foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

แบบอย่างแห่งการเสียสละ (อีษาร) จริยธรรมอันสูงส่งในคัมภีร์อัลกุรอาน

           คำว่า “อีษาร” (การเสียสละ) หมายถึง การให้ความสำคัญต่อผู้อื่นก่อนตนเองหรือมากกว่าตนเอง ไม่ว่าจะในเรื่องของทรัพย์สินเงินทอง วัตถุ หรือจะเป็นเรื่องของการดำเนินชีวิตก็ตาม นับได้ว่าเป็นคุณลักษณะอันสูงส่งประการหนึ่งทางด้านจริยธรรม ซึ่งได้รับการยกย่องสรรเสริญไว้อย่างมากมายในคัมภีร์อัลกุรอาน และในคำรายงาน (ริวายะฮ์) ทั้งหลาย และคุณลักษณะดังกล่าวนี้เกิดจากการที่มนุษย์ได้ขจัดความเห็นแก่ตัวให้หมดสิ้นไปจากตนเอง

           คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวถึงบรรดาผู้ศรัทธาจำนวนหนึ่ง ซึ่งทั้งๆ ที่ตนเองเป็นผู้ยากไร้และมีความต้องการ แต่ทว่าพวกเขาได้ให้ความสำคัญต่อบุคคลอื่นมากกว่าตนเอง ดังนั้นเขาจึงยอมเสียสละสิ่งที่ตนเองมีความต้องการให้กับบุคคลเหล่านั้น

وَيُؤْثِرُونَ عَلَى أَنْفُسِهِمْ وَلَوْ كَانَ بِهِمْ خَصَاصَةٌ

“และพวกเขาให้ความสำคัญแก่ผู้อื่นเหนือกว่าตัวของพวกเขาเอง แม้นว่าพวกเขาจะประสบกับความขัดสนสักปานใดก็ตาม”

(อัลกุรอานบท อัลฮัชรุ โองการที่ 9)

           นักอรรถาธิบายคัมภีร์อัลกุรอาน (มุฟัซซิรีน) รายงานเรื่องราวต่างๆ ไว้เกี่ยวกับสาเหตุการประทานโองการนี้ ท่านอิบนุอับบาส กล่าวว่า : ท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ได้กล่าวกับชาวอันศ็อร (บรรดาผู้ช่วยเหลือ) ในวันแห่งชัยชนะเหนือชาวยิวเผ่าบนีนะฎีรว่า “หากพวกท่านประสงค์ก็จงแบ่งปันทรัพย์สินและบ้านเรือนของพวกท่านให้แก่ชาวมุฮาญิรีน (บรรดาผู้อพยพ) เถิด และพวกท่านก็จงมีส่วนร่วมกับพวกเขาในทรัพย์สินเชลยศึกเหล่านั้น และถ้าหากพวกท่านประสงค์ทรัพย์สินต่างๆ และบ้านเรือนทั้งหลายของพวกท่านก็จะเป็นของพวกท่านดังเดิม แต่ทรัพย์สินเชลยศึกเหล่านี้จะไม่ถูกมอบให้แก่พวกท่านแต่ประการใดเลย!”

          ชาวอันศ็อรกล่าวว่า “พวกเราจะแบ่งปันทรัพย์สินและบ้านเรือนของพวกเราให้แก่พวกเขา และพวกเราก็จะไม่ขอรับทรัพย์สินเชลยศึกเหล่านี้ แต่พวกเราขอสละให้กับชาวมุฮาญิรีน” โองการข้างต้นถูกประทานลงมาและได้สรรเสริญยกย่องจิตวิญญาณอันสูงส่งของพวกเขา (1)

          ในคำรายงาน (ริวายะฮ์) อีกบทหนึ่งกล่าวว่า : มีชายผู้หนึ่งมาหาท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) และกล่าวว่า “ข้าพเจ้าหิวอาหาร” ท่านศาสนทูต (ซ็อลฯ) ให้คนไปนำอาหารจากบ้านมาให้เขา แต่ปรากฏว่าในบ้านของท่านศาสนทูตไม่มีอาหารอยู่เลย ท่านจึงกล่าวขึ้นว่า “มีใครบ้างที่จะรับชายผู้นี้เป็นแขกของตนในค่ำคืนนี้” ชายผู้หนึ่งจากชาวอันศ็อรรับอาสาพาชายผู้นั้นไปยังบ้านของตน แต่ปรากฏว่าในบ้านของเขาก็ไม่มีอาหารใดๆ เหลืออยู่เลย นอกจากจำนวนเล็กน้อยสำหรับลูกๆ ของตนเอง เขาสั่งให้นำอาหารนั้นมาให้แขก และดับตะเกียงพร้อมกับกล่าวกับภรรยาของตนเองว่า “จงหาทางทำอย่างไรก็ได้เพื่อให้ลูกๆ หลับ” หลังจากนั้นสามีภรรยาคู่นั้นก็นั่งลงยังสำรับอาหาร และขยับปากของตนเหมือนคนที่กำลังเคี้ยวอาหาร ทั้งๆ ที่ไม่ได้หยิบอาหารใดๆ ใส่เข้าไปในปากตนเองเลย แขกผู้นั้นเข้าใจว่าทั้งสองกำลังรับประทานอาหารร่วมกับเขา ดังนั้นเขาจึงรับประทานอาหารในปริมาณที่พอเพียงจนรู้สึกอิ่ม แต่บุคคลทั้งสองต้องนอนหลับในสภาพที่หิวโหย

         ในตอนเช้าบุคคลทั้งสองมาหาท่านศาสนทูตของอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) ท่านศาสนทูตมองไปยังพวกเขาพร้อมกับยิ้มให้ (โดยที่พวกเขามิได้พูดสิ่งใด) ท่านศาสนทูต (ซ็อลฯ) ได้อ่านโองการข้างต้น และยกย่องสรรเสริญการเสียสละของบุคคลทั้งสอง

         คำรายงานต่างๆ ที่รายงานไว้จากบรรดาอะฮ์ลิลบัยต์ (อ.) กล่าวว่า : ผู้รับรองแขกคืนนั้นคือท่านอะลี (อ.) และเด็กๆ คือลูกๆ ของท่าน และบุคคลที่ทำให้เด็กเหล่านั้นนอนหลับในสภาพที่หิวโหย คือท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ (อ.) (2)

      การหยิบยื่นสิ่งที่ตนเองมีความต้องการและมีความรักความผูกพันต่อมันเพื่อความอยู่รอดของผู้อื่น นั้นคือ “การเสียสละ” (อีษาร) แต่จุดสูงสุดของการเสียสละ คือการเสียสละเลือดเนื้อและชีวิต และ “ผู้เสียสละ” ก็คือบุคคลที่มีความพร้อมที่จะพลีเลือดเนื้อและชีวิตของตนเองเพื่อความพึงพอพระทัยของพระผู้เป็นเจ้า ในหนทางแห่งการปกป้องหลักคำสอนของศาสนา และเพื่อความเป็นอยู่ที่สงบสุขและดีกว่าสำหรับเพื่อนมนุษย์

      ในเหตุการณ์แห่งวันอาชูรอ บุคคลผู้เสียสละและพลีอุทิศคนแรกนั้นคืออิมามฮุเซน (อ.) ผู้ซึ่งเตรียมพร้อมแล้วที่จะพลีอุทิศชีวิตของตนเองเพื่อศาสนาของอัลลอฮ์ (ซบ.) และเลือกเอาความพึงพอพระทัยของพระองค์มาก่อนทุกสิ่งทุกอย่าง และท่านยังได้เรียกร้องประชาชนเช่นเดียวกันว่า ใครก็ตามที่พร้อมจะพลีเลือดเนื้อและชีวิตของตนเองในหนทางนี้ เขาจงร่วมเดินทางไปกับท่าน สู่แผ่นดินกัรบะลาอ์

مَنْ کانَ باذِلا فینا مُهْجَتَهُ،... فَلْیَرْحَلْ مَعَنا

 

“ผู้ใดก็ตามที่พร้อมจะพลีอุทิศเลือดเนื้อของตนในหนทางของเรา...ดังนั้น เขาจงออกเดินทางไปพร้อมกับเราเถิด...” (3)

      บรรดาสาวกของอิมามฮุเซน (อ.) ก็เช่นกัน แต่ละคนได้พลีเลือดเนื้อและชีวิตของตนเองเพื่ออิมาม (ผู้นำ) ของพวกเขา เราสามารถพบเห็นภาพและแบบอย่างอันสวยงามของบรรดาผู้เสียสละและพลีอุทิศตนเหล่านั้นได้ในตลอดช่วงเวลาของเหตุการณ์แห่งอาชูรอ.


เชิงอรรถ

 [1] ตัฟซีร มัจญ์มะอุล บะยาน, เล่ม 9, หน้า 260.

 [2] แหล่งอ้างอิงเดิม.

 [3] บิฮารุล อันวาร, เล่ม 44, หน้า 366.


บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม