ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดในสหรัฐฯ แสดงให้เห็นว่า ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาสงครามต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่ได้เกิดขึ้นภายใต้ข้ออ้าง "การต่อสู้กับการก่อการร้าย" นั้น มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 8 แสนคน สูญค่าใช้จ่ายมากกว่า 6.4 ล้านล้านดอลลาร์
ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดในสหรัฐอเมริกาแสดงให้เห็นว่าสงครามต่างๆ ที่สหรัฐอเมริกาได้เริ่มต้นขึ้นเมื่อเกือบสองทศวรรษที่ผ่านมาด้วยข้ออ้างในการต่อสู้กับการก่อการร้าย ได้ก่อให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายทางการเงินและชีวิตจำนวนมหาศาล ทั้งสำหรับสหรัฐอเมริกาเองและสำหรับประเทศที่ตกเป็นเป้าหมาย
จากการศึกษาวิจัยที่ดำเนินการโดยมหาวิทยาลัยบราวน์ (Brown University) ภายใต้ชื่อโครงการ "ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดจากสงคราม" ซึ่งในระหว่างสงครามเหล่านี้ มีผู้ที่ได้รับผลกระทบแก่เสียชีวิตอย่างน้อย 801,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นพลเรือน และมีค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียกับสงครามต่างๆ ตลอดเกือบสองทศวรรษนี้เป็นจำนวนเงิน 6.4 ล้านล้านดอลลาร์
อย่างไรก็ตามการรายงานของเว็บไซต์ "Task & Purpose" เหล่านักวิจัยของโครงการนี้เตือนว่าจำนวนผู้เสียชีวิตและค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงอาจสูงกว่านี้มาก เนื่องจากในการวิจัยดังกล่าวได้พิจารณาเฉพาะบรรดาผู้เสียชีวิตที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการโจมตีและการทิ้งระเบิดต่างๆ รวมถึงการโจมตีด้วยโดรนและระเบิดแสวงเครื่อง ส่วนจำนวนของบรรดาผู้ที่เสียชีวิตทางอ้อมอันเกิดจากผลพวงต่างๆ ของสงครามนั้น ไม่ได้รวมอยู่ในการศึกษาวิจัยนี้ด้วย
ความคลุมเครือดังกล่าวนี้ก็มีอยู่ แม้แต่ในกรณีของผู้เสียชีวิตโดยตรงจากสงคราม สถาบันบราวน์ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า : “ เป็นที่ชัดเจนว่าเราอาจจะไม่สามารถรับรู้ถึงจำนวน (ทั้งหมด) ของผู้ที่เสียชีวิตโดยตรงจากสงครามเหล่านี้ได้ ตัวอย่างเช่น เป็นไปได้ว่าในปฏิบัติการทวงคืนเมืองโมซูลและเมืองอื่นๆ จากไอซิสนั้น อาจจะมีพลเรือนหลายหมื่นคนถูกสังหาร แต่อาจไม่พบศพของพวกเขา"
ในโครงการวิจัยนี้ได้ประเมินว่า ต้นทุนค่าใช้จ่ายทางด้านประชากรมนุษย์ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและธรรมชาติที่มีผลกระทบจากสงครามที่รู้จักกันในนาม "สงครามต่อต้านการก่อการร้าย" นั้น จนถึงขณะนี้ก็ยังคงมีอยู่อย่างต่อเนื่อง
บรรดาเจ้าหน้าที่โครงการวิจัยฯ กล่าวว่า สถิติต่างๆ ของพวกเขาได้รับมาบนพื้นฐานของการสำรวจโดยกระทรวงกลาโหมของสหรัฐฯ , สำนักวิจัยของสภาคองเกรส, องค์การสหประชาชาติ, องค์กรพัฒนาเอกชนและผู้สื่อข่าวภาคสนาม
แม้ว่าในการศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้พิจารณาถึงสถิติการเสียชีวิตต่างๆ โดยทางอ้อมก็ตาม แต่อัตราส่วนของการสูญเสียชีวิตโดยทางอ้อมเมื่อเทียบกับการเสียชีวิตโดยตรงนั้นได้ถูกพิจารณาว่าอยู่ที่ 4 ต่อ 1 (หมายถึง 4 เท่า) ซึ่งในกรณีเช่นนี้สามารถสันนิษฐานได้ว่าประมาณ 4 ล้านคนได้เสียชีวิตโดยทางอ้อมในสงครามเหล่านี้ ด้วยผลจากปัจจัยต่างๆ เช่น การขาดอาหารและน้ำ ทำนองเดียวกันนี้การขาดการดูแลรักษาด้านสุขภาพพลานามัยและการเยียวยา
จากการศึกษาวิจัยพบว่ามีทหารสหรัฐฯ จำนวน 7,014 นาย ถูกสังหารระหว่างการสู้รบ และกองกำลังว่าจ้างของบรรดาบริษัทด้านความมั่นคงของสหรัฐฯ อีกจำนวน 7,950 นาย ก็ถูกสังหารในสงครามเหล่านี้
ในโครงการศึกษาวิจัยนี้ไม่ได้คำนวณจำนวนของผู้บาดเจ็บ แต่ในการศึกษาวิจัยนี้ประมาณการว่ามากกว่า 21 ล้านคน จากทั่วตะวันออกกลางได้พลัดพรากจากบ้านเกิดเมืองนอนของตน โดยผลจากสงครามเหล่านี้
บรรดานักวิจัยของโครงการนี้ได้เขียนว่า "สงครามกับการก่อการร้าย" ซึ่งได้เริ่มต้นขึ้นจากสี่ประเทศ ได้แก่ อัฟกานิสถาน อิรัก ซีเรียและปากีสถานนั้น ขณะนี้ได้ขยายตัวออกไปสู่ 80 ประเทศและกลายเป็นประหนึ่ง "สงครามโลก" ในการศึกษาวิจัยนี้ได้เตือนว่า ยิ่งสงครามดำเนินต่อไปนานเท่าไหร่ค่าใช้จ่ายทางการเงินและชีวิตของมันก็จะยิ่งมากขึ้นเพียงนั้น
การถอนตัวออกจากเอเชียตะวันตก (ตะวันออกกลาง) เป็นหนึ่งในคำมั่นสัญญาหลักของ “โดนัลด์ ทรัมป์” ผู้สมัครรับเลือกตั้งชิงตำแหน่งประธานาธิบดีในขณะนั้น จากพรรครีพับลิกัน ในช่วงการรณรงหาเสียงเลือกตั้งในปี 2015 นับจากช่วงเวลาที่ได้เข้าสู่ทำเนียบขาว เขาได้ออกคำสั่งให้ถอนทหารออกจากซีเรียหลายต่อหลายครั้ง แต่ทุกครั้งเขาก็ได้เปลี่ยนการตัดสินใจใหม่ กรณีสุดท้ายของการออกคำสั่งของเขาคือในเดือนตุลาคมของปีนี้ ซึ่งตามคำสั่งของเขาจะต้องถอนกองกำลังทหารสหรัฐฯ ทั้งหมด 1,000 นาย ที่ประจำการอยู่ในตอนเหนือของประเทศซีเรียออกจากพื้นที่ กระนั้นก็ตามต่อมาภายหลังเนื่องจากมีบ่อน้ำมันต่างๆ อยู่ในพื้นที่นี้ เขาจึงได้เปลี่ยนการตัดสินใจของตน หนังสือพิมพ์ “นิวยอร์กไทมส์” รายงานเมื่อวานนี้ (วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน) ว่า การปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ในภาคเหนือของซีเรียได้เริ่มต้นขึ้นอีกครั้งและขณะนี้กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจที่จะคงทางทหารจำนวน 500 นายไว้ในพื้นที่นี้
ในปี 2001 และหลังจากการโจมตี 9/11 อาคารเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ในนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกาได้เริ่มต้นบุกอัฟกานิสถานและสองปีต่อมาได้บุกอิรัก ภายใต้ข้ออ้างการต่อสู้กับอัลดออิดะฮ์และกลุ่มก่อการร้ายอื่นๆ หลังจากการบุกโจมตีทั้งสองประเทศนี้ ”จอร์จ ดับเบิลยูบุช” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในขณะนั้นได้กล่าวอ้างว่า สหรัฐอเมริกาได้รับชัยชนะในสงครามกับการก่อการร้ายและ "ภารกิจได้สำเร็จลงแล้ว" กระนั้นก็ตามหลังจากผ่านไป 18 ปี สหรัฐฯ ก็ยังคงปรากฏต้วทางทหารอยู่ทั้งในอิรักและในอัฟกานิสถาน และยังไม่มีท่าทีใดๆ ว่าสงครามเหล่านี้จะยุติลงเมื่อไหร่
ที่มา : สำนักข่าวฟาร์ส
ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม
In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم
Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم
ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You
WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์
ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center