foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

การปรากฏตัวของซุฟยานีหนึ่งในสัญญาณที่ชัดแจ้ง

      การปรากฏตัวของซุฟยานี คือหนึ่งในสัญญาณที่แน่นอนตายตัวของการปรากฏตัว (ซุฮูร) ของผู้ช่วยให้รอด ในทัศนะของชาวชีอะฮ์ [1] ตามความเชื่อของพวกเขา ซุฟยานีซึ่งเป็นศัตรูของฮุจญะฮ์ บินฮะซัน (อิมามมะฮ์ดี) นั้น จะมีบทบาทมากที่สุดในสงครามต่างๆ ก่อนการปรากฏตัว (ซุฮูร) [2] ด้วยกับการแสดงตนในความเคร่งครัดศาสนา เขาจะหลอกลวงชาวมุสลิมจำนวนมากได้ และเขาจะเริ่มต้นการจลาจลจากแผ่นดินชาม (ประเทศซีเรีย) และจะครอบครองอิรักและแผ่นดินฮิญาซได้หลังจากสงครามต่างๆ หลายครั้ง และท้ายที่สุดเขาจะถูกฆ่าด้วยมือของฮุจญะฮ์ บินฮะซัน (อิมามมะฮ์ดี) [3]

การเกิดขึ้นอย่างแน่นอนของการจลาจลของซุฟยานี

      ท่านอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก ได้กล่าวในริวายะฮ์ (คำรายงาน) บทหนึ่ง ในหนังสือบิฮารุ้ลอันวาร [4] เกี่ยวกับการจลาจลที่จะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนของซุฟยานีว่า : [5]

“ซุฟยานีเป็นหนึ่งในสัญญาณของ “ซุฮูร” (การปรากฏตัวของมะฮ์ดี) และการออกมาของเขา นับจากช่วงเริ่มต้นจนถึงการสิ้นสุดนั้น จะใช้เวลาสิบห้าเดือน...”

      ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) อีกบทหนึ่งจากท่านอิมามอะลี :

“หลังจากการปรากฏตัวของซุฟยานี ท่านทั้งหลายจงนับเวลาของเขาไปเท่ากับระยะเวลาของการตั้งครรภ์ (ประมาณ 9 เดือน)”

ช่วงเวลาเริ่มต้นของการจลาจล

      ตามริวายะฮ์ (คำรายงาน) อีกบทหนึ่ง [6] จาก (อิมาม) ญะอ์ฟัร ซอดิก การจลาจลของซุฟยานีจะเกิดขึ้นในเดือนรอญับ [7]

การจลาจลของซุฟยานี

      ตามริวายะฮ์ (คำรายงาน) จำนวนมาก การขับเคลื่อนของซุฟยานี จะเริ่มต้นจากหุบเขายาบิซ (วาดี ยาบิซ) [8] แต่ตามริวายะฮ์ (คำรายงาน) ในหนังสือที่เขียนด้วยลายมือของอิบนุ ฮะมาด [9] โดยอ้างจากมุฮัมมัด บินญะอ์ฟัร บินอะลี นั้น จุดเริ่มต้นการเคลื่อนไหวของซุฟยานี จะเกิดจากหมู่บ้านแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า “เอนเดรีย” เขาจะมีผู้ร่วมทาง 7 คน [10] ตามริวายะฮ์ (คำรายงาน) ต่างๆ นั้น การจลาจลของเขาจะมีสามขั้นตอน คือ :

- ความมั่นคงของอำนาจ

- สงครามในอิรัก

- การกลับไปยังเมืองชาม

ความมั่นคงของอำนาจ

      ในช่วงเริ่มแรกนั้น ซุฟยานีจะก่อจลาจล และหลังจากการทำสงครามอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 6 เดือน เขาจะพิชิต 5 พื้นที่ได้ ซึ่งได้แก่ ดามัสกัส จอร์แดน ฮอมส์ ปาเลสไตน์และกินนัสรีน (Qinnasrin) [11] [7] หลังจากนั้นเขาจะพิชิตแผ่นดินชาม (ชามาต) ทั้งหมดได้ ยกเว้นเลบานอน และจะทำการปกครองเหนือดินแดนดังกล่าว [12] [13]

สงครามในอิรัก

      หลังจากพิชิตพื้นที่ทั้งหมดแล้ว เขาจะยกทัพไปยังอิรักและฮิญาซ (ซาอุดิอาระเบีย) [7] เป้าหมายหลักของเขาในการเข้าสู่อิรัก คือการจัดการกับกองทัพของอิหร่านที่ต้องการจะพิชิตซีเรียและอัลกุดส์ (เยรูซาเล็ม) โดยผ่านเส้นทางของอิรัก [14] หลังจากนั้น กองทัพของซุฟยานีจะเข้าสู่เมืองกิรกีซียา (Circesium)

สงครามกิรกีซียา (Circesium)

      หลังจากที่ซุฟยานีได้เข้าสู่พื้นที่กิรกีซียาแล้ว จะเกิดสงครามขึ้นซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “สงครามกิรกีซียา (Circesium)” กิรกีซียา เป็นเมืองขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในบริเวณทางเข้าลำธารบูค๊อร บนแม่น้ำยูเฟรติส ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นเพียงซากปรักหักพังที่อยู่ใกล้เมืองดัยรุซซูร (Deir Ezzor) ใกล้ชายแดนซีเรียกับอิรัก [15]

      สงครามกิรกิซียา จะเกิดขึ้นในบริเวณเขตชายแดนติดต่อระหว่างซีเรีย อิรักและตุรกี เหตุผลหลักของสงครามนี้ คือการปรากฏของขุมทรัพย์ในยูเฟรติส [14] ขุมทรัพย์นี้จะเป็นในรูปของภูเขาทองคำและเงินที่ถูกดึงออกมาจากแม่น้ำยูเฟรติส [16] ประชาชนทั้งหมดจะมุ่งหน้าเข้าสู่ดินแดนแห่งนี้เพื่อที่จะไปยังขุมทรัพย์ดังกล่าว และด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้เองสงครามที่หนักหน่วงจึงเกิดขึ้นซึ่งจะนำไปสู่การเสียชีวิตหลายแสนคน [14]

      ในริวายะฮ์ (คำรายงาน) ของชีอะฮ์ [17] สงครามครั้งนี้จะถูกกล่าวถึงในนาม “สำรับแห่งพระเจ้า” เนื่องจากในสงครามครั้งนี้ซุฟยานีจะทำสงครามกับ “อับเกาะอ์” และ “อัศฮับ” ซึ่งเป็นศัตรูร่วมกันของซุฟยานีและของชาวชีอะฮ์ ซึ่งจะส่งผลทำให้ทหารจำนวนมากของซุฟยานีถูกฆ่าตาย [18] ในสงครามครั้งนี้ซุฟยานีจะชนะเหนืออับเกาะอ์และอัศฮับ และเขาจะฆ่าบุคคลทั้งสอง ในสงครามครั้งนี้จำนวนหนึ่งแสนคนจะถูกฆ่าตาย [18] แล้วหลังจากนั้นซุฟยานีจะส่งกองทัพจำนวนเจ็ดหมื่นคนของเขาไปยังเมืองกูฟะฮ์ (ในประเทศอิรัก) [19]

การยึดครองอิรัก

      ผู้ปกครองอิรักในช่วงการโจมตีของกองทัพซุฟยานีนั้น เป็นบุรุษผู้หนึ่งซึ่งมีชื่อว่า “ชัยซอบานี” [20] กองทัพของซุฟยานีซึ่งประกอบด้วยกำลังทหารจำนวนหนึ่งแสนสามหมื่นคน [15] จะเข้าสู่อิรักจากทิศตะวันตก และจะโจมตียังกองกำลังทหารของชัยซอบานี และจะทำลายกองกำลังทหารทั้งหมดของเขาลง [20] ด้วยกับการพิชิตเหนืออิรัก ซุฟยานีจะทำการเข่นฆ่าหนักหน่วง [20] [21] กองทัพของซุฟยานีจะตั้งมั่นอยู่ในเมืองแบกแดด, อัลอันบาร์, ศอร๊อต, ฟารูก และรูฮา [22]

      กองทัพของซุฟยานีในอิรักจะไม่เผชิญกับกองกำลังต้านทานใดๆ จะมีก็แต่เพียงกลุ่มเล็กๆ ที่นำโดยบุรุษอาญัม (ไม่ใช่อาหรับ) ผู้หนึ่ง ซึ่งเป็นชาวกูฟะฮ์ที่จะเผชิญหน้ากับเขา แต่แล้วผู้บัญชาการกองทัพของซุฟยานีก็จะทำการเข่นฆ่าเขาและกองกำลังของเขา ในเขตพื้นที่ระหว่างเมืองฮัยเราะฮ์และเมืองกูฟะฮ์ [23]

      เพียงไม่กี่สัปดาห์หลังจากการปกครองของซุฟยานี ก็จะมีข่าวไปถึงเขาว่า กองทัพของอิหร่านได้เริ่มออกเดินทางมุ่งสู่อิรักเพื่อเข้าสมทบกับกองทัพของมะฮ์ดี [24] เหตุผลหลักของการไม่เผชิญหน้าครั้งนี้ก็คือว่า ซุฟยานีต้องการที่จะทำการโจมตีหลังจากการเข้าสมทบของกองกำลังของอิหร่านและกองกำลังของเยเมนกับกองทัพของมะฮ์ดี และจะทำการบดขยี้ฝ่ายตรงข้ามทั้งหมดภายในครั้งเดียว [24]

การถูกธรณีสูบของกองทัพซุฟยานี

      ผู้ปกครองฮิญาซซึ่งไม่สามารถจัดการกับกองทัพของฮุจญะฮ์ บินฮะซันได้นั้น จะเรียกร้องให้ซุฟยานีมาช่วยเขา [25] ซุฟยานีจะแบ่งกองทัพของเขาออกเป็นสองส่วน ครึ่งหนึ่งจะส่งไปยังเมืองชามและอีกครึ่งหนึ่งจะส่งไปยังฮิญาซ [26] ในช่วงเริ่มต้นนั้นกองกำลังของเขาจะยึดครองเมืองมะดีนะฮ์ และจะทำการสังหารหมู่ชาวชีอะฮ์ของเมืองนี้ทั้งหมด [27] ต่อจากนั้นกองกำลังทหารจำนวนหนึ่งหมื่นสองพันคนของซุฟยานีจะมุ่งหน้าสู่เมืองมักกะฮ์ [15] ในระหว่างที่กองทัพของซุฟยานีกำลังมุ่งหน้าไปเพื่อทำการพิชิตเมืองมักกะฮ์และกะอ์บะฮ์นั้น พวกเขาจะเผชิญกับเหตุการณ์ที่แปลกประหลาดในทะเลทรายบีดาอ์ และทั้งหมดจะถูกธรณีสูบ ยกเว้นเพียงสองหรือสามคน [28] [15]

การกลับไปยังเมืองชาม

      สงครามในอะฮ์วาซ  กองกำลังของฮุจญะฮ์ บินฮะซัน โดยการบัญชาการของ "ชุอัยบ์ บินซอและห์" [29] [30] ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในพื้นที่ภูเขาซะฟีด (ภูเขาสีขาว) ใกล้กับเมืองเมืองฮิสตัคร์ (Estakhr) จะทำการสู้รบกับทหารที่เหลืออยู่ของซุฟยานีในอิรัก ซึ่งเป็นสงครามที่จะรู้จักกันในนาม “สงครามอะฮ์วาซ” [30]

      สงครามในอัลกุดส์ (กรุงเยรูซาเล็ม)  หลังจากสงครามอะฮ์วาซ กองกำลังทหารของอิหร่านจะนำทัพมุ่งสู่เมืองชาม พร้อมกับกองทัพของฮุจญะฮ์ บินฮะซัน [31] และจะตั้งค่ายพักในหมู่บ้าน “มะรัจญ อัซรอ” (Adra) ในระยะทางห่างจากดามัสกัส 30 กิโลเมตร [31] ในช่วงเวลานี้เอง ซุฟยานีจะไปพบกับฮุจญะฮ์ บินฮะซัน และจะยอมมอบตัว [32] แต่ต่อมาภายใต้การเกลี้ยกล่อมโดยญาติและผู้สนับสนุนของเขา เขาจะเลิกล้มจากการยอมมอบตัว และจะล่าถอยออกจากดามัสกัสและเดินทางไปยังเมืองรอมละฮ์ (Ramla) ในปาเลสไตน์ [31] ชุอัยบ์ บินซอและห์พร้อมกับกองกำลังทหารของเขาประมาณหนึ่งล้านคน [33] หลังจากผ่านเมืองชามแล้วจะไปยังปาเลสไตน์ และสงครามขนาดใหญ่จะเกิดขึ้นระหว่างพวกเขากับกองทัพและบรรดาผู้สนับสนุนของซุฟยานีในพื้นที่ต่างๆ ได้แก่ ฏอบรียะฮ์ (Galilee), เอกา (เอเคอร์/Acre) และอัลกุดส์ (เยรูซาเล็ม) ซึ่งจะจบลงด้วยความพ่ายแพ้ของซุฟยานี [33]

ผลสุดท้ายของการจลาจลของซุฟยานี

หลังจากความปราชัยหลายครั้งของกองกำลังทหารของซุฟยานีในสงครามอะฮ์วาซ และสงครามอัลกุดส์ (เยรูซาเล็ม) และเหตุการณ์ถูกธรณีสูบของกองกำลังทหาร เขาจะถูกจับกุมโดยทหารคนหนึ่งของฮุจญะฮ์ บินฮะซัน และถูกฆ่าใกล้ๆ กับทะเลสาปฏ็อบรียะฮ์ (Sea of Galilee) ในบริเวณทางเข้าของอัลกุดส์ (เยรูซาเล็ม) [31]


แหล่งที่มา :

- จากวิกิพีเดียสารานุกรมเสรี

- ดูเชิงอรรถ ในลิงค์ : fa.wikipedia.org/wiki/خروج_سفیانی#cite_note-mouood-15


แปล/เรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม