foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

เสรีภาพของมนุษย์ อยู่ที่ใด?

      ท่านอิมามอะลี (อ.) กล่าวว่า

اَیُّهَا النّاسُ اِنَّ آدَمَ لَمْ یَلِدْ عَبْداً وَ لا اَمَةً وَ اِنَّ النّاسَ کُلُّهُمْ اَحْرارٌ

“โอ้มนุษย์เอ๋ย! แท้จริงศาสดาอาดัม (อ.) มิได้ถือกำเนิดมาเป็นทาสหรือทาสีแต่ประการใด และแท้จริงมนุษย์ทุกคนนั้นคือเสรีชน (1)

คำอธิบาย :

      กลุ่มเป้าหมายจากคำพูดของท่านอิมามอะลี (อ.) จากคำรายงานนี้ คือมนุษยชาติทั้งมวล เนื่องจากท่านไม่ได้พุ่งเป้าไปที่กลุ่มใดโดยเฉพาะ แต่ทว่าท่านกล่าวกับมนุษยชาติทั้งมวล สำนวนคำว่า «یا اَیُّهَا النّاسُ» “โอ้มนุษย์เอ๋ย” จะถูกใช้ในกรณีต่างๆ ที่เป็นสิทธิมนุษยชน แต่สำนวนคำว่า «یا اَیُّهَا الَّذینَ آمَنُوا» “โอ้บรรดาผู้ศรัทธา” จะถูกใช้ในกรณีต่างๆ ที่เป็นสิทธิแห่งอิสลาม ตามคำรายงานนี้ ประชาชนทุกคนเป็นผู้มีเสรีภาพ และพื้นฐานของการสร้างมนุษย์และลูกหลานของอาดัมนั้นวางอยู่บนเสรีภาพ หากในที่ใดและในช่วงเวลาใดที่หลักการนี้ถูกละเมิด นั่นเป็นกรณียกเว้น

      ความจริงประการหนึ่งเกี่ยวกับเสรีภาพของมนุษย์ที่ถูกนำเสนอเมื่อ 1400 ปีที่ผ่านมาโดยอิสลาม นับว่าเป็นเรื่องที่น่าพิจารณาใคร่ครวญ ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงเวลานั้น “เสรีภาพ” ไม่ได้ถูกรู้จักในฐานะหลักการสำคัญอันเป็นคุณค่าที่ดีงามประการหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากปัจจุบันที่ความเป็นคุณค่าที่ดีงามของเสรีภาพเป็นเรื่องที่ชัดเจนที่ไม่มีใครปฏิเสธได้

      หลักการความจำเป็นของการมีเสรีภาพนั้นเป็นประเด็นที่ชัดเจนยิ่ง ยิ่งไปกว่านั้นมันคือสัจพจน์ (หมายถึงเนื้อหาที่ยอมรับว่าเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์) ประการหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับของทุกคน และทุกชนชาติที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจการครอบงำ ที่จะต้องทำการต่อสู้เพื่อให้ได้มาซึ่งสิ่งนี้ สิ่งที่ควรพิจารณาและให้ความสนใจคือสองสิ่งต่อไปนี้

  1. ทำไมเสรีภาพจึงถือว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่าอย่างหนึ่ง? หากไม่มีสิ่งนี้แล้วจะเป็นอย่างไร? และหากมีสิ่งนี้อยู่จะเกิดอะไรขึ้น? แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ปรัชญาของเสรีภาพเป็นเรื่องที่พูดถึงกันน้อยมาก ทั้งที่ปรัชญาของเสรีภาพเป็นสิ่งที่มีความชัดเจนยิ่ง

      มนุษย์มีพลังความสามารถ มีศักยภาพและพรสวรรค์ต่างๆ มากมาย ในกรณีที่มนุษย์จะทำให้สิ่งเหล่านี้บรรลุผลความเป็นจริงขึ้นมาได้นั้น จะต้องไม่มีอุปสรรคกีดขวางอยู่เบื้องหน้าเขา เขาจะต้องสามารถศึกษาแสวงหาความรู้และการเรียนรู้ได้อย่างอิสระ จะต้องย่างก้าวไปในเส้นทางของการพัฒนาสู่ความสมบูรณ์ได้อย่างมีอิสรเสรี วิวัฒนาการหรือการพัฒนาสู่ความสมบูรณ์ของมนุษย์นั้นวางอยู่บนหลักเกณฑ์พื้นฐานสองประการคือ

      (ก) ศักยภาพและพรสวรรค์ภายในตัวมนุษย์

      (ข) การไม่มีอุปสรรคกีดขวาง ดังนั้นปรัชญาของเสรีภาพของมนุษย์ คือการใช้ประโยชน์จากความสามารถและพรสวรรค์ต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวเขา ซึ่งเป็นที่ชัดเจนยิ่งที่ว่า ความเบ่งบานของศักยภาพและพรสวรรค์ต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวของมนุษย์นั้น จะบรรลุความเป็นจริงได้ดีมากยิ่งขึ้นในสภาพแวดล้อมที่เปิดและในบรรยากาศที่เป็นอิสระ การเจริญเติบโตของต้นไม้ที่ปลูกในกระถางกับต้นไม้ที่ปลูกลงในพื้นดินนั้น ไม่อาจที่จะเปรียบเทียบกันได้

  1. เสรีภาพประเภทใดเป็นที่พึงปรารถนา? จากสิ่งที่ผ่านไปในประเด็นแรกนั้นเป็นที่ชัดเจนว่า เสรีภาพที่จะเป็นที่พึงปรารถนานั้นจะต้องเป็นเสรีภาพที่จะดำเนินไปในทิศทางของวิวัฒนาการหรือการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์ (กะมาล) ของมนุษย์ ดังนั้นปรัชญาแห่งเสรีภาพจะเป็นตัวอธิบายและกำหนดขอบเขตของมัน ทั้งนี้เนื่องจากเสรีภาพมีหลายประเภทคือ

     (ก) เสรีภาพแบบสมบูรณ์ (ไร้ขอบเขตจำกัด) : เสรีภาพประเภทนี้จะพบได้เฉพาะในใจกลางป่าเขาลำเนาไพรและท่ามกลางสัตว์ป่าเพียงเท่านั้น สถานที่ในลักษณะดังกล่าวนี้ ใครคิดอยากจะทำอะไรก็สามารถที่จะกระทำได้ และเป็นที่ชัดเจนว่า จะไม่มีใครต่อต้านเสรีภาพเช่นนี้ของเขา

     (ข) เสรีภาพที่อยู่ในกรอบจำกัดของกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่มนุษย์เป็นผู้สร้างขึ้น : ซึ่งก็จะมีการเปลี่ยนแปลงและการอรรถาธิบายใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ผู้ที่ไม่ศรัทธาต่อศาสนาก็ต้องยอมรับกฎเกณฑ์หรือกฎหมายที่มนุษย์สร้างขึ้น เสรีภาพของพวกเขาจึงถูกจำกัดอยู่ในกรอบของกฎหมายนี้ จริงอยู่ที่ว่ากฎหมายนั้นอาจไม่มีความขัดแย้งใดๆ ต่อเสรีภาพ แต่จะต้องอยู่กับผู้ที่รักษาเสรีภาพดังกล่าว

     (ค) เสรีภาพที่อยู่ในกรอบจำกัดของคุณค่าต่างๆ แห่งพระผู้เป็นเจ้า : เสรีภาพของผู้ที่ศรัทธาและปฏิบัติตามศาสนาและสำนักคิดต่างๆ ที่มาจากพระผู้เป็นเจ้า จะอยู่ในกรอบของคุณค่าต่างๆ ทางศาสนา บุคคลเหล่านี้จะไม่อนุญาตอย่างเด็ดขาดที่ใครจะละเมิดขอบเขตของคุณค่าต่างๆ อันสูงส่งแห่งพระผู้เป็นเจ้าและของมนุษย์ โดยอาศัยชื่อของคำว่า “เสรีภาพ”

      จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ประเภทแรกนั้นไม่ใช่เสรีภาพที่พึงปรารถนาของมนุษย์คนใดทั้งสิ้น และประเภทที่สองก็เป็นบ่อเกิดของปัญหาอุปสรรคและความทุกข์ยากต่างๆ นานัปการ มีเพียงประเภทที่สามเท่านั้นที่สามารถสนองตอบความผาสุกไพบูลย์ของมนุษยชาติได้ และเป็นอาภรณ์ปลกคลุมเรือนร่างแห่งการดำเนินชีวิตของมนุษย์ได้อย่างแท้จริง

แหล่งอ้างอิง :

     [1] มีซานุ้ลฮิกมะฮ์ หมวด (บาบ) ที่ 779 ฮะดีษที่ 3556 (เล่มที่ 2 หน้าที่ 351)

แปล/เรียบเรียง : ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม