foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

เหตุการณ์แห่งอาชูรออ์ วีรกรรมอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ

     ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติได้บันทึกความทรงจำของเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งที่ขมขื่นและหวานชื่นไว้มากมายนับไม่ถ้วน และเหตุการณ์เหล่านั้นได้สร้างผู้สร้างสรรค์ประวัติศาสตร์จำนวนมากเอาไว้ตลอดทุกยุคสมัย แต่ทว่าไม่มีเหตุการณ์ใดที่จะทิ้งร่องรอยและผลกระทบที่กว้างขวางไว้เหมือนกับเหตุการณ์แห่งอาชูรออ์ ที่เกิดขึ้นในปี ฮ.ศ.61 ผู้สร้างประวัติศาสตร์น้อยคนนักที่จะถูกกล่าวขานและคงอยู่ในความทรงจำของมนุษยชาติเหมือนกับผู้สร้างสรรค์ประวัติศาสตร์ในโศกนาฏกรรมแห่งกัรบะลา

    เหตุการณ์ครั้งนี้ประหนึ่งเหรียญ 2 ด้าน ที่สะท้อนให้เห็นแง่มุมและขอเท็จจริงต่างๆ ที่ตรงข้ามกันอย่างสิ้นเชิง

    ด้านหนึ่งคือ การทรยศ ความไม่ซื่อสัตย์ การไร้ซึ่งความเป็นสภาพชน ความชั่วร้าย การกดขี่ ความอธรรม ความโหดร้ายป่าเถื่อน ความไร้ซึ่งความเมตตาปรานี และลักษณะความเลวร้ายอื่นๆ อีกมากมายนับไม่ถ้วน

    อีกด้านหนึ่งคือ ความซื่อสัตย์ ความเสียสละ การพลีอุทิศตน ความเป็นสุภาพชน ความกล้าหาญ การไม่ยอมรับการกดขี่ ความอดทน การยอมจำนนต่อกำหนดของพระผู้เป็นเจ้า การยอมตนในการเป็นบ่าวของพระผู้เป็นเจ้าในระดับสูง

    แม้ประวัติศาสตร์จะได้พบเห็นเหตุการณ์ต่างๆ ที่แสนเจ็บปวดและน่าหวาดกลัว มีการสูญเสียและมีผู้คนล้มตายมากกว่าเหตุการณ์แห่งอาชูรออ์หลายสิบหลายร้อยเท่า อีกทั้งมีการยืนหยัดต่อสู้ แก้แค้น เรียกร้องสิทธิและความเป็นธรรมต่างๆ มากกมายก็ตาม แต่สิ่งที่เป็นสาเหตุทำให้เหตุการณ์และขบวนการต่อสู้ของอาชูรออ์มีความพิเศษกว่าและเหนือกว่า คือประเด็นสำคัญต่างๆ ที่ในเหตุการณ์อื่นๆ ของประวัติศาสตร์ไม่มี หรือไม่เด่นชัดเท่ากับเหตุการณ์แห่งอาชูรออ์

    ประเด็นต่างๆ ที่เป็นจุดเด่นของเหตุการณ์และขบวนการต่อสู้แห่งอาชูรออ์นั้น สามารถชี้ให้เห็นถึงบางส่วนได้ดังต่อไปนี้

เป้าหมายและแรงบันดาลใจต่างๆ ที่บริสุทธิ์เพื่อพระผู้เป็นเจ้า

    แรงบันดาลใจและเป้าหมายในการยืนหยัดต่อสู้ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้นเป็นที่ชัดเจนอย่างยิ่ง ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อความพึงพอพระทัยของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อการฟื้นฟูและรักษาศาสนาแห่งสัจธรรมไว้เพียงเท่านั้น โดยไม่มีเจตนาและเป้าหมายอื่นใดทางด้านวัตถุ หรือการแสวงหาตำแหน่ง ชื่อเสียง และอำนาจการปกครองใดๆ ซึ่งแตกต่างกับขบวนการการเคลื่อนไหวต่อสู้อื่นๆ ที่เราพบเห็นกันโดยทั่วไปในหน้าประวัติศาสตร์

    เหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของอาชูรออ์ได้พิสูจน์และยืนยันถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวนี้ ซึ่งจะเห็นได้จากคำพูดต่างๆ ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) นับตั้งแต่วันแรกในการตัดสินใจลุกขึ้นยืนหยัดต่อสู้จวบจนถึงการเป็นชะฮีดของท่าน ดังในคำพูดที่เป็นที่กล่าวขานของท่านที่กล่าวว่า :

إِنّى لَمْ أَخْرُجْ أَشِرًا وَلا بَطَرًا وَلا مُفْسِدًا وَلا ظالِمًا وَإِنَّما خَرَجْتُ لِطَلَبِ الاِصْلاحِ فى أُمَّةِ جَدّى، أُريدُ أَنْ آمُرَ بِالْمَعْرُوفِ وَأَنْهى عَنِ الْمُنْكَرِ وَأَسيرَ بِسيرَةِ جَدّى وَأَبى عَلِىِّ بْنِ أَبي طالِب

    “แท้จริงฉันไม่ได้ยืนหยัดต่อต้าน เพื่อก่อการละเมิดและการทะนงตน และไม่ใช่เพื่อก่อความเสียหายและความอธรรม  แต่แท้จริงฉันได้ยืนหยัดขึ้นเพื่อแสวงหาการแก้ไขปรับปรุงในประชาชาติของตาของฉัน และฉันปรารถนาที่จะกำชับความดีและห้ามปรามความชั่ว และดำเนินรอยตามแนวทางของตาของฉันและบิดาของฉัน คืออะลี บินอบีฏอลิบ (อ.)” (1)

    การถูกสังหารของผู้ที่เป็นข้อพิสูจน์ (ฮุจญะฮ์) ของพระผู้เป็นเจ้า โดยประชาชนที่ภาพภายนอกเป็นมุสลิม

    ลักษณะเฉพาะของเหตุการณ์แห่งอาชูรออ์ที่มีความพิเศษเหนือเหตุการณ์และขบวนการต่อสู้อื่นๆ นั่นก็คือ ในเหตุการณ์นี้ไม่ใช่แค่เพียงมุอ์มิน (ผู้ศรัทธา) หรือผู้ที่เรียกร้องสิทธิความชอบธรรมโดยทั่วไปเท่านั้นที่ถูกสังหาร แต่ทว่าอิมาม (อ.) ผู้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นบุคคลที่ห้าแห่งอะฮ์ลุลกิซาอ์ ผู้เป็นบุตรชายของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ (อ.) บุตรีของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) และเป็นหนึ่งในข้อพิสูจน์ของพระผู้เป็นเจ้า (ฮุจญะตุลลอฮ์) ที่ได้ถูกสังหารอย่างน่าอนาถอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในหน้าประวัติศาสตร์ โดยน้ำมือของประชาชนที่อ้างตนว่าเป็นอุมมะฮ์ (ประชาชาติ) ของท่านศาสนทูตแห่งอัลลอฮ์ (ซ็อลฯ) เอง

    ความยิ่งใหญ่ของเหตุการณ์ดังกล่าว แม้แต่ฟากฟ้าและแผ่นดินก็ไม่อาจอดทนอดกลั้นที่จะแสดงความเศร้าโศกเสียใจได้ สิ่งที่เจ็บปวดยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ประชาชนที่กล่าวอ้างตนว่าเป็นมุสลิม และในภาพลักษณ์ภายนอกพวกเขาก็ทำการนมาซและอ่านคัมภีร์อัลกุรอาน แต่พวกเขากลับกล่าว “ตักบีร” ในการเข้าสู่สงครามเพื่อเข่นฆ่าสังหารท่านอิมามฮุเซน (อ.) ผู้เป็นหน่อเนื้อเชื้อไขของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นหัวหน้าของชายหนุ่มในสรวงสวรรค์ ได้อย่างเลือดเย็น อีกทั้งทำการปล้นสะดมและละเมิดเกียรติของบรรดาเด็กๆ และสตรีซึ่งเป็นลูกหลานของท่านอย่างไร้ความเมตตาปรานี

    ในหนังสือ “บิฮารุลอันวาร” ของอัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี ได้บันทึกคำพูดของกวีชาวอาหรับผู้หนึ่งไว้ดังนี้ว่า :

وَ یُکَبِّرُونَ بِأَنْ  قُتِلْتَ، وَ  إِنَّما  ***  قَتَلُوا بِکَ التَّکْبِیرَ وَ التَّهْلیلاَ

     “และพวกเขาตักบีร ด้วยเหตุที่ท่านถูกสังหาร และแท้จริงแล้ว ด้วยกับ (การสังหาร) ท่านนั้น พวกเขาได้สังหาร “ตักบีร” (อัลลอฮุ อักบัร) และ “ตะฮ์ลีล” (ลาอิลาฮะอิลลัลลอฮ์ )” (2)

    นั่นคือพฤติกรรมแบบเดียวกันที่เราได้เห็นในขณะนี้ จากพวกตักฟีรีย์และกลุ่มก่อการร้ายดาอิช

บรรดาผู้ช่วยเหลือและผู้ร่วมทางของท่านอิมามฮุเซน (อ.)

     แม้กลุ่มบุคคลที่เป็นชะฮีดพร้อมกับท่านอิมามฮุเซน (อ.) ในแผ่นดินกัรบะลา จะเป็นเพียงกลุ่มคนจำนวนน้อยนิดก็ตาม แต่เมื่อพิจารณาโดยสังเขปเกี่ยวกับชีวิตของพวกเขา คำพูดและการกระทำต่างๆ ของพวกเขาแล้ว เป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่เป็นมุอ์มิน เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ เป็นผู้เสียสละและพลีอุทิศตนเพื่อพระผู้เป็นเจ้า และเป็นผู้ที่สะอาดบริสุทธิ์ ประจักษ์พยานที่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ก็คือคำพูดของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ในค่ำคืนอาชูรออ์ ที่บรรยายถึงลักษณะของผู้ช่วยเหลือของท่านไว้เช่นนี้ว่า :

فَإنِّی لَا أَعْلَمُ أَصْحَابًا أَوْفَی وَلَا خَیرًا مِنْ أَصْحَابِی، وَلَاأَهْلَ بَیتٍ أَبَرَّ وَلَا أَوْصَلَ مِنْ أَهْلِ بَیتِی؛ فَجَزَاکمُ اللَهُ عَنِّی خَیرَ الْجَزَآءِ.

    “แท้จริงฉันไม่เชื่อว่าจะมีสหายกลุ่มใดที่เหนือกว่าและดียิ่งไปกว่าสหายของฉัน และไม่มีครอบครัวใดที่จะมีคุณธรรมและเป็นผู้ปฏิบัติดีต่อเครือญาติยิ่งไปกว่าครอบครัวของฉัน ดังนั้นขออัลลอฮ์ทรงตอบแทนความดีงามแก่พวกท่านทั้งหมดแทนฉันด้วยการตอบแทนที่ดียิ่ง” (3)

การไม่ยอมรับความต่ำต้อยไร้เกียรติของชาวอาชูรออ์

      ท่านอิมามฮุเซน (อ.) และบรรดาสหายผู้ร่วมทางของท่านนั้น มีคุณลักษณะพิเศษที่โดดเด่นมากมาย แต่หนึ่งในคุณลักษณะที่สูงส่งที่สุดที่ท่านเหล่านั้นมีก็คือ การไม่ยอมจำนนและการไม่ยอมรับความต่ำต้อยไรเกียรติ (ซิลละฮ์) และความอัปยศอดสู แม้ศัตรูจะพยายามเพียงใดที่จะบีบบังคับให้พวกเขายอมจำนน หรือแม้แต่เพียงเพื่อที่จะได้ยินคำพูดเพียงคำเดียวที่จะกล่าวยอมรับอำนาจการปกครอง (คิลาฟะฮ์) ของยะซีด บินมุอาวียะฮ์ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จและไม่ได้เห็นแม้แต่การแสดงออกถึงความอ่อนแอและการสำนึกเสียใจจากการกระทำจากบุคคลเหล่านี้

     ประโยคอันเป็นอมตะของบุคคลเหล่านี้ ที่กลายเป็นคำขวัญหรือสโลแกนมาจนถึงในปัจจุบันก็คือ « هَيْهاتِ مِنّا الذلَّة » “ความต่ำต้อยไร้เกียตริ ช่างห่างไกลจากพวกเราเสียนี่กระไร” (4) หรืออีกคำพูดหนึ่งของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ที่ยังคงดังกึกก้องอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์

وَالله ، لا أُعطِيكُم بِيَدي إعطَاءَ الذَّليل ، وَلا أفِرُّ فِرارَ العَبيد

     “ขอสาบานต่ออัลลอฮ์! ฉันจะไม่ยื่นมือของฉันให้แก่พวกเจ้า เยี่ยงการยื่นมือของผู้ต่ำต้อยไร้เกียรติ และฉันจะไม่หลบหนี เยี่ยงการหลบหนีของทาส” (5)

      อิบนุ อบิลฮะดีด (มุอ์ตะซิลี) ได้กล่าวถึงนามชื่อของบุคคลจำนวนหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์อิสลาม ที่ไม่ยอมรับการกดขี่และความต่ำต้อยไร้เกียรติไว้ในหนังสือ “ชัรห์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์” ของเขาในใจความตอนหนึ่งว่า  :

سیّد أهل الإباء، الذی علّم الناس الحمیّة والموت تحت ظلال السیوف اختیاراً له على الدنیّة، أبو عبد اللّه الحسین ابن علی بن أبی‌طالب (ع) عرض علیه الأمان فأنف من الذل

      “หัวหน้าของบรรดาผู้ปฏิเสธความต่ำต้อยไร้เกียรติ ผู้ที่ได้สอนมนุษย์ถึงการรักษาเกียรติศักดิ์ศรี (ของตน) และการตายภายใต้คมดาบโดยเจตจำนงเสรีของตน เหนือ (การยอมรับ) ความต่ำต้อยไร้เกียรติ นั่นคือ อบูอับดิลลาฮิลฮุเซน (อ.) บุตรของอะลี บินอบีฏอลิบ (อ.) ผู้ซึ่งหลักประกันความปลอดภัยได้ถูกนำเสนอแก่ท่านและแก่บรรดาสหายของท่าน แต่ท่านได้รักษาตนจากความต่ำต้อยไร้เกียรติ” (6)

     ไม่ใช่เฉพาะท่านอิมามฮุเซน (อ.) เพียงเท่านั้น ทว่าผู้ช่วยเหลือของท่านทั้งหมดที่ถูกสังหารในเหตุการณ์แห่งอาชูรออ์ในปี ฮ.ศ.61 ได้เป็นชะฮีดในจุดที่สูงสุดของการรักษาไว้ซึ่งเกียรติศักดิ์ศรี และการปฏิเสธที่จะยอมรับความอัปยศอดสู

     การปฏิเสธการคุ้มครองหรือการให้หลักประกันความปลอดภัยจาก “ชิมร์ อิบนิซิลญูชัน” โดยท่าน “อบุลฟัฎลิ์ อัลอับบาส (อ.)” คืออีกตัวอย่างหนึ่งจากข้อเท็จจริงดังกล่าว ถึงแม้ศัตรูจะบดขยี้และทำให้เรือนร่างของบุคคลเหล่านี้แหลกเป็นชิ้นๆ ได้ แต่ไม่สามารถที่จะทำลายหรือลดเกียรติศักดิ์ศรีและความสูงส่งทางจิตวิญญาณของบุคคลเหล่านั้นลงได้เลย

     กวีชาวอาหรับได้บรรยายถึงข้อเท็จจริงนี้ไว้ได้อย่างสวยงาม ความว่า :

قَدْ غَيَّر الطَّعْنُ منهم كُلَّ جَارِحَة     إلاَّ المكارِمَ في أَمْن من الغِيَرِ

      “การทิ่มแทง (ของคมหอกและดาบ) ได้ทำให้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายของพวกเขาเปลี่ยนสภาพไป แต่ความสูงส่งทางจิตวิญญาณ (และเกียรติของพวกเขา) ยังคงปลอดภัยจากการเปลี่ยนแปลงทั้งหลาย” (7)

ความเป็นผู้ถูกอธรรมในด้านต่างๆ ที่หลากหลาย

      ความอธรรม (ซุลม์ ) ที่เกิดขึ้นกับท่านอิมามฮุเซน (อ.) และบรรดาผู้ช่วยเหลือของท่านนั้น ไม่ใช่มีแค่เพียงด้านเดียว แต่ในเหตุการณ์แห่งอาชูรออ์นั้นจะพบเห็นความอธรรมได้ในมิติต่างๆ ที่หลากหลาย เช่น

- การเชื้อเชิญท่านอิมาม (อ.) และการไม่รักษาสัญญาที่มีให้กับท่าน

- การเข่นฆ่าสังหารผู้เป็นแขกที่พวกเขาได้เชื้อเชิญมา

- การปิดกั้นแหล่งน้ำต่อท่านอิมาม (อ.) และบรรดาสหาย บรรดาเด็กๆ และสตรีที่เป็นลูกหลานจากอะฮ์ลุลบัยต์ของท่าน

- สงครามที่ไร้ความเท่าเทียมกันระหว่างนักรบที่มีอาวุธครบมือจำนวน 3 หมื่นคน กับฝ่ายของอิมามฮุเซน (อ.) ที่มีจำนวนเพียง 72 คน

- การโจมตีบรรดาสตรีและเด็กๆ

- การเผากระโจมที่พัก

- การใช้ม้าเหยียบย่ำบนเรือนร่างของบรรดาชะฮีด

- การจับกุมสตรีและเด็กๆ เป็นเชลย และฉุดกระชากลากจูงบุคคลเหล่านั้นไปตามเมืองต่างๆ และยังมีการอธรรมในด้านต่างๆ อีกมากมาย

     ทั้งหมดเหล่านี้คือส่วนหนึ่งจากลักษณะเฉพาะของโศกนาฏกรรมแห่งกัรบะลา ที่ทำให้มันมีความพิเศษเหนือเหตุการณ์ทั้งหลายที่คล้ายคลึงกันในหน้าประวัติศาสตร์

    ความหนักหน่วงของความอธรรมในมิติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับอะฮ์ลุลบัยต์ (อ.) ในวันนั้น ถึงขั้นที่แม้แต่ศัตรูที่ไร้ความเมตตาปรานียังต้องหลั่งน้ำตาและร่ำไห้ ตัวอย่างเช่น ในช่วงเวลาที่ท่านหญิงซัยนับ (อ.) ได้กล่าวกับ “อุมัร อิบนิซะอัด” ว่า :

يَا عُمَرَ بْنَ سَعْد! أَيُقْتَلُ أَبُو عَبْدِ اللَهِ وَأَنْتَ تَنْظُرُ إلَيْهِ

“โอ้อุมัร อิบนิซะอัด! ท่านอบูอับดิลลาอฮ์ถูกสังหารโดยที่เจ้าควบคุมดูแล (การสังหาร) ท่านกระนั้นหรือ?!” (8)

     ในขณะที่น้ำตาได้ไหลรินบนใบหน้าที่โฉดชั่วของอุมัร อิบนิซะอัด เขาได้เบือนหน้าเพื่อหลบหน้าท่านหญิงซัยนับ (อ.) ด้วยความละอาย

     มิซิเยอร์ มาร์บีน นักคิดชาวเยอรมันนี ได้กล่าวว่า “มิซีบัต (ความทุกข์โศก) ต่างๆ ที่ท่านอิมามฮุเซน (อ.) ได้รับในหนทางของการฟื้นฟูรักษาศาสนาของท่านตาของท่านนั้น ทำให้ท่านมีความโดดเด่นเหนือกว่าบรรดาชะฮีดก่อนหน้าท่าน และไม่มีบุคคลใดในยุคอดีตที่ได้เผชิญกับมุซีบัต (ความทุกข์โศก) ต่างๆ เช่นนี้ในหน้าประวัติศาสตร์ของโลก การโหมกระหน่ำของมุซีบัตต่างๆ เช่นนี้ เป็นของฮุเซน (อ.) แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น”

พลังของการรังสรรค์จากผลกระทบต่างๆ

     อีกประการหนึ่งของจุดเด่นของวีรกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งกัรบะลา คือพลังในการรังสรรค์จากผลกระทบของมัน ที่มีต่อความคิดสารธารณะของมวลมุสลิม และยิ่งไปกว่านั้น ต่อบรรดาเสรีชนของโลกในตลอดช่วงประวัติศาสตร์ จึงสามารถกล่าวได้อย่างกล้าหาญว่า มิติของขบวนการต่อสู้แห่งอาชูรออ์นี้ ในตลอดช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์นั้นไม่มีผู้ใดทัดเทียมได้เลย กล่าวคือ ไม่สามารถที่จะพบเห็นขบวนการต่อสู้ใดในโลก ที่จะเป็นแบบอย่างและแรงบันดาลใจสำหรับบรรดาเสรีชน ในการขับเคลื่อนและการยืนหยัดต่อสู้เพื่อต่อต้านบรรดาผู้อธรรมและการกดขี่ได้อย่างมากมายถึงเพียงนี้ นับจากช่วงเริ่มต้นของเหตุการณ์จวบจนถึงปัจจุบันสมัย

     กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ขบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) นั้น เป็นขบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้ที่ครอบคลุมอยู่เหนือกาลเวลาและสถานที่ อิทธิพลของขบวนการเคลื่อนไหวต่อสู้แห่งอาชูรออ์จะไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลาและสถานที่ ดังคำกล่าวที่มีชื่อเสียงที่ว่า :

{ کل یوم عاشورا وکل ارض کربلا}

"ทุกวันคืออาชูรออ์ และทุกแผ่นดินคือกัรบะลา"

     สามารถกล่าวได้อย่างมั่นใจว่า น้อยนักที่จะมีขบวนการต่อสู้ที่เหมือนกับขบวนการต่อสู้ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) ที่จะได้รับชัยชนะและสามารถพิชิตเหนือบรรดาศตรูได้ นับจากวันที่ฝ่ายศัตรูได้เห็นความปราชัย (ภายนอก) ของฝ่ายตรงข้าม (คือท่านอิมามฮุเซน) แต่ในวันเดียวกันนั้น พวกเขาก็ได้พบว่าอำนาจการปกครองของตนเองกำลังมาถึงจุดจบแล้วเช่นกัน!!

     โทมัส คาร์ไลล์ (Thomas Carlyle) นักปรัชญาและนักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษ กล่าวว่า “บทเรียนที่ดีที่สุดที่เราได้รับจากโศกนาฏกรรมแห่งกัรบะลา นั่นก็คือ การที่ฮุเซน (อ.) และผู้ช่วยเหลือของท่านมีความศรัทธาที่มั่นคงต่อพระผู้เป็นเจ้า พวกเขาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนด้วยการปฏิบัติของเขาที่ว่า ความเหนือกว่าในด้านจำนวนในการเผชิญหน้าระหว่างสัจธรรมกับความเท็จนั้น มิได้เป็นสิ่งที่สำคัญอะไร และชัยชนะของฮุเซน (อ.) ทั้งๆ ที่มีคนจำนวนน้อยนั้นทำให้ผมประหลาดใจ”

     การสังหารเหล่าบุรุษที่มีความบริสุทธิ์เหล่านี้ ไม่เพียงแต่จะไม่ได้ช่วยทำให้อำนาจการปกครองของลูกหลานของอบูซุฟบานมั่นคงอยู่ได้เพียงเท่านั้น ในทางตรงกันข้าม กลับเป็นตัวเร่งการล่มสลายของอำนาจการปกครองของพวกเขา การประท้วงคัดค้าน การลุกฮือขึ้นต่อต้าน และการยืนหยัดต่อสู้ของกลุ่มชนต่างๆ ภายหลังจากเหตุการณ์แห่งอาชูรออ์ ทั้งหมดล้วนเกิดจากพลังและการสร้างสรรค์จากผลกระทบของการปฏิวัติเลือดนี้ ที่ชี้ให้เห็นถึงชัยชนะที่แท้จริงของเหล่าวีรชนแห่งกัรบะลา

     อีกมิติหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงพลังและอิทธิพลของเหตุการณ์แห่งอาชูรออ์ นั่นก็คือ ในหลายศตวรรษผ่านไป ในช่วงวันทั้งหลายของเดือนมุหัรรอม (อัยยาม มุหัรรอม) และอัรบะอีน ได้มีการจัดพิธีรำลึกถึงและไว้อาลัย และการศึกษาเรียนรู้ถึงบทเรียนต่างๆ จากการต่อสู้ของท่านอิมามฮุเซน (อ.) และบรรดาสหายของท่าน ซึ่งเพิ่มทวีมากขึ้นในทุกๆ ปี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในพิธีอัรบะอีนที่จัดขึ้นในแผ่นดินกัรบะลา


แหล่งอ้างอิง

(1) มักตัล คอวาริซมี, เล่มที่ 1, หน้า 186

(2) บิฮารุลอันวาร, อัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี, เล่มที่ 45, หน้าที่ 244

(3) อัลอิรชาด, เชคมุฟีด, หน้าที่ 250 ; ตารีค ฏ็อบรี, เล่มที่ 7, หน้า 321-322 ด้วยสำนวนที่ต่างกันเล็กน้อย

(4) อัลอิห์ติยาฏ, ฏ็อบริซี, เล่มที่ 2, หน้าที่ 99

(5) อัลอิรชาด, เชคมุฟีด, หน้าที่ 450

(6) ชัรห์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, อิบนุอบิลฮะดีด, เล่มที่ 3, หน้าที่ 249

(7) อัลอิรชาด, เชคมุฟีด, หน้าที่ 440

(8) บิฮารุลอันวาร, อัลลามะฮ์มัจญ์ลิซี, เล่มที่ 45, หน้าที่ 55


เรียบเรียงโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม