“เป็นระยะเวลา 70 ที่ชาวไซออนิสต์ได้เปลี่ยนประเทศปาเลสไตน์ให้กลายเป็นคุกของชาวปาเลสไตน์ด้วยกับแผนการต่างๆ ที่หลากหลายของการยึดครองดินแดน แต่วันนี้การยืนหยัดต้านทาน (มุกอวะมะฮ์) ของประชาชนชาวปาเลสไตน์กำลังจะทำให้พวกเขาพบกับความหายนะ และอีกไม่นานนักที่กองกำลังต้านทาน (มุกอวะมะฮ์) จะทำลายพวกเขาลง”
วันที่ 15 พฤษภาคมในประวัติศาสตร์ของชาวปาเลสไตน์เป็นที่รู้จักกันในชื่อ "เยามุนนักบะฮ์" หรือ "Nakbah Day" วันนี้ในปี 1948 เป็นวันที่ไซออนิสต์ได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเถื่อน "อิสราเอล" อย่างเป็นทางการ การเกิดขึ้นของต่อมมะเร็งนี้ไม่ใช่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญ แต่ได้มีการวางแผนสำหรับมันก่อนเหตุการณ์นี้เป็นระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษ เงื่อนไขและพื้นฐานต่างๆ ที่นำไปสู่การเกิดเหตุการณ์ครั้งนี้ได้ถูกเตรียมการโดยบรรดานักล่าอาณานิคมในคริสต์ศตวรรษที่ 19 และ 20
ประวัติความเป็นมาของการจัดตั้งระบอบเถื่อน "อิสราเอล"
การกลับคืนสู่ดินแดนแห่งพันธะสัญญาในแนวคิดของชาวยิว
แนวคิดการกลับคืนสู่ดินแดนแห่งพันธะสัญญาของชาวยิวนั้นถือเป็นแนวคิดทางศาสนาอย่างหนึ่ง ตามคำสอนของคัมภีร์โตราห์ที่มีอยู่ ณ ยาวยิวนั้น วันหึ่งชาวยิวจะกลับมายังดินแดนศักดิ์สิทธิ์อีกครั้งซึ่งนั่นก็คือปาเลสไตน์ และพวกเขาจะจัดตั้งรัฐบาลขึ้นที่นั่น แต่การดำเนินการนี้พวกเขาจะต้องไม่กระทำด้วยตัวพวกเขาเอง ทว่าประเด็นนี้จะถูกกระทำภายหลังจากการมาของพระเมสสิยาห์ (หรือผู้ช่วยให้รอดตามความเชื่อในกลุ่มศาสนาอับราฮัม ได้แก่ศาสนายูดาห์ ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลาม) และก่อนการมาของพระเมสสิยาห์นั้นชาวยิวไม่มีสิทธิ์ที่จะกลับไปยังดินแดนศักดิ์สิทธิ์และก่อตั้งรัฐบาลขึ้นที่นั่น และการดำเนินการเพื่อการก่อตั้งรัฐบาลก่อนการปรากฏตัวขึ้นของพระเมสสิยาห์นั้นถือเป็นความบาป
ขบวนการไซออนิสต์สากลและเบี่ยงเบนในคำสอนของชาวยิว
แม้ว่าตามคำสอนของชาวยิวการก่อตั้งรัฐบาลก่อนการมาของพระเมสสิยาห์จะเป็นสิ่งต้องห้าม แต่ทว่านับจากช่วงเวลาที่ขบวนการไซออนิสต์สากลได้เกิดขึ้น หนึ่งในคำสอนของขบวนการนี้คือการก่อตั้งประเทศและรัฐยิวสำหรับชาวยิว แนวคิดนี้นับจากศตวรรษที่ 15 และ 16 ได้เกิดขึ้นในหมู่ชาวยิวหัวใหม่บางคนที่มีการเปลี่ยนแปลงหลังจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา หรือ เรอแนซ็องส์ แต่มาถึงต้นศตวรรษที่ยี่สิบแนวคิดนี้ได้ขยายตัวครอบคลุมอย่างกว้างขวาง ในช่วงปลายทศวรรษศตวรรษที่ 19 “ธีโอดอร์ เฮิร์ซล์” (Theodore Herzl) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งขบวนการไซออนิสต์สากลได้ทำให้แนวคิดนี้ฝังรากหยั่งลึกในชุมชนต่างๆ ของชาวยิวในยุโรปตะวันออกและเขาได้พยายามทำสองสิ่ง
ประการแรก โดยการสร้างความสัมพันธ์กับบรรดานายทุนใหญ่ชาวยิวที่อยู่ในยุโรป อย่างเช่น ตระกูลรอธไชลด์ เขาได้พยายามทำให้กลุ่มนายทุนเหล่านั้นเห็นด้วยและร่วมทางกับตน เพื่อที่จะใช้ประโยชน์จากเงินทุน ความน่าเชื่อถือและอิทธิพลของพวกเขาในหนทางของการทำให้แนวคิดที่เบี่ยงเบนนี้ของตนเป็นจริงขึ้นมา ประการที่สอง เขาได้พยายามที่จะเชื่อมสัมพันธ์กับบรรดามหาอำนาจของยุคนั้นเพื่อโน้มน้าวมหาอำนาจเหล่านั้นเห็นชอบกับพวกเขาที่จะจัดตั้งรัฐยิวขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์ เพื่อการนี้เขาได้เดินไปหาสุลต่านอับดุลฮามิด กษัตริย์องค์สุดท้ายของจักรวรรดิออตโตมาน แต่กษัตริย์ออตโตมันได้ทำให้เขากลับไปด้วยความโกรธ ด้วยเหตุนี้เอง “Theodore Herzl” จึงเดินทางไปพบบรรดามหาอำนาจแห่งยุโรป ด้วยวิธีนี้เขาสามารถโน้มน้าวการเห็นชอบด้วยของสหราชอาณาจักรโดยอาศัยอิทธิพลของตระกูลรอทไชล์ (Rothschild) ซึ่งนำไปสู่การออกคำแถลงการณ์บัลโฟร์ (Balfour Declaration) ในปี ค.ศ.1917 ซึ่งในคำแถลงการณ์ดังกล่าวสหราชอาณาจักรได้ให้คำมั่นว่าจะจัดตั้งรัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์
การเคลื่อนไหวของนักอาณานิคมอังกฤษในปาเลสไตน์
หลังจากคำมั่นสัญญาที่ให้กับชาวไซออนิสต์ รัฐบาลอังกฤษได้เริ่มการดำเนินการต่างๆ ของตนเพื่อจัดเตรียมขั้นตอนพื้นฐานสำหรับการจัดตั้งรัฐยิว ในช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในปี 1919 แม้ว่าพวกเขาจะลงนามข้อตกลง Sykes-Picot กับฝรั่งเศส เพื่อแบ่งสรรเอเชียตะวันตกระหว่างกัน แต่พวกเขาก็ไม่ได้หยุดอยู่แค่ข้อตกลงนี้ และในการประชุมแวร์ซาย (การประชุมสันติภาพปารีส ค.ศ. 1919) พวกเขาได้ทำให้ปาเลสไตน์เข้ามาอยู่ในอาณัติของตนโดยอาศัยอิทธิพลทีมีอยู่ในประชาคมระหว่างประเทศในช่วงเวลานั้น
บนพื้นฐานของการอนุญาตที่ประชาคมระหว่างประเทศได้มอบให้แก่อังกฤษนั้น ประเทศนี้จำเป็นต้องจัดเตรียมเงื่อนไขต่างๆ ในการจัดตั้งรัฐอิสระให้แก่ชาวปาเลสไตน์ขึ้นภายในระยะเวลา 10 ปี เพื่อว่าภายหลังจากระยะเวลา 10 ปีนี้ชาวปาเลสไตน์จะได้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่เป็นอิสระในประเทศปาเลสไตน์ แต่รัฐบาลอังกฤษด้วยกับแผนการล่าอาณานิคมที่คำนวณไว้แล้วนั้นได้เดินไปตามเส้นทางที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิงกับสิ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศได้กำหนดไว้ โดยการวางตัวบรรดาผู้ปกครองทหารที่เป็นชาวยิวไว้ในปาเลสไตน์ และการจัดเตรียมปัจจัยต่างๆ ในการอพยพชาวยิวมายังปาเลสไตน์ และพวกเขาจัดเตรียมเงื่อนไขต่างๆ สำหรับการจัดตั้งรัฐยิว
ชุมชนชาวยิวในช่วงระยะเวลาของการอยู่ในอาณัติของอังกฤษซึ่งกินเวลาตั้งแต่ปี1922 ถึง 1948 ได้เพิ่มจำนวนขึ้นหลายสิบเท่า โดยที่ในปี 1945 ประชากรของปาเลสไตน์ประมาณ 30 % เป็นชาวยิว แต่อย่างไรก็ตามในมติการแบ่งซึ่งได้รับการอนุมัติในสหประชาชาติ โดยการสนับสนุนของรัฐบาลอังกฤษในปี 1947 ที่เกือบร้อยละ 55 ของดินแดนปาเลสไตน์ได้ถูกมอบให้แก่ชาวยิว แต่ชาวไซออนิสต์ก็ยังไม่พอใจเพียงแค่นั้น และในวันที่ 15 พฤษภาคม 1948 พวกเขาได้ประกาศอย่างเป็นทางการในการจัดตั้งรัฐยิวขึ้นในอาณาเขต 78% ของดินแดนปาเลสไตน์ประวัติศาสตร์
เที่ยงคืนของวันที่ 14 พฤษภาคม 1984 บรรดาทหารอังกฤษได้ละทิ้งออกจากปาเลสไตน์ด้วยเรือต่างๆ ของตนโดยไม่มีอาวุธและอุปกรณ์ใด ๆ ติดตัวไป และปัจจัยอำนวยประโยชน์ทั้งหมดของตนที่มีอยู่รวมทั้งอาวุธ สำนักงานต่างๆ และเอกสารทางรัฐบาลของอังกฤษในอาณัติของตนนั้นได้ถูกมอบให้แก่ชาวยิว ในคืนเดียวกันนั้น เดวิด เบนกูเรียนซึ่งเป็นหัวหน้าองค์การยิวโลกและหน่วยงานชาวยิวได้ประกาศจัดตั้งรัฐบาลเถื่อน "อิสราเอล" ขึ้นในดินแดนปาเลสไตน์โดยมีบุคคลสำคัญของชาวยิว 37 คนเข้าร่วมซึ่งถูกเรียกว่า “สภาประชาชน” และเขากล่าวว่า รัฐบาลนี้นับจากวันที่ 15 พฤษภาคม จะเป็นประเทศหนึ่งอย่างเป็นทางการในระบบระหว่างประเทศ
ผลพวงต่างๆ ของการจัดตั้งรัฐยิวเถื่อนในปาเลสไตน์
ผลจากการประกาศจัดตั้งระบอบไซออนิสต์ กลุ่มนักลอบสังหารต่างๆ ของชาวยิว (Haganah, Stern, Palmach) ซึ่งได้รับการฝึกอบรมมานาน 26 ปีโดยอังกฤษได้ดำเนินการทำลายเมืองและหมู่บ้านต่างๆ ในปาเลสไตน์และได้ทำการเข่นฆ่าและปล้นสะดมชาวปาเลสไตน์ ตามสถิติที่มีอยู่นั้นชาวปาเลสไตน์ 780,000 คนจากจำนวนทั้งหมด 1,400,000 คนที่มีอยู่ในปาเลสไตน์ต้องอพยพพลัดถิ่นและสูญเสียบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของตน
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการถูกกดขี่ของชาวปาเลสไตน์ซึ่งด้วยกับการผ่านไปของเวลาได้ลุ่มลึกมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ถ้าเราต้องการนับถึงเหตุการณ์ต่างๆ ที่สำคัญที่สุดของการยึดครองนี้ สามารถชี้ถึงหัวข้อต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้ :
- การทำลายล้างเมืองและหมู่บ้านของชาวปาเลสไตน์อย่างสมบูรณ์กว่า 531 แห่งและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในเมืองเหล่านี้
- การฆ่าชาวปาเลสไตน์ 15,000 คนในระหว่างการยึดครอง
- มีการสังหารหมู่ชาวปาเลสไตน์เกิดขึ้นมากกว่า 50 ครั้งในปี ค.ศ.1984
- การยึดครองร้อยละ 78 ของแผ่นดินปาเลสไตน์ในประวัติศาสตร์
- การอพยพโดยถูกบังคับของชาวปาเลสไตน์จำนวน 780,000 คน (ยังมีการกล่าวถึงตัวเลขการอพยพนี้ไว้สูงถึง 980,000 คน)
- จับกุมชาวปาเลสไตน์ 150,000 คนในดินแดนที่ถูกยึดครองในสภาพที่ยากลำบากซึ่งในปัจจุบันถูกรู้จักในนาม "อาหรับ 48" (The Arabs of 48)
พื้นที่ที่ถูกยึดครองในปี 1948
พื้นที่ที่ได้ถูกยึดครองจากปาเลสไตน์คือ 78 เปอร์เซ็นต์ของดินแดนซึ่งถูกเรียกว่า ปาเลสไตน์ประวัติศาสตร์ (Historic Palestine) และมีเพียงส่วนหนึ่งของฝั่งตะวันตก (เวสต์แบงก์) และฉนวนกาซาเท่านั้นที่อยู่ภายใต้ชื่อปาเลสไตน์ที่ไม่ได้ถูกยึดครอง ดินแดนแห่งนี้หลังจากสงครามหกวันในปี 1967 ก็ได้ถูกยึดครองโดยชาวไซออนิสต์ด้วยเช่นกัน
นอกจากฝั่งตะวันตก (เวสต์แบงก์) และฉนวนกาซาแล้ว ส่วนหนึ่งของเมืองเยรูซาเล็ม (อัลกุดส์) ก็ได้ถูกครอบครองโดยไซออนิสต์เช่นกัน ในปี 1948 ไซออนิสต์ได้แบ่งเมืองเยรูซาเล็มออกเป็นสองส่วน คือ เยรูซาเล็มตะวันตกและเยรูซาเล็มตะวันออก และพวกเขาได้ยึดครองส่วนตะวันตก เยรูซาเล็มตะวันออกซึ่งเป็นที่ตั้งของมัสยิดอัล-อักซอก็ได้ถูกยึดครองก็ถูกครอบครองโดยไซออนิสต์ในปี 1967 และจนถึงปัจจุบันนี้ความขัดแย้งและการปะทะกันของชาวปาเลสไตน์กับชาวไซออนิสต์ในเมืองนี้ก็ยังคงดำเนินอยู่
ชาวไซออนิสต์จะเฉลิมฉลองวันที่ 14 พฤษภาคมของทุกปีในนาม "วันแห่งเอกราช" แต่ชาวปาเลสไตน์พยายามที่จะรำลึกถึงโศกนาฏกรรมและความทุกข์ยาต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับชาวปาเลสไตน์ โดยให้ชื่อวันนี้ว่า "Nakbah Day" หรือวันแห่งความอัปยศ เพื่อแสดงให้ชาวโลกได้เห็นและรับรู้ถึงอาชญากรรมต่างๆ ของระบอบไซออนิสต์
บทสรุป
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากวันที่ 14 พฤษภาคม 1948 ในประวัติศาสตร์ปาเลสไตน์ได้กลายเป็นจุดกำเนิดของการอพยพของชาวปาเลสไตน์เกือบ 1 ล้านคน บรรดาผู้อพยพเหล่านี้ได้ไปอาศัยอยู่ในซีเรีย อียิปต์ เลบานอนและจอร์แดน ในค่ายอพยพต่างๆ ที่ยังมีอยู่ในขณะนี้และไม่มีสภาพที่เหมาะสมสำหรับการใช้ชีวิตในมัน และบางส่วนก็อาศัยอยู่ในค่ายต่างๆ ภายในปาเลสไตน์ในเวสแบ็งก์และฉนวนกาซา
วันนี้หลังจาก 70 ปีของการสถาปนาระบอบการปกครองไซออนิสต์ สิ่งที่สามารถรับรู้ได้ก็คือว่าชาวไซออนิสต์ไม่เคยหยุดยั้งจากการยึดครอง และในตลอดช่วงระยะเวลา 70 ปีที่ผ่านมาด้วยความช่วยเหลือของบรรดานักล่าอาณานิคมนั้นพวกเขายังคงดำเนินการยึดครองปาเลสไตน์อย่างต่อเนื่องด้วยแผนการและการใช้กลอุบายต่างๆ และได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าไม่สามารถที่จะพูดภาษา (เจรจา) ใดๆ กับพวกเขาได้นอกจากภาษาของการยืนหยัดต่อต้าน (มุกอวะมะฮ์)
ที่มา : สำนักข่าวตัสนีม
ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม
In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم
Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم
ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You
WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์
ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center