foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

บทเรียนหลักความศรัทธา เงื่อนไขการดำรงชีวิตของมนุษย์

บุคคลที่ไม่คิดพิจารณาเกี่ยวกับศาสนาหรือไม่เชื่อเรื่องโลกทัศน์ที่ถูกต้องแล้ว เขาจะไปไม่ถึงจุดสมบูรณ์ของมนุษย์อย่างแน่นอน ทว่าโดยหลักการแล้วไม่สามารถยอมรับได้ว่าเขาคือมนุษย์ที่แท้จริง     

     ในบทความก่อนหน้านี้ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการแสวงหาศาสนา และความพยายามในการรู้จักศาสนาที่ถูกต้องมาแล้ว ซึ่งบนพื้นฐานความรู้สึกอันเป็นธรรมชาติดั้งเดิมของมนุษย์นั่นเองที่ให้ประโยชน์ในการแสวงหาหรือหลีกเลี่ยงจากอันตรายที่จะเกิดกับมนุษย์

      เหตุผลที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว คือ ถ้าสมมุติว่าการไปถึงยังผลประโยชน์หรือการหลีกเลี่ยงจากอันตรายคือบทสรุปที่ถูกต้องตามธรรมชาติของมนุษย์แล้ว ดั้งนั้น การแสวงหาศาสนาซึ่งอ้างว่าจะนำเสนอหนทางที่ถูกต้องและความปลอดภัยจากภยันตรายต่างๆ อันไม่มีขอบเขตจำกัดคือความจำเป็น (ความจำเป็นที่เกิดจากการซุ่มตัวอย่างคือ เหตุผลที่ไม่สมบูรณ์สำหรับการเกิดผล) แต่การไปถึงยังผลประโยชน์และความปลอดภัยจากอันตรายคือ ผลสรุปอันเป็นความปรารถนาทางธรรมชาติของมนุษย์ ฉะนั้น การแสวงหาศาสนาเช่นนี้ถือว่าเป็นความจำเป็น

      ด้วยเหตุนี้ ถ้าการไปถึงความสมบูรณ์ของมนุษย์ คือ ผลสรุปอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์แล้วละก็ การรู้จักรากหลักของโลกทัศน์ ซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับความสมบูรณ์ของจิตวิญญาณก็ถือว่าเป็นความจำเป็นด้วยเช่นกัน และถ้าการไปถึงความสมบูรณ์เป็นผลสรุปอันเป็นธรรมชาติ ดังนั้น การรู้จักหลักการดังกล่าวก็จำเป็นด้วยตัวของมันเอง

      บุคคลที่ไม่คิดพิจารณาเกี่ยวกับศาสนาหรือไม่เชื่อเรื่องโลกทัศน์ที่ถูกต้องแล้ว เขาจะไปไม่ถึงจุดสมบูรณ์ของมนุษย์อย่างแน่นอน ทว่าโดยหลักการแล้วไม่สามารถยอมรับได้ว่าเขาคือมนุษย์ที่แท้จริง อีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า เงื่อนไขการดำรงชีวิตของมนุษย์คือ การมีโลกทัศน์และอุดมคติอันถูกต้อง

เหตุผลดังกล่าววางอยู่บนพื้นฐานอันเป็นปฐมบท 3 ประการคือ

    1.มนุษย์ คือสิ่งมีอยู่ที่ถวิลหาความสมบูรณ์

    2.ความสมบูรณ์ของมนุษย์ เกิดจากความประพฤติปฏิบัติที่มาจากเจตนารมณ์เสรี อันเป็นหลักการที่เกิดมาจากสติปัญญา

   3.กฎเกณฑ์ในการปฏิบัติการของสติปัญญาอยู่ภายใต้ร่มเงาของการรู้จัก อันเป็นวิสัยทัศน์ที่เฉพาะเจาะจงพิเศษ ซึ่งสำคัญที่สุดของวิสัยทัศน์เหล่านั้นคือ หลักการ 3 ประการของโลกทัศน์อันได้แก่ การรู้จักแหล่งกำเนิดของการมีอยู่ (พระเจ้าผู้ทรงรังสรรค์) บั้นปลายสุดท้ายแห่งชีวิต (การฟื้นคืนชีพ) แนวทางอันเป็นหลักประกันที่จะทำให้เราพบกับความผาสุก (สภาวะการเป็นนบี) หรืออีกนัยหนึ่งคือ การรู้จักพระเจ้า การรู้จักมนุษย์ และแนวทางในการรู้จัก

อธิบายปฐมบทอันเป็นหลักการสำคัญ 3 ประการ ดังต่อไปนี้

มนุษย์ คือผู้ถวิลหาความสมบูรณ์

    บุคคลใดก็ตามถ้าพิจารณาถึงแนวความคิดของจิตด้านในหรือความปรารถนาของจิตของตน เขาก็จะพบว่ารากที่มาส่วนใหญ่คือการไปสู่ความสมบูรณ์ แน่นอน ไม่มีมนุษย์คนใดปรารถนาให้ตนเองมีข้อบกพร่องหรือข้อตำหนิ เขาพยายามที่จะขจัดข้อตำหนิและความบกพร่องดังกล่าวให้หมดไปจากตนเอง เพื่อไปให้ถึงยังความสมบูรณ์อันเป็นเป้าหมายที่พึงปรารถนา แต่ก่อนที่จะขจัดความบกพร่องเหล่านั้นให้หมดไปจากตนอันดับแรกเขาจะปกปิดให้รอดพันจากสายตาของบุคคลอื่น

ความปรารถนาดังกล่าวนี้ ถ้าตื่นตัวและดำเนินไปในหนทางอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์แล้วละก็ มันจะกลายเป็นตัวการสำคัญสำหรับความก้าวหน้าและความสมบูรณ์ทั้งด้านวัตถุปัจจัยและด้านศีลธรรมจรรยา แต่เมื่อใดที่มันตกอยู่ในเงื่อนไขที่นำไปสู่การหลงผิดก็จะกลายเป็นคุณสมบัติที่ชั่วร้าย เช่น การถืออัตตาตัวตน การโอ้อวด และความปรารถนาให้ผู้อื่นสรรเสริญเยินยอ และฯลฯ

    อย่างไรก็ตาม ความปรารถนาในความสมบูรณ์เป็นปัจจัยทางธรรมชาติ อันเป็นพลังในการสร้างป้อมปราการที่แข็งแรงสำหรับจิตวิญญาณ ซึ่งโดยปกติการเจริญเติบโตและกิ่งก้านสาขาที่แตกออกไปเป็นที่สนใจของคนทั่วไป ดังนั้น ถ้าพิจารณาสักเล็กน้อยจะเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า รากที่มาของทั้งหมดเหล่านั้นอยู่ที่การถวิลหาความสมบูรณ์

ความสมบูรณ์ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติตามสติปัญญา

    ความสมบูรณ์ของวัตถุธาตุต่างๆ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยและเงื่อนไขภายนอกที่สมบูรณ์ในเชิงของการบังคับให้เกิดขึ้น ดังนั้น ไม่มีต้นไม้ต้นใดเจริญเติบโตตามความต้องการของตนเองหรือออกดอกออกผลตามใจชอบได้ เนื่องจากต้นไม่มีสติปัญญานั่นเอง

    แต่มนุษย์นอกจากจะมีลักษณะอันเฉพาะเจาะจงของต้นไม้และวัตถุธาตุอยู่ในตัวแล้ว ยังมี 2 คุณลักษณะพิเศษแห่งจิตวิญญาณอีกต่างหากกล่าวคือ ด้านหนึ่งความปรารถนาอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์อยู่ในขอบข่ายของธรรมชาติที่ไม่มีขอบเขตจำกัด อีกด้านหนึ่งมนุษย์มีพลังสติปัญญา ซึ่งเขาสามารถขยายวงจรของความรู้และวิชาการให้กว้างออกไปชนิดที่ไมมีที่สิ้นสุด และบนพื้นฐานพิเศษดังกล่าวนี้ความปรารถนาของมนุษย์ได้ก้าวเลยขอบเขตธรรมชาติไปสู่ความไม่มีที่สิ้นสุด

     ดังเช่น ความสมบูรณ์พิเศษของวัตถุธาตุขึ้นอยู่กับพลังอันเฉพาะของวัตถุธาตุนั้น ความสมบูรณ์ของสรรพสัตว์ขึ้นอยู่กับความต้องการที่เกิดจากความรู้สึกในส่วนลึก ส่วนความสมบูรณ์ของมนุษย์ซึ่งพิเศษกว่าสิ่งอื่นในความเป็นจริง คือ ความสมบูรณ์ของจิตวิญญาณขึ้นอยู่กับความปรารถนาที่ชัดแจ้งภายใต้ร่มเงาของการชี้นำแห่งสติปัญญา สติปัญญาเท่านั้นที่รู้จักระดับชั้นของผลสรุปที่แตกต่างกัน ในกรณีที่เกิดความสับสนสติปัญญาจะถือเอาสิ่งที่ดีกว่าเป็นเกณฑ์ตัดสินเสมอ

     ด้วยเหตุนี้ ความเป็นมนุษย์ คือ ความประพฤติและการปฏิบัติภารกิจอันเป็นแรงปรารถนาที่เกิดจากอำนาจพิเศษของมนุษย์ภายใต้การชี้นำของสติปัญญา ส่วนความประพฤติที่กระทำโดยอำนาจของสัตว์ถือว่าเป็นความประพฤติของสัตว์เดรัจฉาน ดังเช่นการเคลื่อนไหวที่เกิดจากพลังในร่างกายถือว่าเป็นการเคลื่อนไหวทางสรีระ

กฎเกณฑ์การกระทำของสติปัญญาต้องการพื้นฐานทางความคิด

     ความประพฤติตามเจตนารมณ์เสรี คือ สื่อที่จะนำไปสู่ผลสรุปอ้นเป็นที่ยอมรับ ซึ่งคุณค่าของมันขึ้นอยู่กับระดับชั้นของเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ในความคิด และผลที่จะเกิดขึ้นอันเป็นความสมบูรณ์ของจิตวิญญาณ ดังนั้น ถ้าความประพฤติเป็นสาเหตุทำให้สูญเสียความสมบูรณ์ด้านจิตวิญญาณ ถือว่าความประพฤตินั้นก่อให้เกิดผลในทางลบ

     ดังนั้น สติปัญญาสามารถตัดสินความประพฤติตามเจตนารมณ์เสรีและคุณค่าของสิ่งนั้นได้ ต่อเมื่อความสมบูรณ์และระดับชั้นของสิ่งนั้นเป็นที่ชัดเจน และล่วงรู้ว่ามนุษย์เป็นสิ่งมีอยู่ประเภทใด วิถีชีวิตของมนุษย์จะดำเนินไปสู่ ณ จุดใด และไปถึงยังความสมบูรณ์ในระดับใด อีกนัยหนึ่งสามารถกล่าวได้ว่า ต้องรับรู้ว่ามนุษย์และแนวความคิดในการมีอยู่ของมนุษย์คืออะไร และเป้าหมายในการสร้างมนุษย์คืออะไร

     ด้วยเหตุนี้ การมีวิสัยทัศน์ที่ถูกต้องก็คือ การรู้จักกฎเกณฑ์แห่งคุณค่าที่อยู่เหนือความประพฤติตามเจตนารมณ์เสรีในส่วนของโลกทัศน์ที่ถูกต้องและการแก้ไขปัญหา ถ้ายังไม่สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ก็ไม่สามารถตัดสินความประพฤติที่มีคุณค่าได้ ทำนองเดียวกันถ้ายังไม่รู้จักเป้าหมายที่จะเดินทางไปสู ก็ไม่สามารถกำหนดเส้นทางและจุดสิ้นสุดลงได้ ดังนั้น การรู้จักความคิด ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญของโลกทัศน์ในความเป็นจริงก็คือ การรู้จักพื้นฐานของคุณค่าและกฎเกณฑ์ในการกระทำของสติปัญญา

บทสรุป

    ฉะนั้น จากปฐมบททั้ง 3 ประการตามที่กล่าวมา สามารถพิสูจน์ให้เห็นถึงความจำเป็นในการแสวงหาศาสนาและความพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งโลกทัศน์อันถูกต้อง

    โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ปรารถนาความสมบูรณ์ในความเป็นมนุษย์ของตน และต้องการไปถึงความสมบูรณ์ที่แท้จริงด้วยการกระทำภารกิจต่าง ๆ แต่เพื่อต้องการรู้ว่ามีภารกิจใดบ้างที่สามารถนำตัวเองไปสู่ความใกล้เคียงกับเป้าหมายดังกล่าวได้ ประการแรกเขาต้องรู้จักความสมบูรณ์ขั้นสูงสุดของตนเสียก่อน ซึ่งการรู้จักสิ่งนั้นขึ้นอยู่กับการรู้จักแก่นแท้ของการมีอยู่ของตน หลังจากนั้นต้องรู้จักแบ่งแยกระหว่างความสัมพันธ์ทั้งในแง่บวกและแง่ลบเกี่ยวกับการกระทำที่แตกต่าง และขั้นตอนอันหลากหลายของความสมบูรณ์ เพื่อจะได้รู้จักแนวทางที่ถูกต้องสำหรับความสมบูรณ์ในการเป็นมนุษย์ของตน ถ้ายังไม่รู้จักพื้นฐานทางความคิด (อันเป็นรากหลักของโลกทัศน์) เขาก็จะไม่สามารถยอมรับระบบของการกระทำ (อุดมคติ) อันถูกต้องได้

    ดังนั้น ความพยายามเพื่อรู้จักศาสนาแห่งสัจธรรม ซึ่งประกอบด้วยโลกทัศน์และอุดมคติอันถูกต้องถือเป็นความจำเป็น ถ้าไม่มีสิ่งนี้การไปถึงความสมบูรณ์ของมนุษย์เป็นสิ่งเป็นไปไม่ได้ ดุจดังเช่นถ้าไม่มีความประพฤติที่เกิดจากอุดมการณ์ที่มีคุณค่าก็จะไม่ถือว่าเป็นการกระทำของมนุษย์ และบุคคลที่ไม่ขวนขวายเพื่อรู้จักศาสนาแห่งสัจธรรม หรือหลังจากรู้จักแล้วทำเป็นล้อเล่นกับศาสนาหรือตั้งใจปฏิเสธ โดยยึดถืออำนาจใฝ่ต่ำและความต้องการแห่งวัตถุปัจจัยเป็นใหญ่ ซึ่งในความเป็นจริงเขามิได้เป็นสิ่งใดอื่นนอกจากเป็นสัตว์เดรัจฉานเท่านั้น ดังที่อัลกุรอานกล่าวว่า

إِنَّ اللَّـهَ يُدْخِلُ الَّذِينَ آمَنُوا وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ جَنَّاتٍ تَجْرِي مِن تَحْتِهَا الْأَنْهَارُ ۖ وَالَّذِينَ كَفَرُوا يَتَمَتَّعُونَ وَيَأْكُلُونَ كَمَا تَأْكُلُ الْأَنْعَامُ وَالنَّارُ مَثْوًى لَّهُمْ   

 แท้จริงอัลลอฮ์ ทรงให้บรรดาผู้ศรัทธาผู้กระทำ ความดีทั้งหลายเข้าสู่สรวงสวรรค์อันหลากหลาย ณ เบื้องล่างสรวงสวรรค์มีลำน้ำหลายสายไหลผ่าน ส่วนบรรดาผู้ปฏิเสธพวกเขาจะหลงระเริงและกินเยี่ยงปศุสัตว์ ซึ่งไฟนรกคือที่พำนักของพวกเขา

(อัลกุรอาน บทมุฮัมมัด โองการที่ 12)

      เนื่องจากพวกเขาได้ปล่อยให้ความเป็นมนุษย์หลุดลอยมือไป ดังนั้น พวกเขาจึงต้องถูกลงโทษอย่างแสนสาหัส อัลกุรอาน กล่าวว่า

ذَرْهُمْ يَأْكُلُوا وَيَتَمَتَّعُوا وَيُلْهِهِمُ الْأَمَلُ ۖ فَسَوْفَ يَعْلَمُونَ

 เจ้าจงปล่อยพวกเขาบริโภคและร่าเริงต่อไป ซึ่งความหวังจะทำให้พวกเขาลืมเลือนแล้วพวกเขาก็จะรู้

(อัลกุรอาน บทอัลฮิจร์ โองการที่ 3)


บทความ : อายะตุลลอฮ์ มิซบาฮ์ยัซดีย์

แปล :  เชค ดร.มุฮัมมัดชะรีฟ เกตุสมบูรณ์

ที่มา : หนังสือบทเรียนหลักความศรัทธา

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม