foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

จะเปลี่ยนความชั่วเป็นความดีได้อย่างไร?

      การเปลี่ยนความชั่วให้เป็นความดีนั้นเป็นสิ่งที่ได้ถูกกล่าวถึงอย่างชัดเจนในคัมภีร์อัลกุรอานและคำสอนของอิสลาม และในแหล่งอ้างอิงต่าง ๆ ทางศาสนาได้ให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ แต่สิ่งที่เป็นคำถามก็คือว่า การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?

      เนื้อหาต่อไปนี้คือคำตอบของสถาบันศึกษาและวิจัยของ “เฮาซะฮ์ อิลมียะฮ์” สำหรับคำถามข้อนี้

      คำถาม : พระผู้เป็นเจ้าจะทรงเปลี่ยนความชั่วต่าง ๆ ของบุคคลกลุ่มหนึ่งให้เป็นความดีอย่างไร? และจะครอบคลุมถึงความชั่วและบาปใหญ่ (กะบีเราะฮ์) ทั้งหลายด้วยหรือไม่?

      คำตอบ : พระผู้เป็นเจ้าทรงถือว่าบาปที่ใหญ่ที่สุดนั้น คือการตั้งภาคี (ชิรก์) ต่อพระองค์ และทรงแนะนำว่าสิ่งนี้เป็นบาปที่จะไม่ได้รับการอภัยโทษให้ (1) แม้ว่าพระองค์จะทรงละวางจากบาปอื่น ๆ แต่พระองค์จะไม่ทรงละวางจากบาปนี้ (การตั้งภาคีต่อพระองค์) และพระองค์ทรงกำหนดห้ามการเข้าสู่สวรรค์สำหรับผู้ที่ตั้งภาคี (มุชริก) (2) แต่ความสิ้นหวังจากความเมตตาและการอภัยโทษของพระผู้เป็นเจ้าก็เป็นอีกบาปหนึ่งที่จะไม่ได้รับการอภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้า และมีเพียงบรรดาผู้ปฏิเสธศรัทธา (กาฟิร) เท่านั้นที่จะเป็นผู้สิ้นหวังจากความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า (3)

      ด้วยเหตุนี้เอง พระผู้เป็นเจ้าจึงทรงเรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ทุกคนไปสู่การสำนึกผิด (เตาบะฮ์) และการหวนกลับสู่พระองค์ และพระองค์ได้ทรงให้คำมั่นสัญญาแก่พวกเขาว่า พระองค์จะทรงอภัยโทษบาปทั้งมวล (4) ในโองการหนึ่งพระองค์ทรงตรัสว่า หากปวงบ่าวสำนึกผิด กลับเนื้อกลับตัวและกระทำความดี (อะมั้ลซอและห์) ทั้งหลาย พระองค์จะทรงเปลี่ยนความชั่วและบาปทั้งหลายของพวกเขาให้เป็นความดี และขั้นตอนนี้สูงส่งกว่าขั้นตอนของการให้อภัย

      ดังจะเห็นได้จากโองการที่พระองค์ทรงตรัสว่า :

‎ إِلاَّ مَنْ تابَ وَ آمَنَ وَ عَمِلَ صالِحاً فَأُوْلئِكَ يُبَدِّلُ اللَّهُ سَيِّئاتِهِمْ حَسَناتٍ

“เว้นแต่ผู้ที่กลับเนื้อกลับตัวและศรัทธา และกระทำความดี พวกเขาเหล่านั้นอัลลอฮ์จะทรงเปลี่ยนความชั่วทั้งหลายของพวกเขาให้เป็นความดี...” (5)

      พระผู้เป็นเจ้าทรงกล่าวถึงคำว่า “ซัยยิอาต” (ความชั่วทั้งหลาย) ในรูปที่ครอบคลุม (มุฏลัก) และโดยปราศจากเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจะครอบคลุมถึงความชั่วและบาปทั้งมวล แม้แต่การตั้งภาคี (ชิรก์) ที่เป็นบาปที่ใหญ่และร้ายแรงที่สุด

* เงื่อนไขต่าง ๆ ของการเปลี่ยนความชั่วให้เป็นความดี

      แต่การเปลี่ยนความชั่วทั้งหลายให้เป็นความดี ดั่งที่รับรู้ได้จากโองการอัลกุรอานที่ถูกกล่าวถึงข้างต้นนั้นมีเงื่อนไขต่าง ๆ ที่บุคคลจำเป็นจะต้องปฏิบัติมัน มิเช่นนั้นแล้วมันก็จะไม่เป็นเช่นนี้

      เงื่อนไขประการแรกก็คือว่า บุคคลที่ทำบาปจะต้องทำการสารภาพผิดและกลับเนื้อกลับตัว (เตาบะฮ์) อย่างแท้จริง และจะต้องตัดสินใจอย่างแน่วแน่ในการละทิ้งความชั่วทั้งหลาย ดังเช่นที่ท่านอิมามอะลี (อ.) ได้กล่าวในเรื่องนี้ว่า : การขออภัยโทษและการสารภาพผิดนั้นมี 6 เงื่อนไขคือ :

  1. การสำนึกเสียใจต่อสิ่งที่ผ่านมา
  2. การตัดสินใจอย่างแน่วแน่ที่จะไม่หวนกลับไปกระทำบาปอีก
  3. การชดเชยและการส่งมอบสิทธิต่าง ๆ ให้แก่ประชาชน
  4. การปฏิบัติหน้าที่บังคับ (ฟะรีเฎาะฮ์) ทั้งหมดที่ได้ละทิ้งไป
  5. การทำให้เนื้อหนังที่เจริญเติบโตขึ้นมากับสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) นั้นสลายไปด้วยกับความเศร้าโศกเสียใจอย่างมากมาย
  6. การทำให้ร่างกายได้ลิ้มรสของความทุกข์ยากของการเชื่อฟัง (ฏออัต) พระผู้เป็นเจ้า เช่นเดียวกับที่ได้ลิ้มรสความหวานชื่นของการละเมิดฝ่าฝืน (มะฮ์ซิยะฮ์) (6)

      เงื่อนไขประการที่สอง คืออีหม่าน (ความศรัทธา) ที่จะเป็นสื่อทำให้จิตใจ (นัฟซ์) สะอาดบริสุทธิ์จากความแปดเปื้อนของการตั้งภาคี (ชิรก์) ต่อพระผู้เป็นเจ้า

      เงื่อนไขประการที่สาม คือการประกอบคุณงามความดี (อะมั้ลซอและห์) หากใครก็ตามที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขเหล่านี้ พระผู้เป็นเจ้าก็ทรงสัญญาว่า พระองค์จะทรงปกปิดความผิดบาปทั้งหลายของเขา ดั่งที่ท่านอิมามซฮดิก (อ.) ได้กล่าวว่า “พระองค์จะทรงทำให้ความผิดบาปต่าง ๆ ลบเลือนไปจากความทรงจำของบรรดาทวยเทพ (มะลาอิกะฮ์) ที่ทำหน้าที่จดบันทึกความผิดบาปต่าง ๆ ของเขา และพระองค์จะทรงดลไปยังอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายของเขา และส่วนต่าง ๆ ของแผ่นดิน ให้ปกปิดความผิดบาปของเขา โดยที่ในวันที่เขาจะไปพบกับพระผู้อภิบาลของเขานั้น จะไม่มีสักขีพยานใดที่จะเป็นสักขีพยานในความผิดบาปใดต่อเขา" (7)

      ดังนั้นเมื่อไม่มีร่องรอยใด ๆ ของความผิดบาปปรากฏอยู่ในบัญชีแห่งอะมั้ล (การกระทำ) ของเขา ในสภาพที่เขาได้กระทำความดี (อะมั้ลซอและห์) อย่างต่อเนื่อง ก็จะไม่มีสิ่งใดที่จะถูกบันทึกในบัญชีอะมั้ลของเขาอีก นอกจากความดีงาม (หะซะนะฮ์) และนี่ก็คือการเปลี่ยนความชั่วและความผิดบาปทั้งหลายให้เป็นความดี

      จำเป็นที่จะต้องรำลึกอยู่เสมอว่า การยอมรับการสารภาพผิดและการกลับเนื้อกลับตัว (เตาบะฮ์) ของพระผู้เป็นเจ้านั้น คือพระมหากรุณาธิคุณ (ลุฏฟ์) หนึ่งที่พระองค์ทรงมีต่อปวงบ่าว เพื่อที่พวกเขาจะได้ไม่สิ้นหวัง และเมื่อใดก็ตามที่พวกเขารำลึกได้ พวกเขาก็จะหวนกลับมาสู่พระองค์ และพวกเขาจะรู้ว่าความสิ้นหวังจากการอภัยโทษและความเมตตาของพระผู้เป็นเจ้านั้น ไม่คู่ควรกับปวงบ่าวผู้ศรัทธา และผู้ที่ในหัวใจของเขามีความเชื่อมั่นต่อข้อเท็จจริงอันเป็นอมตะนี้ พวกเขาจะมีความหวังต่อพระองค์ตลอดเวลา

แนะนำหนังสืออ้างอิงเพื่อการค้นคว้าเพิ่มเติม :

  1. ตัฟซีร อัลมีซาน, อัลลามะฮ์ฎอบาฎอบาอี, แปลโดย มุฮัมมัดบากิร มุซาวี, เล่มที่ 4, หน้าที่ 358 ถึง 400
  2. หนังสือชุดเดิม, เล่มที่ 15, หน้าที่ 333 ถึง 337
  3. สี่สิบฮะดีษ (ภาษาเปอร์เซีย), อิมามโคมัยนี (ร.ฮ.), หน้าที่ 271 ถึง 283, ฮะดีษที่ 17

แหล่งอ้างอิง :

(1) อัลกุรอาน บทอันนิซาอ์ โองการที่ 116

(2) อัลกุรอาน บทอัลมาอิดะฮ์ โองการที่ 72

(3) อัลกุรอาน บทยูซุฟ โองการที่ 87

(4) อัลกุรอาน บทอัซซุมัร โองการที่ 53 - 54

(5) อัลกุรอาน บทอัลฟุรกอน โองการที่ 70

(6) นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ฮิกมะฮ์ที่ 417

(7) ตัฟซีร อัลมีซาน, อัลลามะฮ์ฎอบาฎอบาอี, แปลโดย มุฮัมมัดบากิร มุซาวี, เล่มที่ 4, หน้าที่ 399


แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม