นักวิชาการศาสนาชื่อดังคนหนึ่งของซาอุดิอาระเบียประกาศว่า เขาได้เปลี่ยนทัศนะของตนแล้วในเรื่องเกี่ยวกับความเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) ของดนตรีและเชื่อว่าดนตรีเป็นสิ่งอนุมัติ (ฮะลาล) และไม่มีปัญหาใดๆ
สำนักข่าวฟาร์สรายงานว่า "อาดิล อัลกัลบานี" นักวิชาการศาสนาของซาอุดิอาระเบียได้สร้างความโกรธขึ้นในสังคมซาอุดิอาระเบีย ในการประกาศทัศนะใหม่ของตนเกี่ยวกับการต้องห้าม (ฮะรอม) หรือการอนุญาต (ฮะลาล) ของดนตรี
อัลกัลบานีประกาศในรายการ "Trend" ซึ่งออกอากาศสดในโทรทัศน์ "เอ็มบีซี" ว่า เขาได้เปลี่ยนทัศนะของตนแล้วในเรื่องเกี่ยวกับการเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) ของดนตรีและเชื่อว่าดนตรีเป็นสิ่งอนุมัติ (ฮะลาล) และไม่มีปัญหาใดๆ
หนังสือพิมพ์ "อัล-ชัรก์" (Al - Sharq) ของกาตาร์รายงานว่า อัลกัลบานีเน้นย้ำอยู่เสมอถึงการเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) ของดนตรีและบทเพลง ซึ่งเขาเคยประกาศซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า "บรรดานักวิชาการศาสนามีความเห็นเป็นเอกฉันท์เกี่ยวกับความเป็นที่ต้องห้ามของมัน" แต่เพื่อที่จะทำให้ทัศนะของตนสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ใหม่ของ "บินซัลมาน" มกุฎราชกุมารแห่งซาอุดีอาระเบีย เขาได้เปลี่ยนแปลงทัศนะดังกล่าวโดยไม่ได้สนใจใดๆ ต่อทัศนะก่อนหน้านี้ของตน
อัลกัลบานีถือว่าการเปลี่ยนแปลงทัศนะของตนครั้งนี้ เนื่องจากวิสัยทัศน์ 2030 ของซาอุดีอาระเบีย โดยกล่าวว่าวิสัยทัศน์นี้ "จะเปลี่ยนแปลงทัศนะและท่าทีต่างๆ จำนวนมากและจะทำให้ประชาชนมีความกล้ามากขึ้นที่จะเปิดเผยปัญหาต่างๆ ที่ซ่อนอยู่และจะทำให้ทัศนะต่างๆ ที่เคยปิดบังได้ปรากฏขึ้น"
หลังจากรายการนี้ดิออกอากาศบรรดาพลเมืองในเครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างแสดงความคิดเห็นโจมตี "ความมีสองสีและการเปลี่ยนคำฟัตวาของเขาไปตามวิสัยทัศน์ใหม่ของมุฮัมมัด บินซัลมาน" หนึ่งในผู้ใช้ในสังคมออนไลน์กล่าวว่า "นับจากอดีตอันยาวนานประชาชนต่างรู้กันดีว่าเครื่องดนตรีนั้นเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) ซึ่งบรรดานักวิชาการศาสนาทั้งหลายก็ออกคำฟัตวา (วินิจฉัยทางศาสนา) ถึงการเป็นสิ่งต้องห้ามของมัน...และบทบัญญัติและศาสนาจะไม่มีการเปลี่ยนแปลง"
ตามรายงานของ "อัล-ชัรก์" บรรดาผู้ใช้เครือข่ายสังคมเชื่อว่า การแสดงทัศนะของอัลกัลบานีครั้งนี้เกิดจากความกลัวว่าจะตกอยู่ในชะตากรรมเดียวกับบรรดาเพื่อนร่วมงานของตนที่อยู่ในสถานที่กักกันและคุกต่างๆ ในซาอุดิอาระเบียหากเขาจะแสดงทัศนะขัดแย้งกับบรรยากาศของระบอบการปกครองของซาอุฯ ดังนั้นตามคำพูดของพวกเขา อัลกัลบานีจึงเดินร่วมทางไปกับระบอบปกครองด้วยการทำให้ฟิกฮ์ (นิติศาสตร์อิสลาม) สอดคล้องกับยุคสมัย
"นิมร์ อัลอะฏอวี" หนึ่งในผู้ใช้เครือข่ายสังคมได้เขียนว่า "อะไรคือสาเหตุของสิ่งที่ทำให้คุณออกคำฟัตวาต่างๆ ที่ขัดแย้งกัน อย่างเช่นการวิเคราะห์ของคุณเกี่ยวกับเรื่องเครื่องดนตรี คุณต้องการชื่อเสียงกระนั้นหรือ? คุณไม่รู้หรือว่า ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้เตือนไว้ว่า อย่าพูดพาดพิงถึงอัลลอฮ์โดยปราศจากความรู้?"
ตามรายงานนี้ นี่ไม่ใช่การเลยเถิดในคำพูดครั้งแรกของอัลกัลบานี เนื่องจากเขาซึ่งเป็นอดีตอิมามญะมาอัตของมัสยิดิลฮะรอมได้เคยรณรงค์เผยแพร่เกี่ยวกับองค์กรที่มีชื่อว่า “คณะกรรมการเพื่อการสันทนาการ”
ก่อนหน้านี้ก็เช่นกันในหนังสือพิมพ์ "อัล-ริยาฎ" ในบทความภายใต้หัวข้อ "ช่วงเวลาสันทนาการ ของขวัญแห่งพระเจ้า" นักวิชาการชาววะฮ์ฮาบีผู้นี้ได้กล่าวอ้างว่า คณะคณะกรรมการเพื่อการสันทนาการ โดยความร่วมมือของประชาชนสามารถดึงดูดเยาวชนและ "เปิดประตูบานใหญ่เพื่อการเยียวยาข้อบกพร่องและช่องว่างต่างๆ อันมากมาย"
อัลกุลบานีกล่าวว่า : "ตราบที่สิ่งบันเทิงนั้นเป็นที่อนุญาตและเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับจิตใจ ดังนั้นชาวมุสลิมทุกคนก็มีสิทธิ์นี้ และไม่เป็นที่ปิดบังต่อบุคคลใดที่ว่ามีความแตกต่างและระยะเวลาที่ห่างไกลอย่างมากระหว่างยุคของเราและยุคของศาสดา มนุษยชาติได้เพิ่มขึ้นอย่างมากมายและเมืองต่างๆ ก็ขยายตัวซึ่งเป็นไปไม่ได้อีกแล้วที่จะกระทำงานอดิเรกและการสร้างสรรค์โดยละพัง"
อัล-ชัรก์ได้เขียนในตอนท้ายของรายงานว่า นักกิจกรรมทางสังคมได้โจมตีอัลกัลานีและเยาะเย้ยถากถางเขา พร้อมกับได้วิพากษ์วิจารณ์เขาอย่างรุนแรง ในทิศทางของนโยบายต่างๆ ในการทำให้ประชาชนซาอุดิอาระเบียหลงทางและเบี่ยงเบนความสนใจจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความผิดพลาดทางการเมืองที่ระบอบการปกครองของซาอุดีอาระเบีย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าชายมกุฎราชกุมารและคนใกล้ชิดของเขาได้กระทำนั้น อัลกัลบานีได้ปรากฏตัวอยู่ในการแถลงข่าวของคณะกรรมการเพื่อการสันทนาการของซาอุดิอาระเบียด้วย "เตอร์กี อาลิชชัยค์" ประธานคณะกรรมการนี้ได้ประกาศในการแถลงข่าวดังกล่าวว่า ดนตรีและเพลงเป็นที่อนุญาตในร้านอาหารและคาเฟ่ทั้งหลาย
ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาในการดำเนินแผน "วิสัยทัศน์ 2030" ที่ถูกกล่าวถึงว่าเป็นแผนปฏิรูปของมุฮัมมัด บินซัลมานนั้น ซาอุดิอาระเบียได้เห็นการจัดคอนเสิร์ตที่หลากหลายทั้งโดยนักร้องชายและหญิงชาวอาหรับและชาวตะวันตก
หลังจากที่คอนเสิร์ตของบรรดาสตรีชาวอาหรับหลายครั้งได้ถูกจัดขึ้นในช่วงเทศกาลทางศาสนา "อีดิลฟิฏรี่" การจัดคอนเสิร์ตเหล่านี้ขึ้นก็ได้ขยายวงเข้าไปในเขตพื้นที่ทางศาสนาของซาอุดีอาระเบีย
ในช่วงต้นปีที่ผ่านมาคอนเสิร์ตหญิงชาวอตะวันตกอย่าง "มารายห์ แครี" (Mariah Carey) นักร้องผู้มีชื่อเสียงชาวอเมริกันได้จัดคอนเสิร์ตครั้งแรกของตนขึ้นในซาอุดิอาระเบียในย่านบันเทิง King Abdullah Economic City เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม (2019)
ที่มา : สำนักข่าวฟาร์ส
ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม
In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم
Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم
ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You
WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์
ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center