foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

ท่านหญิงซัยนับ อัลกุบรอ (อ.) แบบอย่างการยืนหยัดและการอดทน

          ท่านหญิงซัยนับ อัลกุบรอ (อ.) อะกีละฮ์ บนีฮาชิม (สตรีผู้สูงศักดิ์แห่งบนีฮาชิม) ผู้เป็นแบบอย่างของความอดทนและการยืนหยัด ท่านได้รักษาความสัมพันธ์ที่มีต่อพระผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นบ่อเกิดแห่งความสงบมั่นไว้ได้อย่างลึกซึ้ง โดยท่านสามารถอดทนอดกลั้นต่อความทุกข์ยากทั้งมวลในตลอดชีวิตของตน ตัวอย่างเช่น :

          แม้แต่ในยามค่ำคืนของการเป็นชะฮีดและการจำพรากของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ลูกๆ และพี่น้องผู้เป็นที่รักของตน ซึ่งเป็นค่ำคืนที่วิกฤตและแสนเจ็บปวดที่สุดในชีวิตนั้น ท่านหญิงซัยนับ (อ.) ก็ไม่ละทิ้งจากการนมาซตะฮัจญุดและการทำอิบาดะฮ์ในยามดึกสะงัด มีรายงานจากฟาฏิมะฮ์ บุตรีของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ซึ่งกล่าวว่า :

 وَ اَمَّا عَمَّتِی زِینَب فَاِنَّهَا لَم تَزَل قَائِمَةٌ فِی تِلکَ اللَّیلَة اَی عَاشِرَة مِنَ المُحَرَّمِ فِی مِحرابِها تَستغیث اِلَی رَبِّهَا

“และท่านหญิงซัยนับ (อ.) อาของฉัน ในค่ำคืนนั้น หมายถึงคำคืนของวันที่สิบมุฮัรร็อม นางก็ยังคงยืนอยู่ในมิห์รอบ (สถานที่ทำอิบาดะฮ์) ของนางเช่นเคย เพื่อวิงวอนขอความช่วยเหลือต่อพระผู้อภิบาลของนาง” (1)

         ในวันอาชูรออ์ ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ผู้ซึ่งเป็นมะอ์ซูม (ผู้บริสุทธิ์จากบาป) และเป็นสื่อแห่งพระมหากรุณาธิคุณของพระผู้เป็นเจ้า ในขณะอำลาต่อท่านหญิงซัยนับ (อ.) ผู้เป็นน้องสาวนั้น ท่านกล่าวคำพูดประโยคหนึ่งซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสถานะอันสูงส่งในการยอมตนเป็นบ่าวและการอิบาดะฮ์ (เคารพภักดี) พระผู้เป็นเจ้าของท่านหญิงซัยนับ (อ.) โดยที่ท่านกล่าวว่า :

 يا اُخْتاه! لا تَنْسِني في نافلةِ اللَّيْل

“โอ้น้องสาวของพี่! อย่าลืมพี่ในนมาซนาฟิละฮ์ในยามค่ำคืนของเธอ” [2]

         ท่านอิมามซัจญาด (อ.) ได้กล่าวเกี่ยวกับชีวิตของท่านหญิงซัยนับ (อ.) ว่า :

 اِنَّ عَمَّتي زَيْنَب کانَتْ تُؤَدّي صَلَواتِها مِنْ قِيام، اَلفَرائِضَ وَ النَّوافِلَ، عِنْدَ مَسيرِنا مِنَ الکُوفَةِ اِلَي الشّامِ، وَ في بَعْضِ المَنازِل تُصَلّي مِنْ جُلُوسٍ… لِشِدَّةِ الجُوعِ وَ الضَّعْفِ مُنْذُ ثَلاثِ لَيالٍ لاَنَّها کانَتْ تَقْسِمُ ما يُصيبُها مِنَ الطَّعامِ عَلَي الاَطْفالِ، لِاَنَّ القَوْمَ کانُوا يَدْفَعُونَ لِکُلِّ واحِدٍ مِنّا رغيفاً واحِداً مِنَ الخُبْزِ فِي اليَوْمِ وَ اللَّيلَة

“แท้จริงซัยนับ อาของฉันได้ยืนนมาซทั้งที่เป็นฟัรฎู (ภาคบังคับ) และนาฟิละฮ์ (อาสา) ในตลอดการเดินทางของเราจากเมืองกูฟะฮ์จนถึงเมืองชาม และในบางสถานที่พักท่านจะนั่งนมาซ… เนื่องจากความหิวโหยและความอ่อนแอที่รุนแรง เป็นเวลาสามคืนที่นางได้แบ่งสรรอาหารที่เป็นส่วนของนางให้กับเด็กๆ เนื่องจากในวันและคืนหนึ่ง พวกเขาได้ให้ขนมปังแก่พวกเราแต่ละคนเพียงชิ้นเดียว” [3]

         เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างส่วนหนึ่งจากการอิบาดะฮ์ (การนมัสการ) และการเชื่อมโยงอยู่กับพระผู้เป็นเจ้าของท่านหญิงซัยนับ (อ.) ซึ่งสิ่งนี้ได้ให้บทเรียนแก่เราว่า หากเราประสงค์จะรักษาความสงบมั่นของเราไว้ได้ในยามที่ต้องเผชิญกับกระแสที่โหมกระหน่ำของความทุกข์ยากและการทดสอบต่าง ๆ ที่หนักหน่วงในชีวิตนั้น แนวทางที่ดีที่สุดก็คือการรักษาความสัมพันธ์และการเชื่อมโยงอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า ผู้เป็นแหล่งที่มาของความสงบมั่น


เชิงอรรถ :

[1] อะวาลิมุลอุลูม, อับดุลลอฮ์ บินนูรุลลอฮ์ บะห์รอนี อิศฟะฮานี, เล่มที่ 11, หน้าที่ 954

[2] หนังสืออ้างอิงเล่มเดิม

[3] หนังสืออ้างอิงเล่มเดิม


บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม