foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

จงอย่าใช้วาจาหยาบคายแม้แต่กับบรรดาผู้ปฏิเสธอิสลามและผู้ตั้งภาคี

อย่าใช้คำพูดที่น่าเกลียดแม้แต่กับศัตรู

       “ท่านทั้งหลายจงหลีกเลี่ยงจากการด่าประณามศัตรูของอัลลอฮ์ โดยที่เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาได้ยินพวกท่าน พวกเขาก็จะด่าประณามอัลลอฮ์ (ศาสนาและความเชื่อของพวกท่าน) โดยปราศจากความรู้”

       ในสงครามซิฟฟิน เมื่อกองทัพฝ่ายสัจธรรมและฝ่ายผู้หลงผิด คือกองทัพของท่านอิมามอะลี (อ.) และกองทัพของมุอาวิยะฮ์ได้มาเผชิญหน้ากัน ทหารกลุ่มหนึ่งของท่านอิมามอะลี (อ.) ได้เริ่มกล่าวประณามและก่นด่ากองทัพแห่งเมืองชามของมุอาวิยะฮ์

       เมื่อท่านอิมาม (อ.) ได้ยินบางคนจากพวกเขาด่าทอและใช้คำพูดที่หยาบคาย ท่านได้ห้ามพวกเขาจากการทำดังกล่าวและกล่าวว่า

إِنِّي أَكْرَهُ لَكُمْ أَنْ تَكُونُوا سَبَّابِينَ وَ لَكِنَّكُمْ لَوْ وَصَفْتُمْ أَعْمَالَهُمْ وَ ذَكَرْتُمْ حَالَهُمْ كَانَ أَصْوَبَ فِي اَلْقَوْلِ وَ أَبْلَغَ فِي اَلْعُذْرِ

“ฉันไม่ชอบที่พวกท่านเป็นผู้ที่ชอบด่าประณาม แต่ถ้าพวกท่านอธิบายถึงพฤติกรรมต่างๆ (ที่ชั่วร้าย) ของพวกเขา และบอกถึงสภาพของพวกเขา ย่อมจะเป็นคำพูดที่ถูกต้องมากกว่าและเป็นการให้เหตุผลที่สมบูรณ์มากกว่า” (1)

       เนื่องจากการด่าทอและการใช้วาจาที่หยาบคายนั้น เป็นพฤติกรรมที่น่าเกลียดและไม่พึงปรารถนา ในด้านหนึ่ง หากเราก่นด่าและใช้คำพูดสามหาวต่อศัตรูนั้น การกระทำเช่นนี้อาจจะเป็นสาเหตุของการเพิ่มความเป็นศัตรูและความอาฆาตพยาบาท มากยิ่งขึ้น และจะทำให้พวกเขาตอบโต้เราด้วยสิ่งที่เลวร้ายกว่า อาจจะโดยคำพูดหรือโดยการกระทำ

       ท่านอิมามอะลี (อ.) ยังได้กล่าวต่อไปอีกว่า

وَ قُلْتُمْ مَكَانَ سَبِّكُمْ إِيَّاهُمْ اللَّهُمَّ احْقِنْ دِمَاءَنَا وَ دِمَاءَهُمْ وَ أَصْلِحْ ذَاتَ بَيْنِنَا وَ بَيْنِهِمْ وَ اهْدِهِمْ مِنْ ضَلَالَتِهِمْ حَتَّى يَعْرِفَ الْحَقَّ مَنْ جَهِلَهُ وَ يَرْعَوِيَ عَنِ الْغَيِّ وَ الْعُدْوَانِ مَنْ لَهِجَ بِهِ .

“และ (เป็นการดีกว่า) แทนที่พวกท่านจะด่าทอพวกเขา พวกท่านจะ (วิงวอนของต่ออัลลอฮ์โดย) กล่าวว่า โอ้อัลลอฮ์! โปรดพิทักษ์รักษาเลือดเนื้อของเราและเลือดเนื้อของพวกเขาไว้ด้วยเถิด และโปรดแก้ไขปรับปรุง (ดับไฟสงครามและความเป็นศัตรูกัน) ระหว่างเราและระหว่างพวกเขาด้วยเถิด และโปรดทรงชี้นำพวกเขาออกจากความหลงผิดของพวกเขา เพื่อที่ว่าบุคคลที่ไม่รู้ถึงสัจธรรมจะได้รับรู้มัน และผู้ที่ยืนกรานอยู่ในความหลงผิดและความเป็นศัตรู จะได้ยุติและหันกลับมาจากมัน” (1)

      เช่นเดียวกันนี้ ในจดหมายฉบับหนึ่งที่ท่านอิมามซอดิก (อ.) เขียนถึงบรรดาสาวกและสหายของท่าน ท่านได้กล่าวว่า

وَ إِیَّاکُمْ وَ سَبِّ أَعْدَاءِ اللهِ حَیْثُ یَسْمَعُوْنَکُمُ فَیَسُبُّواْ اللّهَ عَدْوًا بِغَیْرِ عِلْمٍٍ

“ท่านทั้งหลายจงหลีกเลี่ยงจากการด่าประณามศัตรูของอัลลอฮ์ โดยที่เมื่อใดก็ตามที่พวกเขาได้ยินพวกท่าน พวกเขาก็จะด่าประณามอัลลอฮ์ (ศาสนาและความเชื่อของพวกท่าน) โดยปราศจากความรู้” (2)

      ความหมายเดียวกันนี้ ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์อัลกุรอาน เช่นกัน

وَلاَ تَسُبُّواْ الَّذِینَ یَدْعُونَ مِن دُونِ اللّهِ فَیَسُبُّواْ اللّهَ عَدْوًا بِغَیْرِ عِلْمٍ

“และพวกเจ้าจงอย่าด่าประณามผู้ที่พวกเขาวิงวอนขอ (สิ่ง) อื่นจากอัลลอฮ์ แล้วพวกเขาก็จะด่าประณามอัลลอฮ์ อันเป็นการละเมิดโดยปราศจากความรู้” (3)

จงอย่าใช้วาจาหยาบคายแม้แต่กับบรรดาผู้ปฏิเสธอิสลามและผู้ตั้งภาคี

     ในสงครามบะดัร ภายหลังจากที่กองทัพอิสลามมีชัยชนะเหนือกองทัพของผู้ปฏิเสธ ซึ่งมีอบูญะฮัล “อุตบะฮ์” บิดาของฮินด์ ผู้กินตับ (ท่านฮัมซะฮ์ ลุงของท่านศาสดา) “ชัยบะฮ์” น้องชายของเขา “วะลีด” ลูกชายของเขาและเป็นน้าชายของ “มุอาวิยะฮ์ บินอบีซุฟยาน” และ “อุมัยยะฮ์ บินค่อลัฟ” (4) เป็นผู้บัญชาการกองทัพของฝ่ายมุชริกีน (ผู้ตั้งภาคี) ชาวมุสลิมบางคนได้ด่าประณามและใช้คำพูดที่หยาบคายต่อบรรดาผู้ตั้งภาคีที่ถูก ฆ่าตายในสงครามครั้งนั้น

      เมื่อท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ็อลฯ) ได้ยิน ท่านจึงห้ามปรามพวกเขา พร้อมกับกล่าวว่า

لَا تَسُبُّوا هَؤُلَاءِ فَإِنَّهُ لَا يَخْلُصُ إِلَيْهِمْ شَيْءٌ مِمَّا تَقُولُونَ وَتُؤْذُونَ الْأَحْيَاءَ

“พวกท่านอย่าด่าประณามหมู่ชนเหล่านี้เลย เพราะนอกจากสิ่งที่พวกท่านพูดออกไปนั้น จะไม่ส่งผลอะไรต่อพวกเขาแล้ว กลับจะสร้างความไม่พอใจต่อผู้มีชีวิตอยู่ (ของพวกเขา) อีกด้วย”

      จากนั้น ท่านกล่าวต่ออีกว่า

أَلَا إِنَّ البذاء لؤم

“พึงรู้เถิดว่า แท้จริงคำพูดที่หยาบคายนั้น เป็นสิ่งที่เลวทราม” (5)

     นั่นหมายความว่า ในทุกสภาพและในทุกกรณี การด่าประณามและการใช้วาจาที่ไม่เหมาะสมนั้น ถือเป็นเรื่องน่าเกลียดและเป็นการกระทำที่ไม่พึงปรารถนา ไม่ว่าจะในเรื่องที่ถูกต้องหรือไม่ก็ตาม

    แต่เป็นที่น่าเศร้าใจที่สิ่งที่เป็นที่แพร่หลายและกลายเป็นเรื่องปกติอย่าง มากในสังคมของเรา ก็คือการด่าประณามและการใช้วาจาหยาบคาย ซึ่งไม่เพียงแต่ในช่วงที่ทะเลาะเบาะแว้งและมีปากเสียงกันเท่านั้น ทว่าแม้แต่ในการสนทนากันโดยปกติ และในความเป็นมิตรก็เป็นที่พบเห็นอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกัน สิ่งนี้นับเป็นความน่าอับอายและน่าหดหู่ใจยิ่ง เป็นสิ่งที่ดียิ่งที่เราจะเรียนรู้บทเรียนและข้อแนะนำจากคำพูดและมารยาทของ ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) และอย่าอนุญาตให้ตัวเองใช้วาจาคำพูดใดๆ ที่ไม่เหมาะสม ไม่ว่าในยามที่เกิดกรณีพิพาทกับศัตรู หรือด้วยเหตุผลอื่นใดก็ตาม


เชิงอรรถ :

[1] นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, ฟัยฎุ้ลอิสลาม, คฏบะฮ์ที่ 198 ; ชัรห์ นะฮ์ญุลบะลาเฆาะฮ์, อิบนุอบิลฮะดีด, คุฏบะฮ์ที่ 199, เล่มที่ 11-12, หน้าที่ 17

[2] อาซารุซซอดิกีน, เล่มที่ 8, หน้าที่ 176

[3] อัลกุรอานบทอัลอันอาม โองการที่ 108

[4] บิลาล อิบนิรอบะฮ์ อัลฮะบะชี (ชาวเอธิโอเปีย) เป็นทาสของอุมัยยะฮ์ บินค่อลัฟ

[5] อิห์ยาอุลอุลูม, เล่มที่ 3, หน้าที่ 254 ; มะฮัจญะตุ้ลบัยฎออ์, เล่มที่ 5, หน้าที่ 215


บทความโดย : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม