บรรดาผู้สังเกตการณ์เชื่อว่า กระแสของความไม่พอใจที่เพิ่มขึ้นของประชาชนในซาอุดิอาระเบียเกี่ยวกับมาตรการที่เข้มงวดทางด้านเศรษฐกิจภายใต้การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศนี้สามารถจะก่อให้เกิดการปฏิวัติของบรรดาผู้อดอยากในประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกได้
สำนักข่าวฟาร์สรายงาน : การเพิ่มมาตรการรัดเข็มขัดทางเศรษฐกิจล่าสุดที่ได้เริ่มต้นขึ้นโดยเจ้าหน้าที่ซาอุดิอาระเบีย ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างกว้างขวางขึ้นในประเทศนี้ กลุ่มนักเคลื่อนไหวได้เผยแพร่คลิปวิดีโอต่างๆ ของประชาชนหลายสิบคนที่โอดครวญจากผลกระทบจากความยากจนที่กำลังขยายตัวอย่างกว้างขวางในประเทศนี้ ซึ่งบรรดาผู้สังเกตการณ์ได้เตือนถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิด "การปฏิวัติของบรรดาผู้อดอยาก" ขึ้นในประเทศ
ตามการรายงานของหนังสือพิมพ์ "Al-Quds Al-Arabi" รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้ตัดสินใจใหม่เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาและราคาน้ำมันที่ลดลง ซึ่งโดยพื้นฐานแล้วเป็นการเพิ่มอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มจาก 5% เป็น 15% และการตัดการช่วยเหลือเยียวยาค่าใช้จ่ายต่างๆ ของคนงานและพนักงาน
การตัดสินใจล่าสุดนี้ ได้ก่อให้เกิดข้อพิพาทอย่างมากในประเทศซาอุดิอาระเบีย ถึงขั้นที่ "ฆอนิม อัดเดาซะรี" ฝ่ายต่อต้านของซาอุดิอาระเบียได้เขียนว่า : เพียงระยะเวลาสองเดือนของการเกิดวิกฤติโคโรนา รัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้เพิ่มภาษีของพลเมืองและตัดความช่วยเหลือทางด้านค่าครองชีพ ซึ่งคาดว่าวิกฤติจะยังคงดำเนินไปอีกยาวนาน และเป็นไปได้หรืดไหมที่วันหนึ่ง เราจะตื่นขึ้นมาแล้วเจอภาษีเพิ่มสูงขึ้นกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
อัดเดาซะรี ยังได้ปล่อยคลิปวิดีโอที่แสดงให้เห็นถึงภาพต่างๆ ของความยากจนที่รุนแรงในบางพื้นที่ในซาอุดิอาระเบีย พลเมืองที่กำลังค้นหาอาหารในถังขยะและบรรดาผู้ที่อาศัยอยู่ในบ้านเรือนต่างๆ ที่ทรุดโทรมและโอดครวญถึงความอดอยากและความยากจน
"อะฮัด คอลิด อับดุเราะห์มาน" นักเคลื่อนไหวทางด้านกฎหมายก็ได้เขียนเช่นกันว่า : "การตัดสินใจต่างๆ ล่าสุดนี้ ได้ทำให้ประชาชนซาอุดิอาระเบียตกใจ พวกเขามั่นใจแล้วว่า การตัดสินใจทั้งหมดสะท้อนถึงราคาสินค้าต่างๆ ที่สูงขึ้น และความเป็นปฏิปักษ์ต่อประชาชนที่ยากจน ในขณะที่ไม่มีใครกล้าเข้าไปแตะงบประมาณและเงินเดือนของบรรดาเจ้าชาย บรรดาที่ปรึกษาและญาติใกล้ชิดของรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย พวกคุณสามารถเอาเงินจากกระเป๋าของประชาชนได้เพียงเท่านั้น"
ผู้ใช้โซเชี่ยลอีกรายหนึ่งซึ่งใช้ชื่อว่า "خط البلدة (@saudibus222)" ได้อธิบายในหน้าทวิตเตอร์ว่า "การตัดสินใจใหม่ ... วิกฤตที่ร้ายแรงกว่าและสถานการณ์ที่เลวร้ายกว่ายังมาไม่ถึง" พร้อมกับเขียนว่า : "รัฐบาลได้ตัดเงินอุดหนุนและเพิ่มภาษีขึ้นอีก 200 เปอร์เซ็นต์ แต่วิกฤตที่แท้จริงตอนนี้ยังไม่เกิดขึ้น มุฮัมมัด บินซัลมาน จะยังคงควักเงินจากกระเป๋าของประชาชนต่อไป และจะไม่ยอมละทิ้งข้อเรียกร้องต่างๆ ของทรัมป์ จนกว่าเขา (ทรัมป์) จะดูดพันล้านดอลลาร์สุดท้ายจากซาอุดิอาระเบีย "บินซายิด" (มกุฎราชกุมารแห่งอาบูดาบี) ก็จะไม่ยอมแพ้เงินซาอุฯ ในการสนับสนุนโครงการต่อต้านการปฏิวัติ"
เขากล่าวเสริมว่า : “วิกฤตที่แท้จริงจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อคนจำนวนหนึ่งไม่สามารถแม้แต่จะซื้อไก่และไข่ไก่กินได้ และเงินเดือนของพวกเขาจะไม่เพียงพอสำหรับสิบวันในหนึ่งเดือน และพวกเขาไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกๆ ของพวกเขาได้ สถานการณ์เลวร้ายกว่านั้นก็คือการใช้อำนาจจัดการกับเรากำลังจะมาถึง หากมือ (อำนาจ) ของบินซัลมาน ไม่ถูกตัดและไม่มีใครหยุดยั้งการเล่นแบบเด็กๆ ของเขา"
เขากล่าวในอีกรายงานหนึ่งว่า : “หากรัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้ทำ 10 อย่าง ก็คงไม่จำเป็นต้องเอามือไปควักจากกระเป๋าของประชาชน คือ เขา (รัฐบาล) จะต้องหยุดการสนับสนุนกองกำลังต่อต้านการปฏิวัติ, ตัดเงินบำนาญของบรรดาเจ้าชายและผู้ที่ใกล้ชิดกษัตริย์, ยุติสงครามที่ไร้ประโยชน์ในเยเมน, จัดการกับการปล้นสะดมกองคลัง (บัยตุลมาล) และกระจายความมั่งคั่งของประเทศอย่างยุติธรรม, จะต้องไม่เพิกเฉยต่อการลงโทษผู้ต้องหาทุจริตคนอื่นๆ ในหมู่เจ้าชายทั้งหลาย, จะต้องเอาเงินที่บรรดาเจ้าชายของซาอุดิอาระเบียได้ปล้นไปและฝากไว้ในธนาคารต่างๆ ของอังกฤษและสวิสกลับคืนมา ทรัพย์สินที่บินซัลมานได้ซื้อหลายพันล้านดอลลาร์นั้นจะต้องถูกขาย"
ผู้ใช้รายอื่นก็ได้ชี้ถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาในซาอุดิอาระเบียและการดำเนินนโยบายรัดเข็มขัดทางเศรษฐกิจในประเทศนี้ อันเนื่องจากวิกฤตการณ์ทางการเงิน พร้อมกับเขียนว่า : หากประเทศที่ร่ำรวยน้ำมันนี้ไม่ได้ใช้รายได้ต่างๆ ไปในสงครามและการซื้ออาวุธ ถึงตอนนี้มันก็สามารถที่จะใช้จ่ายเงินดังกล่าวสำหรับวิกฤตการณ์ที่เกิดจากโคโรนาและภาวะราคาน้ำมันที่ลดลง
สองวันที่ผ่านมารัฐบาลซาอุดิอาระเบียได้ประกาศว่า ได้เริ่มมาตรการรัดเข็มขัดทางเศรษฐกิจเพื่อจัดการกับวิกฤตการเงินที่เกิดจากการระบาดของไวรัสโคโรนาและการลดลงของราคาน้ำมันดิบซึ่งรวมถึงการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นสามเท่าและการลดเงินเดือนและสิทธิพิเศษต่างๆ ของพนักงานของรัฐ
ตามคำรายงานจากสื่อของรัฐบาลซาอุดิอาระเบียระบุว่า มาตรการเหล่านี้ได้ถูกดำเนินการเพื่อรวบรวมรายได้และลดค่าใช้จ่ายมีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านริยาลซาอุดีอาระเบีย (หรือประมาณ 26.6 พันล้านดอลลาร์)
ซาอุดิอาระเบีย ประเทศผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ที่สุดของโลกซึ่งตกอยู่ภายใต้การกักกันตัว อย่างเข้มงวดเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนากำลังเผชิญกับวิกฤติที่เกิดจากราคาน้ำมันที่ลดลง
ที่มา : สำนักข่าวฟาร์ส
ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม
In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم
Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم
ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You
WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์
ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center