หนังสือพิมพ์ภาษาอาหรับระดับภูมิภาคได้ประเมินการเลือกตั้งประธานาธิบดีของอิหร่านว่า : “รัฐบาลอิหร่านชุดใหม่จะเผชิญหน้ากับสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯ ต้องยอมให้ข้อได้เปรียบและก้าวถอย”
หนังสือพิมพ์ "Kayhan" เขียนในคอลัมน์ข่าวพิเศษของตนว่า : "Rai alyoum" เขียนว่า : การเลือกตั้ง "ซัยยิดอิบรอฮีม รออีซี" ในฐานะประธานาธิบดีของอิหร่านได้ทำให้ประเทศนี้เข้าสู่ช่วงใหม่ คุณลักษณะที่สำคัญที่สุดคือการกลับมาสู่อำนาจอธิปไตยของประเทศของกลุ่มอิสลามนิยมและนักปฏิวัตินิยม ซึ่งจะมีความแข็งแกร่งกว่าทุกช่วงเวลาที่ผ่านมา เนื่องจากเป็นครั้งแรกหลังจากการอสัญกรรมของอิมามโคมัยนี ที่อำนาจทั้งสาม คืออำนาจนิติบัญญัติ อำนาจตุลาการ และอำนาจบริหารอยู่ในมือของกลุ่มปฏิวัตินิยม
หากเราต้องการเข้าใจถึงความสำคัญของการเลือกนี้ เราจะต้องดูว่าอำนาจบริหารนั้นได้ถูกมอบให้กับบุคคลที่เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องของอำนาจ ความเข้มแข็งและการสนับสนุนคนยากจนและการต่อสู้กับการทุจริตและผู้กระทำการทุจริต ความสำคัญของการเลือกตั้งครั้งนี้สามารถเห็นได้ในความน่าสะพรึงกลัวที่ระบอบไซออนิสต์กำลังจะเผชิญมัน และคณะรัฐมนตรีและชนชั้นสูงทางการเมืองและการโฆษณาชวนเชื่อของระบอบนี้ได้แสดงปฏิกิริยาต่าง ๆ มากมายออกมาหลังจากช่วงเวลาแรก ๆ ของการประกาศชัยชนะของเขา เนื่องจากแวดวงของไซออนิสต์ทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการเชื่อว่า ประธานาธิบดีอิหร่านคนต่อไปจะสามารถขยายขีดความสามารถต่าง ๆ ของประเทศนี้ในตะวันออกกลางได้
อิหร่านเผชิญกับความท้าทายทางเศรษฐกิจและนโยบายต่างประเทศ แต่ประเด็นหลักคือ รออีซี เป็นหนึ่งในบุคคลที่ใกล้เคียงกับผู้นำสูงสุดของการปฏิวัติมากที่สุดและมีแผนงานที่ชัดเจนสำหรับวิธีจัดการกับกรณีเหล่านี้
อิหร่านใหม่ที่จะแสดงตัวตนในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าจะแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากอิหร่านที่เราได้เห็นในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา และลักษณะบ่งชี้ต่าง ๆ ของมันมีความใกล้เคียงมากที่สุดกับแหล่งต้นกำเนิดของการปฏิวัติอิสลามของอิหร่านในยุคแรก ๆ ที่ท่านอิมามโคมัยนีเป็นผู้ก่อตั้ง ในเรื่องนี้จะมีความแตกต่างพื้นฐานก็เพียงประการเดียว และนั่นก็คืออิหร่านใหม่นั้นมีอำนาจมากกว่าและมีอิทธิพลมากกว่าในอดีตยิ่งนักในด้านของการทหารและการเมืองในระดับภูมิภาคและระดับนานาชาติ เนื่องจากมีอุตสาหกรรมการทหารแบบพอเพียงและกองเรือขีปนาวุธและโดรนที่ก้าวหน้าอย่างมาก และได้ขยายพันธมิตรในประเทศต่าง ๆ ในตะวันออกกลาง อย่างเช่น อิรัก เลบานอน เยเมนและฉนวนกาซา
การเป็นประธานาธิบดีของ (อายะตุลลอฮ์) รออีซี จะหมายถึงการหวนกลับไปสู่ยุคช่วงเวลาก่อนการลงนามในข้อตกลงนิวเคลียร์ (JCPOA) และการเสริมความแข็งแกร่งให้กับจุดยืนของการเจรจาของอิหร่านในการเจรจาต่าง ๆ เนื่องจากการปรากฏตัวของเขาในฐานะประธานาธิบดีนักปฏิวัตินั้นในตัวของมันเองแล้วจะเป็นแรงกดดันที่ทรงพลังที่จะทำให้สหรัฐฯ ยอมเสนอข้อได้เปรียบต่าง ๆ ที่ชัดเจนให้ในกรณีของการยกเลิกการคว่ำบาตรอิหร่านอย่างสมบูรณ์และการยอมรับสถานะระดับภูมิภาคของประเทศนี้
ที่มา : มัชริก
ศูนย์สารสนเทศอิสลามสถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม
In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم
Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم
ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You
WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์
ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center