foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

ทางนำและความหลงผิด ในตัวมนุษย์

      ในตัวมนุษย์นั้นมีสองด้านที่ขัดแย้งกันและต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา ด้านทั้งสองนี้คือ ด้านของสติปัญญาและด้านของอารมณ์ใฝ่ต่ำ แต่ละด้านจะคอยชักนำมนุษย์ไปสู่ทิศทางซึ่งตรงกันข้ามกันอยู่เสมอ กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ด้านของสติปัญญา ด้านแห่งพระผู้เป็นเจ้าหรือด้านแห่งฟากฟ้า ซึ่งด้านนี้จะคอยชี้นำมนุษย์ไปสู่โลกแห่งจิตวิญญาณ ไปสู่ความสมบูรณ์ และคุณค่าต่างๆ อันสูงส่ง แต่ในทางตรงกันข้าม ด้านของความเป็นสัตว์ ด้านแห่งวัตถุ หรือด้านของอารมณ์ใฝ่ต่ำ จะคอยชักนำเขาไปสู่ความตกต่ำ และจะหยุดมนุษย์ไว้แต่ในเรื่องของการสนองตอบอารมณ์ใคร่และสัญชาตญาณแห่งความเป็นสัตว์ให้ได้มากที่สุด ซึ่งมันจะคอยยับยั้งเขาจากการพัฒนาไปสู่ความสมบูรณ์และความสูงส่งทางด้านจิตวิญญาณ

      ด้านทั้งสอง (ด้านของความเป็นมนุษย์และด้านของความเป็นสัตว์) แต่ละด้านนั้นจะสำแดงบทบาทและรูปโฉมของมันออกมาในการกระทำของมนุษย์ และผลจากการกระทำของมนุษย์นี่เองที่จะเป็นตัวกำหนดว่าเขาจะอยู่ในแถวของความเป็นสัตว์หรือแถวของความเป็นมนุษย์ ผู้ที่สนองตอบการเรียกร้องของสติปัญญา และมีชัยชนะเหนืออารมณ์ใฝ่ต่ำ หมายความว่า อารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขาอยู่ภายใต้การควบคุมของสติปัญญาของเขา พวกเขาก็จะเข้าอยู่ในด้านหนึ่งหรือฝ่ายหนึ่ง ส่วนผู้ที่ตกเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำและตัณหา พวกเขาก็จะยืนอยู่ในด้านหรือฝ่ายที่ตรงข้ามกับบุคคลกลุ่มแรก

      ท่านอิมามซอดิก (อ.) เมื่อมีผู้ถามท่านว่า “มะลาอิกะฮ์ประเสริฐที่สุด หรือลูกหลานของอาดัม?” ท่านอ้างคำพูดของท่านอมีรุลมุอ์มินีน อะลี อิบนิอะบีฏอลิบ (อ.) ซึ่งกล่าวว่า “แท้จริงอัลลอฮ์ได้ประกอบไว้ในมะลาอิกะฮ์ซึ่งสติปัญญาโดยปราศจากความใคร่ และพระองค์ได้ทรงประกอบเข้าไว้ในสัตว์เดรัจฉานทั้งหลายซึ่งความใคร่โดยปราศจากสติปัญญา และพระองค์ได้ทรงประกอบไว้ในลูกหลานของอาดัมซึ่งสิ่งทั้งสอง ดังนั้นผู้ใดก็ตามที่สติปัญญาของเขาสามารถพิชิตความใคร่ของเขาได้ ดังนั้นเขาคือผู้ที่ประเสริฐกว่ามะลาอิกะฮ์ และผู้ใดก็ตามที่ความใคร่ของเขาพิชิตสติปัญญาของเขา ดังนั้นเขาคือผู้ที่เลวร้ายยิ่งกว่าบรรดาสัตว์เดรัจฉาน” (1)

      ดังนั้นในมุมมองของท่านอมีรุลมุอ์มินีน (อ.) และท่านอิมามซอดิก (อ.) มนุษย์ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มหนึ่งยอมรับการชี้นำของสติปัญญา ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งนั้นตกเป็นทาสของอารมณ์ใฝ่ต่ำและความใคร่ต่างๆ ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์จึงถูกแบ่งออกเป็นสองขั้ว และมนุษย์ที่ยืนอยู่ในสองฝ่ายที่ตรงกันข้ามและเผชิญหน้ากัน กลุ่มหนึ่งอยู่ในฝ่ายของสัจธรรมและอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในฝ่ายของความหลงผิด

      ท่ามกลางความขัดแย้งและสิ่งที่ตรงข้ามกัน สงครามและการต่อสู้กันระหว่างฝ่ายแห่งทางนำ (ฮิดายะฮ์) กับฝ่ายของความหลงผิดจึงเกิดขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เนื่องจากมันคือคุณสมบัติเฉพาะตัวที่ว่า แสงสว่างย่อมคู่กับความมืดมน และทางนำกับความหลงผิด หรือกล่าวโดยสรุปคือ ธรรมะกับอธรรม คือสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกันและอยู่คู่ขนานกัน จึงต้องทำสงครามห้ำหั่นกันตลอดไป

      คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า “บรรดาผู้ศรัทธาจะต่อสู้ในหนทางของอัลลอฮ์ และบรรดาผู้ปฏิเสธจะต่อสู้ในหนทางของมารร้าย…” (2)

      ในทุกยุคและทุกๆ ช่วงเวลาในประวัติศาสตร์แห่งมนุษยชาติ ทั้งในฝ่ายของธรรมะและฝ่ายอธรรม จะพบว่ามีบุคคลจำนวนหนึ่งที่แสดงตนขึ้นมาเพื่อรับบทบาทการเป็นผู้นำของกลุ่มชนในฝ่ายของตน บุคคลที่อยู่ในฝ่ายธรรมะคืออิมาม (ผู้นำ) แห่งทางนำ หรือ “อิมามุนนูร” (ผู้นำแห่งแสงสว่าง) ส่วนบุคคลที่อยู่ในฝ่ายตรงข้ามคืออิมาม (ผู้นำ) แห่งความหลงผิด หรือ “อิมามุนนาร” (ผู้นำสู่ไฟนรก) อิมามหนึ่งเรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่แสงสว่าง และอิมามหนึ่งเรียกร้องมนุษย์ไปสู่ไฟนรก ทั้งผู้นำและผู้ถูกชี้นำนั้นจะถูกรวมเข้าด้วยกัน “พวกเหล่านั้น (กลุ่มแรก) จะอยู่ในสรวงสวรรค์ และพวกเหล่านั้น (กลุ่มที่สอง) จะอยู่ในไฟนรก” (3)

อิมามุนนูร (ผู้นำสู่แสงสว่าง) และอิมามุนนาร (ผู้นำสู่ไฟนรก)

       ในตรรกะและแนวคิดแห่งอิสลามได้ชี้ให้เห็นถึงอิมาม (ผู้นำ) ทั้งสองประเภทนี้ อิมามหนึ่งเป็นผู้นำของมวลผู้ยำเกรง ที่ชี้นำไปสู่เส้นทางแห่งทางนำและสัจธรรม ซึ่งคัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวถึงผู้นำประเภทนี้ว่า “และเราได้บันดาลพวกเขาให้เป็นผู้นำ ซึ่งพวกเขาจะนำทางโดยคำบัญชาของเรา และเราได้ดลมายังพวกเขาให้ปฏิบัติความดี ดำรงการนมาซ และบริจาคทานซะกาต และพวกเขาเป็นผู้เคารพภักดีต่อเราเท่านั้น” (4)

       อิมามเหล่านี้คือบรรดาอิมามผู้ซึ่งแบบแผนในการชี้นำของพวกท่านเป็นสิ่งชัดเจน นั่นคือ การชี้นำไปสู่เตาฮีด (การยอมรับในพระเจ้าองค์เดียว) ไปสู่คุณธรรมความดี ไปสู่สัจธรรมและความเที่ยงธรรม บุคคลเหล่านี้คือ “อิมามุนนูร” (ผู้นำแห่งแสงสว่าง) ซึ่งแนวทางของพวกเขา คือการสืบสานภารกิจของบรรดาศาสดา เป็นแนวทางเดียวที่ถูกวางรากฐานไว้นับจากท่านศาสดาอาดัม (อ.) จนถึงท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) และบรรดาวะซีย์ (ผู้สืบทอด) ของท่าน

      อิมามกลุ่มที่สอง คือผู้ที่ชี้นำมนุษย์ไปสู่ความหลงผิด (ฎอลาละฮ์) คัมภีร์อัลกุรอานเรียกอิมามเหล่านี้ว่า “อิมามุนนาร” (ผู้นำสู่ไฟนรก) “เราได้บันดาลให้พวกเขาเป็นผู้นำ ซึ่งจะเรียกร้องเชิญชวน (มนุษย์) ไปสู่ไฟนรก และในวันกิยามะฮ์พวกเขาจะไม่ได้รับการช่วยเหลือ” (5)

บรรทัดฐานในการรู้จักผู้นำ

      อิมามซอดิก (อ.) ได้กล่าวถึงคุณลักษณะเฉพาะของอิมาม (ผู้นำ) ทั้งสองกลุ่มนี้ไว้ ซึ่งท่านกล่าวว่า “แท้จริงบรรดาอิมามในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกรนั้นมีสองอิมาม อัลลอฮ์ผู้ทรงจำเริญ ผู้ทรงสูงส่ง ได้ทรงตรัสว่า : และเราได้บันดาลให้พวกเขาเป็นผู้นำ ซึ่งจะชี้นำโดยคำบัญชาของเรา มิใช่คำบัญชาของมนุษย์ (อิมามกลุ่มนี้) พวกเขาจะยึดเอาคำบัญชาของอัลลอฮ์มาก่อนคำบัญชาของมนุษย์ และยึดเอาคำตัดสินชี้ขาดของอัลลอฮ์มาก่อนคำตัดสินของมนุษย์ และพระองค์ทรงตรัส (อีก) ว่า และเราได้บันดาลพวกเขาให้เป็นผู้นำที่เรียกร้องเชิญชวนไปสู่ไฟนรก (อิมามกลุ่มนี้) พวกเขาจะยึดเอาคำบัญชาของพวกเขาเองมาก่อนคำบัญชาของอัลลอฮ์ และยึดเอาการตัดสินของพวกเขามาก่อนการตัดสินชี้ขาดของอัลลอฮ์ และพวกเขาจะยึดเอาตามอารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขา โดยขัดแย้งต่อสิ่งที่มีปรากฏอยู่ในคัมภีร์ของอัลลอฮ์ ผู้ทรงเกริกเกียรติ ผู้ทรงเกรียงไกร” (6)

      ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ แถวของบุคคลทุกกลุ่มก็จะถูกแยกออกจากกันอย่างชัดเจน แต่ละกลุ่มก็จะมุ่งหน้าไปหาอิมาม (ผู้นำ) ของตนเอง ดังที่คัมภีร์อัลกุรอานได้กล่าวว่า “(จงรำลึกถึง) วัน (ชาติหน้า) ซึ่งเราจะเรียกมนุษย์ทุกคนพร้อมกับผู้นำของพวกเขา” (7)

       ในวันแห่งการฟื้นคืนชีพ (มะอาด) หรือปรโลก (อาคิเราะฮ์) เป็นวันของการ “ตะญัซซุมอัลอะอ์มาล” (การปรากฏภาพหรือการก่อรูปการกระทำต่างๆ) ของมนุษย์ ที่ได้ประพฤติปฏิบัติตนไว้ในโลกนี้ ในโลกนี้ใครก็ตามหัวใจของเขาผูกพันอยู่กับอิมาม (ผู้นำ) หนึ่ง และดำเนินชีวิตไปตามเส้นทางของอิมามนั้นๆ ในโลกอาคิเราะฮ์ (ปรโลก) เขาก็จะถูกรวมอยู่ในแถวของอิมามนั้นๆ

     บะชัร บินฆอลิบ เล่าว่า : ฉันถามท่านอิมามฮูเซน (อ.) เกี่ยวกับการอรรถาธิบายโองการที่ว่า “(จงรำลึกถึง) วันซึ่งเราจะเรียกมนุษย์ทุกคนพร้อมกับผู้นำของเขา” (แท้จริงแล้วการสนทนาและคำถามนี้เกิดขึ้นในขณะที่ท่านอิมามฮูเซนมาถึงยังตำบล ซะอ์ละบียะฮ์ ซึ่งอยู่ระหว่างเส้นทางที่ท่านอิมามเดินทางออกจากนครมักกะฮ์เพื่อมุ่งหน้าสู่กูฟะฮ์หรือกัรบะลา)

      อิมามฮูเซน (อ.) ตอบเขาว่า “อิมามหนึ่งเรียกร้องไปสู่ทางนำ และมนุษย์กลุ่มหนึ่งก็ตอบรับเขา และอีกอิมามหนึ่งเรียกร้องไปสู่ความหลงผิด โดยที่ประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งก็ตอบรับเขา กลุ่มบุคคลกลุ่มแรกนั้นจะอยู่ในสรวงสวรรค์ และกลุ่มบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งจะเข้าอยู่ในไฟนรก และนั่นคือพระดำรัสของอัลลอฮ์ผู้ทรงสูงส่งที่ว่า “กลุ่มหนึ่งอยู่ในสวรรค์และอีกกลุ่มหนึ่งอยู่ในนรก” (8)

      อิมามฮูเซน (อ.) ได้ชี้ให้เห็นถึงบุคคลสองกลุ่มภายใต้การนำของอิมามสองประเภท คือ “อิมามุนนูร” (ผู้นำแห่งแสงสว่าง) และ “อิมามุนนาร” (อิมามแห่งไฟนรก) บุคคลสองกลุ่มนี้มีปรากฏให้เห็นอยู่ตลอดเวลาในวิถีชีวิตของมนุษย์ และผู้นำทั้งสองประเภทนี้ก็พบเห็นได้ในทุกยุคสมัย จำเป็นที่เราจะต้องแยกแยะอิมาม (ผู้นำ) ของตนเอง และเลือกยึดถือปฏิบัติตามอิมามที่จะนำทางเราไปสู่ความสำเร็จและความไพบูลย์ในชีวิต และจงนำตัวออกห่างจากอิมาม (ผู้นำ) ที่จะชักนำเราไปสู่ความวิบัติและความอัปยศในชีวิต

      ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติเป็นสักขีพยานในประเด็นที่ว่า ตลอดทุกยุคสมัยจะมีเหล่ามารร้าย ที่ตั้งแถวเผชิญหน้ากับบรรดาศาสดาและอิมาม (ผู้นำ) ของพระผู้เป็นเจ้า ยิ่งไปกว่านั้น ในขณะที่บรรดาศาสดาและอิมามของพระผู้เป็นเจ้าทำการเรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่ทางนำและแสงสว่าง แต่ทว่าบรรดามารร้ายเหล่านั้นก็จะเรียกร้องเชิญชวนมนุษย์ไปสู่เส้นทางแห่งความหลงผิดและไฟนรก

     ในประวัติศาสตร์เราได้พบเห็นศาสดาอาดัม (อ.) ผู้ยืนหยัดอยู่ในฝ่ายธรรมะ แต่ขณะเดียวกันเราก็พบเห็นอิบลิส (มารร้าย) ซึ่งตั้งตนเป็นผู้นำอยู่ในฝ่ายของอธรรมและความหลงผิด ในประวัติศาสตร์เราได้เห็นกอบีลผู้พลีเพื่อพระผู้เป็นเจ้า ขณะเดียวกันเราก็ได้เห็นฮาบีลผู้เป็นปฏิปักษ์ ผู้พลีเพื่ออารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเอง (9) ในประวัติศาสตร์เรามีมหาบุรุษแห่งพระผู้เป็นเจ้า คือศาสดาอิบรอฮีม (อ.) ขณะเดียวกันก็มีนัมรูดตัวแทนของฝ่ายมารร้ายที่ตั้งตนเป็นคู่ปฏิปักษ์กับท่าน

     ในประวัติศาสตร์แห่งกัรบะลาและวันอาชูรอก็เช่นกัน เราได้ประจักษ์ถึงมนุษย์สองกลุ่มและผู้นำสองแบบ กลุ่มหนึ่งได้แก่มนุษย์ที่สติปัญญาของพวกเขาสามารถพิชิตและควบคุมอารมณ์ใฝ่ต่ำของพวกเขาได้ จนเป็นเหตุทำให้พวกเขาเข้าอยู่ในฝ่ายแห่งทางนำและแสงสว่าง ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งเป็นพวกที่พ่ายแพ้ต่ออารมณ์ใฝ่ต่ำของตนเอง ตกเป็นทาสของตัณหาและความใคร่ จนเป็นเหตุทำให้พวกเขาเข้าอยู่ในฝ่ายของความหลงผิดและมืดบอด ทั้งสองกลุ่มนี้ต่างดำเนินชีวิตไปสู่เป้าหมายและเจตนารมณ์อันสูงสุดของตนเอง ภายใต้การชี้นำของอิมามของตนเอง

     กลุ่มแรก อิมามของพวกเขาคืออิมามฮูเซน (อ.) ซึ่งเป็น “อิมามุนนูร” (ผู้นำแห่งแสงสว่าง) ส่วนผู้ที่อยู่ในฝ่ายตรงข้าม อิมามของพวกเขาคือยะซีด บุตรของมุอาวิยะฮ์ ซึ่งเป็น “อิมามุนนาร” (ผู้นำแห่งไฟนรก)


แหล่งอ้างอิง :

(1) บิฮารุลอันวาร, เล่มที่ 57, หน้า 299

(2) อัลกุรอาน บทอันนิซาอ์ โองการที่ 76

(3) หนังสือ “ตัฟซีรซอฟี”

(4) อัลกุรอาน บทอัลอับบิยาอ์ โองการที่ 73

(5) อัลกุรอาน บทอัลกอซอซ โองการที่ 41

(6) หนังสือ “ตัฟซีรซอฟี” อธิบายโองการข้างต้น

(7) อัลกุรอาน บทอัลอิสรออ์ โองการที่ 71

(8) อัลกุรอาน บทอัชชูรออ์ โองการที่ 7 ; ฮะดีษจากหนังสือ “ตัฟซีรนุรุษษะกอลัยน์”

(9) อัลกุรอาน บทอัล มาอิดะฮ์ โองการที่ 27


บทความ : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม