดขี่ และแท้จริงอัลลอฮ์ทรงเดชานุภาพยิ่งในการช่วยเหลือพวกเขา”

(อัลกถรอานบทอัลฮัจญ์ โองการที่ 39)

      การพิจารณาดูวิถีชีวิตและการกระทำต่างๆ ของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ชี้ให้เห็นว่า ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) เองนั้นได้ห้ามความรุนแรงและการเข่นฆ่าสังหารประชาชนผู้บริสุทธิ์ และตัวท่านเองก็เป็นผู้ส่งเสริมความเมตตาและความเอื้ออาทรในหมู่ชาวมุสลิมอย่างแท้จริง การพิชิตนครมักกะฮ์นั้น ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์หนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงจุดสูงสุดของความเมตตาและความเอื้ออาทรของท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ)

      ในวันที่สิบของเดือนรอมฎอน ปีฮิจญ์เราะฮ์ศักราชที่ 8 ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) พร้อมด้วยชาวมุสลิมจากนครมะดีนะฮ์จำนวนนับหมื่นคนได้เดินทางสู่นครมักกะฮ์ และได้ปิดล้อมนครมักกะฮ์ด้วยแผนการที่ชาญฉลาดและได้ทำให้เหล่าศัตรูยอมจำนนโดยปราศจากการหลั่งเลือด ในช่วงเวลานี้ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) มีอำนาจอย่างเต็มที่และสามารถที่จะทำการแก้แค้นการข่มเหงรังแก ความอธรรมและอาชญากรรมต่างๆ ทั้งหมดของบรรดาชาวมุชริกีน (ผู้ตั้งภาคี) แห่งมักกะฮ์ ที่เคยกระทำไว้กับชาวมุสลิมได้ แต่เราจะเห็นได้ว่าการพิชิตนครมักกะฮ์นั้นได้เกิดขึ้นโดยปราศจากการนองเลือดและเต็มเปี่ยมไปด้วยสันติภาพและความเมตตาอย่างแท้จริง

       หลังจากที่ท่านศาสดาได้มาถึงนครมักกะฮ์และในช่วงเวลาที่ท่านปรากฏตัวอยู่เคียงข้างบ้านของพระเจ้า (บัยตุลลอฮ์) นั้น บรรดาชาวมุชริกีน (ผู้ตั้งภาคี) ต่างๆ อยู่ในสภาพของความหวั่นกลัว และต่างพากันคิดและจินตนาการกันไปต่างๆ ที่นานาว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับพวกเขา  ในช่วงเวลาดังกล่าวประชาชนชาวมักกะฮ์ต่างนึกถึงการกดขี่และความอธรรมต่างๆ ทั้งมวลของตนที่เคยกระทำไว้กับท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และชาวมุสลิมและเชื่อว่าตนเองจะต้องถูกแก้แค้นเอาคืน

      กลุ่มชนที่เคยทำสงครามกับท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) หลายต่อหลายครั้ง และได้เข่นฆ่าบรรดาเยาวชนและบรรดาสาวกผู้ช่วยเหลือของท่าน และกระทั่งว่าได้ตัดสินใจบุกไปยังบ้านของท่านในยามค่ำคืนเพื่อที่จะลอบสังหารท่านนั้น มาบัดนี้พวกเขาได้ตกอยู่ในกำมือและอำนาจของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) แล้ว และท่านศาสดาก็สามารถที่จะทำการแก้แค้นพวกเขาได้ทุกรูปแบบ พวกเขาต่างพูดต่อกันและกันว่า : มุฮัมมัดคงจะทำการแก้แค้นพวกเราเป็นแน่ หรือไม่ก็จะฆ่ากลุ่มหนึ่งจากพวกเรา และจะจับกุมกลุ่มหนึ่งจากเรา และจับผู้หญิงและลูกๆ ของเราเป็นเชลย

      ทันใดนั้นท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ทำลายความเงียบของพวกเขาด้วยประโยคเหล่านี้ โดยกล่าวว่า :

ماذا تقولون؟! و ماذا تظنّون؟!

“พวกท่านจะพูดอะไร? และพวกท่านคิดอะไร (เกี่ยวกับตัวฉัน)?!!”

      พวกเขาทั้งหมดต่างพากันกล่าวว่า :  "เราไม่คิดสิ่งใดเกี่ยวกับท่านนอกจากความดีงาม และเราถือว่าท่านคือพี่น้องผู้มีเกียรติของเราและเป็นลูกของพี่น้องผู้มีเกียรติของเรา”

      ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้กล่าวว่า :

فَإِنِّي أَقُولُ كَمَا قَالَ أَخِي يُوسُفُ لا تَثْرِيبَ عَلَيْكُمُ الْيَوْمَ يَغْفِرُ اللَّهُ لَكُمْ وَهُوَ أَرْحَمُ الرَّاحِمِينَ

“ฉันจะพูดเช่นเดียวกับยูซุฟพี่ชายของฉันได้พูด (กับพี่ๆ ของตน) ว่า : วันนี้ไม่มีการตำหนิประณามใดๆ ต่อพวกท่าน อัลลอฮ์จะทรงอภัยโทษพวกท่าน และพระองค์ทรงเมตตายิ่งในบรรดาผู้เมตตาทั้งหลาย”

(อัลถุรอานบทยูซุฟ โองการที่ 92)

      แม้แต่ซะอัด บินอุบาดะฮ์ หนึ่งในผู้บัญชาการกองทัพอิสลาม ซึ่งในขณะเข้าสู่นครมักกะฮ์ เขาได้กล่าวคำขวัญว่า :

الْيَوْمَ يَوْمُ الْمَلْحَمَةِ الْيَوْمَ مُسْتَحِلّ الْحُرْمَةُ 

“วันนี้เป็นวันของการต่อสู้ วันนี้ชีวิตและทรัพย์สินของพวกเจ้าเป็นที่อนุมัติ?"

      ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้ปลดเขาออกจากตำแหน่งผู้บัญชาการกองทัพและได้มอบธงให้ลูกชายของเขา และได้สั่งให้กล่าวคำขวัญนี้แทนว่า :

الْيَوْمَ يَوْمُ الْمَرْحَمَةِ

 "วันนี้เป็นวันแห่งความเมตตา (วันแห่งการให้อภัย)" และจากนั้นท่านได้ออกคำสั่งนิรโทษกรรมทั้งหมด [2]

บทสรุป

       ตรรกะของอิสลามในการทำสงครามและในขณะได้รับชัยชนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีต่อชาวมุสลิมกลุ่มอื่นๆ นั้นก็คือสิ่งเดียวกันกับที่ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้ปฏิบัติในการพิชิตนครมักกะฮ์  ด้วยเหตุนี้ท่านต้องการที่จะบอกและสอนแก่เราว่า อย่าว่าแต่มุสลิมคนหนึ่งเลย แม้แต่กับบรรดาผู้ตั้งภาคี (มุชริกีน) ที่ออกมาเพื่อทำสงครามกับอิสลาม แต่เมื่ออำนาจของพวกเขาถูกทำลายลงและพวกเขาไม่ต้องการที่จะทำสงครามอีกแล้วนั้น พวกท่านไม่มีสิทธิ์ที่จะยิงกราดและสังหารหมู่พวกเขา

       ในตอนท้ายนี้ ด้วยการพิจารณาโดยสังเขปถึงแบบฉบับและการปฏิบัติของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ทำให้เกิดคำถามพื้นฐานขึ้นในความนึกคิดของเราทุกคนว่า กลุ่มตักฟีรีย์ชาววะฮ์ฮาบี อย่างเช่นกลุ่มดาอิช (ISIS) ได้ยึดเอาแบฉบับและคำสั่งใดมาจากท่านศาสดา (ซ็อลฯ) จึงทำให้พวกเขาถือว่าชาวมุสลิมกลุ่มอื่นจากตนนั้นเป็นกาฟิร (ผู้ปฏิเสธอิสลาม) และประกาศว่าเลือดของพวกเขาเป็นที่อนุมัติ (มุบาห์)  และหลังจากที่พวกเขาได้บุกเข้าไปยังทุกเมืองแล้ว พวกเขาจะเข่นฆ่าสังหารบรรดาผู้ชายและจับบรรดาสตรีของพวกเขาเป็นเชลยและประมูลขายในตลาด?

เชิงอรรถ :

  1. มุนตะฮัลอามาล , เขคอับบาส กุมมี , หมวดเกี่ยวกับท่านศาสดา (ซ็อลฯ)
  2. บิฮารุ้ลอันวาร , อัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี , เล่มที่ 21 , หน้า 109 ; ชัรห์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์ , อิบนิอบิลหะดีด , เล่มที่ 4 , หน้าที่ 208 และ 209

บทความโดย เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

เรียบเรียง : ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม