foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

บทเรียนจากท่านอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ.) : ความจำของมนุษย์ลดลงเมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา

อิมามศอดิก (อ.) : ไม่ถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่ตายตัวแต่อย่างใด มิใช่ว่าผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยชราจะต้องมีความจำเสื่อมหรือความเฉลียวฉลาดจะลดน้อยถอยลงเสมอไปทุกคน ผู้ที่ประสบกับสภาพความจำเสื่อมนับตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มวัยสาวก็มีเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากความกระปรี้กระเปร่าและความร่าเริงสดใสในวัยหนุ่มสาว จึงบดบังสภาพความจำเสื่อมนั้นมิให้ปรากฏชัดเจนออกมา

คำสนทนาระหว่างท่านอิมามญะอ์ฟัร ซอดิก (อ.) กับลูกศิษย์ของท่าน : วิทยปัญญาและเหตุผลที่ความจำของมนุษย์จึงลดลงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชรา ?

        ญาบิรฺ : เหตุใดความจำและความเฉลียวฉลาดของมนุษย์จึงลดน้อยถอยลงเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยชรา ?

        อิมามศอดิก (อ.) : ไม่ถือว่าเป็นกฎเกณฑ์ที่ตายตัวแต่อย่างใด มิใช่ว่าผู้ที่เริ่มเข้าสู่วัยชราจะต้องมีความจำเสื่อมหรือความเฉลียวฉลาดจะลดน้อยถอยลงเสมอไปทุกคน ผู้ที่ประสบกับสภาพความจำเสื่อมนับตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มวัยสาวก็มีเช่นเดียวกัน แต่เนื่องจากความกระปรี้กระเปร่าและความร่าเริงสดใสในวัยหนุ่มสาว จึงบดบังสภาพความจำเสื่อมนั้นมิให้ปรากฏชัดเจนออกมา แต่เมื่อวัยนี้ได้ผ่านพ้นไปย่างเข้าสู่วัยชรา สภาพความจำเสื่อมนั้นจะค่อย ๆ สำแดงออกมาชัดเจนขึ้น

        สำหรับกรณีของผู้ที่มีความเฉลียวฉลาดและสำรวมตนจากความชั่วนับตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่มวัยสาวนั้น เมื่อย่างเข้าสู่วัยชรา ความเฉลียวฉลาดและสภาพดังกล่าวจะยังคงดำเนินต่อไป เพียงแต่กำลังวังชาและพลานามัยจะลดน้อยถอยลงไป ไม่เหมือนกับขณะที่อยู่ในวัยหนุ่มวัยสาวเท่านั้น

        ในหมู่ปัญญาชนนั้น เมื่อเข้าสู่วัยชรา ความคิดความอ่าน ความรู้ และความฉลาดหลักแหลมจะยิ่งเพิ่มพูนมากกว่าในขณะที่อยู่ในวัยหนุ่มวัยสาว ทั้งนี้เนื่องจากยิ่งอายุเพิ่มขึ้นมากเท่าใด ขุมคลังที่เก็บรวบรวมความรู้ของพวกเขาจะยิ่งมากขึ้นตามไปด้วย และความคิดความอ่านของพวกเขาจะยิ่งมีพลังมากยิ่งขึ้นด้วย นอกจากนี้พวกเขาจะตัดสินใจในปัญหาต่าง ๆ ด้วยความสุขุมคัมภีรภาพปราศจากอารมณ์และความรู้สึกส่วนตัวมากขึ้น และมีความสำนึกที่จะคล้อยตามสัจธรรมความจริงมากยิ่งขึ้นด้วย

        ญาบิรฺ : ฉันได้ยินมาว่าความแก่ชราจะนำมาซึ่งความหลงลืม นี่ถือเป็นกฎเกณฑ์ตายตัวหรือไม่ ?

        อิมามศอดิก (อ.) : หาได้เป็นเช่นนั้นไม่

        ความหลงลืมเกิดจากพลังสมองที่มิได้ถูกนำไปใช้งานอย่างสม่ำเสมอต่างหากเล่า พลังสมองก็เปรียบเสมือนพลังต่าง ๆ ในตัวมนุษย์นั่นเอง ถ้าปรารถนาที่จะให้มันยังคงดำรงอยู่ต่อไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องหมั่นใช้งานอย่างสม่ำเสมอ

       ถึงแม้ว่าจะอยู่ในวัยหนุ่มวัยสาวก็ตาม ถ้าไม่พยายามลับสมองอย่างสม่ำเสมอ ความหลงลืมย่อมจะมาเยือนพวกเขาด้วยเช่นกัน

       ความหลงลืมที่ปรากฏในผู้สูงวัยบางคน เกิดจากสุขภาพพลานามัยที่อ่อนแอจนทำให้ความสนใจใคร่รู้ในสภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิตของพวกเขาลดน้อยถอยลงไปด้วย แม้กระทั่งความสนใจที่มีต่อลูกหลานก็ลดน้อยถอยลงไปด้วย ยิ่งสุขภาพพลานามัยอ่อนแอมากเท่าไร ความสนใจต่อสภาพแวดล้อมในการดำเนินชีวิตก็จะยิ่งลดน้อยถอยลงมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ไม่มีความได้ใคร่อยากที่จะออกนอกบ้านหรือไม่อยากจะเดินทางไปไหนมาไหนไปด้วย ไม่สนใจหรือต้องการรับรู้แม้กระทั่งความเป็นไปและเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างปัจจุบันทันด่วน

       ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้สมองและความจำของพวกเขาไม่พัฒนา และสภาวะชะงักงันเช่นนี้เองที่ทำให้ ประการแรก คือ ไม่มีสิ่งใหม่ ๆ เพิ่มพูนหรือบรรจุเข้ามาในคลังสมองของพวกเขา ประการที่สอง คลังสมองที่เคยบรรจุความจำอยู่ก่อนหน้านั้นทั้งหมดหรือบางส่วนจะค่อย ๆ ลบเลือนหายไปในที่สุด

       ดังนั้นเมื่อประชาชนได้พบเห็นผู้สูงวัยที่ความจำเลอะเลือนเพียงแค่สองสามคน ก็ทำให้พวกเขาสรุปว่าเป็นกฎเกณฑ์ทั่วไป และพากันกล่าวว่าเมื่อมนุษย์ย่างเข้าสู่วัยชรา สมองที่เลอะเลือนก็จะเข้ามาเยือนเขาด้วย แต่สำหรับผู้สูงวัยที่ไม่ยอมปล่อยให้กำลังวังชาและพลานามัยมามีอิทธิพลต่อพลังทางสมองและความจำของพวกเขาแล้ว ในช่วงที่เข้าสู่วัยชรา พลังสมองและความจำของพวกเขาจะยิ่งเพิ่มพูนยิ่งกว่าช่วงที่อยู่ในวัยหนุ่มวัยสาวด้วยซ้ำไป ทั้งนี้เนื่องจากพวกเขาหมั่นลับสมองและความจำตลอดช่วงอายุขัยอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง และเมื่อเข้าสู่บั้นปลายชีวิต ความจดจำต่าง ๆ ก็จะยิ่งเพิ่มพูนถึงจุดสูงสุดด้วย


แหล่งอ้างอิง :

(1) ซินเดกีนอเมะฮ์ 14 มะอฺซูม, อายะตุลลอฮ์ ซัยยิด มุฮัมมัดตะกีย์ มุดัรริซ, หน้า 602

(2) อุซุลกาฟี, ฉบับแปลมุฮัมมัด บากิร, เล่มที่ 1, หน้า 211-217

(3) อิฮ์ติยาจญ์ เฏาะบัรซีย์, เล่มที่ 2, หน้า 75


บทความ : เชค ดร.มุฮัมมัดชะรีฟ เกตุสมบูรณ์