foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

จากผู้ต่อต้านอิสลามที่เปลึ่ยนมาเป็นมุสลิม ; เหตุใดศาสนาอิสลามจึงขยายตัวในตะวันตก?

“ปรากฏการณ์การขยายตัวของการเข้ารับอิสลามจากบรรดาบุคคลสำคัญในยุโรปและสหรัฐอเมริกาไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาแห่งพระเจ้าในระดับสูงสุดของสังคมตะวันตกเพียงเท่านั้น ทว่ายังสะท้อนถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรมุสลิมในประเทศเหล่านี้อีกด้วย....”

      เมื่อไม่นานมานี้ข่าวที่สร้างกระแสดึงดูดความสนใจจากสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการเข้ารับอิสลามของนักการเมืองชาวเนเธอร์แลนด์หัวรุนแรงที่ต่อต้านศาสนาอิสลามอย่างเอาจริงเอาจังคนหนึ่งได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ในสังคม นั้นก็คือเรื่องราวของ

โจแรม แวน คลาเวเรน” (Joram van Klaveren) อดีตสมาชิกพรรคฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง "Freedom" ในประเทศเนเธอร์แลนด์

    “โจแรม แวน คลาเวเรน” (Joram van Klaveren) อดีตสมาชิกพรรคฝ่ายซ้ายหัวรุนแรง "Freedom" ในประเทศเนเธอร์แลนด์ เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2019 ที่ผ่านมาได้กล่าวว่า ขณะที่เขากำลังเขียนหนังสือเกี่ยวกับการต่อต้านศาสนาอิสลามนั้น เขาได้เริ่มค้นพบประเด็นในเชิงบวกของศาสนานี้มากยิ่งขึ้น และในที่สุดเขาก็รู้สึกประทับใจศาสนานี้ จนท้ายที่สุดเขาก็ตัดสินใจเข้ารับอิสลามและเปลี่ยนประเด็นเนื้อหาของหนังสือที่เขาเขียน

      แวน คลาเวเรน ไม่ใช่นักการเมืองหัวรุนแรงชาวเนเธอร์แลนด์ที่ต่อต้านศาสนาอิสลามคนแรกที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาแห่งพระเจ้าศาสนาสุดท้ายนี้ ในรายงานพยายามที่จะกล่าวถึงเรื่องราวโดยสังเขปเกี่ยวกับบุคคลผู้มีชื่อเสียงของตะวันตกบางคนที่หันมาเข้ารับอิสลาม พร้อมกับตรวจสอบแนวโน้มการขยายตัวของการเข้ารับอิสลามในสังคมยุโรปและอเมริกา พร้อมกับแสดงให้เห็นสถิติของจำนวนมุสลิมในตะวันตก และอธิบายถึงภาพรวมขององค์ประกอบทางประชากรของภูมิภาคเหล่านี้

 Arnaud Van Dorn นักการเมืองชาวเนเธอร์แลนด์

Arnaud Van Dorn นักการเมืองชาวเนเธอร์แลนด์

     เขาเข้ารับอิสลามในเดือนเมษายน 2012 ก่อนหน้าโจแรม แวน คลาเวเรน สมาชิกอีกคนหนึ่งของพรรค "Freedom" และหลังจากนั้นไม่นานเขาก็ได้เดินทางไปประกิบพิธีฮัจย์  Arnaud Van Dorn ได้อธิบายถึงวิธีการเข้ารับอิสลามของเขาว่า ปฏิกิริยาเชิงลบของชาวมุสลิมในโลกที่มีต่อภาพยนตร์สั้นเรื่อง " Fitna" (ฟิตนะฮ์) ที่ผลิตโดย “Geert Wilders” หัวหน้าพรรค “Freedom” ทำให้เขาสนใจที่จะศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับอิสลาม หลังจากการเข้ารับอิสลามเขารู้สึกเสียใจที่เขามีส่วนร่วมในการเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่อง “Fitna” และกล่าวว่า เขาต้องรับผิดชอบในการแก้ไขความผิดพลาดนี้ที่เขาได้กระทำไป

      Arnaud Van Dorn เป็นสมาชิกพรรคขวาจัดของ Widders จนถึงเดือนธันวาคม 2011 และหลังจากแยกตัวออกมาจากพรรคนี้เขายังคงทำหน้าที่เป็นสมาชิกของสภาเทศบาลเมืองเฮกจนถึงเดือนพฤษภาคม 2014  ปัจจุบันเขาดำรงตำแหน่งประธานมูลนิธิดะอ์วะฮ์แห่งยุโรป (European Da'wah Foundation) และเป็นทูตด้านความสัมพันธ์ของสมาคมดะอ์วะฮ์แห่งแคนาดา (Canadian Da'wah Association) ในยุโรป เช่นเดียวกันนี้ในปี 2014 “อเล็กซานเดอร์ อามินโด วะริส” ลูกชายของเขาก็เข้ารับอิสลามตามพ่อของตน

อาเธอร์ แว็กเนอร์ (Arthur Wagner) นักการเมืองเยอรมัน

อาเธอร์ แว็กเนอร์ (Arthur Wagner) นักการเมืองเยอรมัน

    ในปี 2015 อาเธอร์ แว็กเนอร์ ได้เข้าพรรคฝ่ายขวาหัวรุนแรง ที่มีชื่อว่า "Alternative for Germany” (ทางเลือกเพื่อเยอรมนี) ในเวลาเดียวกันเขาก็เป็นสมาชิกของคณะกรรมการรัฐสภาของรัฐบรันเดินบวร์ค ในชุมชนต่างๆ และในกิจการด้านศาสนาด้วย ในเดือนมกราคม 2018 แว็กเนอร์ประกาศว่าเขาหันไปสู่อิสลาม ในช่วงการประท้วงการยอมรับการแต่งงานของเกย์ (พวกรักร่วมเพศ) โดยคริสตจักรเยอรมัน และเขาได้เข้ารับศาสนาอิสลามหลังจากการศึกษาค้นคว้าอย่างมากมาย นักการเมืองชาวเยอรมันวัย 49 ปีผู้นี้เลือกชื่อของตนว่า “อะห์มัด” และหลังจากเข้ารับอิสลามไม่นานนักเขาก็ลาออกจากพรรค " Alternative for Germany”

      แว็กเนอร์ ซึ่งสำเร็จการศึกษาในสาขาสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (Commercial Informatics) จากมหาวิทยาลัย (University of Applied Sciences and Arts in Hannover) กล่าวว่า เขาได้ตัดสินใจเข้ารับศาสนาอิสลามนับตั้งแต่ปี 2015 และในช่วงเวลาเดียวกันกับที่เข้าสู่พรรคการเมืองนี้ แต่หลังจากนั้นประมาณสองปี ในเดือนตุลาคม 2017 เขาจึงเข้ารับอิสลามอย่างเป็นทางการ

      พรรค "Alternative for Germany” (ทางเลือกเพื่อเยอรมนี) เป็นหนึ่งในแนวคิดหัวรุนแรงและสุดโต่งของเยอรมนี ซึ่งได้ระบุไว้อย่างชัดเจนในส่วนของการแนะนำตัวในเว็บไซต์ของตนว่า "ต่อต้านการอพยพและต่อต้านศาสนาอิสลาม"  อ็องเดรส์ คาลบีตซ์  หัวหน้าพรรค  "Alternative for Germany” ได้เขียนไว้ในหน้าเฟสบุคอย่างเป็นทางการของเขาว่า "อิสลามไม่เกี่ยวข้องกับเยอรมนี"

คีธ เอลลิสัน (Keith Ellison) นักการเมืองอเมริกัน

คีธ เอลลิสัน (Keith Ellison) นักการเมืองอเมริกัน

      คีธ แอลลิสัน วัย 55 ปี เป็นอัยการสูงสุดของรัฐมินนิโซตาและอดีตสมาชิกของสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคเดโมแครต (2007-2019) ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะมุสลิมคนแรกที่ได้รับเลือกเข้าสู่สภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกา เมื่อเขาสำเร็จการศึกษาในสาขาวิชากฎหมาย เขาก็เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามตอนอายุ 19 ปี

      แอลลิสันได้อธิบายเกี่ยวกับการตัดสินใจครั้งนี้ของตนว่า : "เมื่อผมหันมาดูตัวเอง ผมมองไปรอบๆ และตั้งคำถามต่างๆ กับตัวเองเกี่ยวกับสภาพทางสังคมของประเทศ ประเด็นเกี่ยวกับความยุติธรรม (ทางสังคม) และการเปลี่ยนแปลงต่างๆ เมื่อผมมองดูชีวิตทางด้านวิญญาณของผม ผมคิดว่ามีบางสิ่งสามารถที่จะอธิบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความยุติธรรมในสังคม... และผมก็พบอิสลาม"

     นักการเมืองอเมริกันผู้นี้เป็นผู้สนับสนุนการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐฯ กับอิหร่านและเรียกร้องให้มีการเปิดสำนักงานพิทักษ์ผลประโยชน์หรือสถานทูตในกรุงเตหะราน ในปี 2015 เอลลิสันเป็นหนึ่งในห้าผู้แทนของพรรคเดโมแครตในสภาคองเกรสของสหรัฐอเมริกาที่ลงคะแนนให้ปฏิเสธการทบทวนข้อตกลงนิวเคลียร์ของอิหร่าน ในคำปราศรัยเขาเน้นว่า การตัดการสื่อสารกับรัฐบาลเตหะรานนั้นไม่มีความหมาย

อันเดร คาร์สัน (André D. Carson) นักการเมืองอเมริกัน

อันเดร คาร์สัน (André D. Carson) นักการเมืองอเมริกัน

     คาร์สันอายุ 44 ปี เป็นมุสลิมคนที่สองที่สามารถเข้าไปอยู่ในสภาคองเกรสของสหรัฐฯ ในฐานะผู้แทนจากรัฐอินเดียนา เขาเกิดในครอบครัวแบ๊บติสต์ (เป็นนิกายในศาสนาคริสต์ฝ่ายโปรเตสแตนต์) เขาเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนคาทอลิกเพื่อรับใช้ที่โบสถ์แบบติสม์ในเมืองอินเดียแนโพลิส แต่ท้ายที่สุดในช่วงอายุอายุ 16 ปี หลังจากศึกษาบทกวีของ "เมาลานา ญะลาลุดดีน มุฮัมมัด บัลคีย์" และชีวประวัติ “แมลคัม เอ็กซ์” (Malcolm X) หรือ “เอล-ฮัจญ์ มาลิก เอล-ชาบาซ” ทำให้เขาเข้ารับศาสนาอิสลาม

     ด้วยเหตุผลจากปัญหาต่างๆ ที่ได้เผชิญกับการเลือกปฏิบัติต่อชุมชนชาวอเมริกันผิวดำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากตำรวจผิวขาว คาร์สันจึงตัดสินใจที่จะเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจและเพื่อสิ่งนี้เขาได้ทำการศึกษาในสาขากฎหมายอาญาและเขาก็ค่อยๆ หันไปทำงานเคลื่อนไหวต่างๆ ทางด้านการต่อต้านข่าวกรอง

     ปัจจุบันเขาเป็นสมาชิกมุสลิมเพียงคนเดียวในคณะกรรมการข่าวกรองของสภาผู้แทนราษฎรของสหรัฐอเมริกา และเขากล่าวว่าเขาเป็นมุสลิมผิวดำคนหนึ่ง ซึ่งในช่วงวัยหนุ่มเขาได้ถูกทารุณกรรมโดยเจ้าหน้าที่ตำรวจของสหรัฐอเมริกา แต่ในช่วงวัยผู้ใหญ่เขาได้ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจต่อต้านข่าวกรอง เขาได้นำเสนอมุมมองที่เป็นเอกลักษณ์เกี่ยวกับความตึงเครียดต่างๆ ระหว่างปัญหาด้านความมั่นคงและสิทธิพลเมือง

Knut Johann Richard Barnstorm นักการทูตสวีเดน

Knut Johann Richard Barnstorm นักการทูตสวีเดน

     Knut Johann Richard Bernstrom เป็นอดีตนักการทูตชาวสวีเดนที่ทำงานในสถานทูตสวีเดนที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เช่น ในเวเนซุเอลา สเปนและโมร็อกโค หลังจากผ่านระยะเวลา 13 ปี ในอาชีพนักการทูต Bernstrom ได้ขอเกษียณตัวเองในปี 1983 และหลังจากตนได้ศึกษาค้นคว้า ทำให้เขาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในปี 1986

    หลังจากการเข้ารับอิสลาม เขาได้เลือกชื่อให้แก่ตัวเอง ว่า “มุฮัมมัด” หลังจากนั้น Bernstrom ได้ทำงานเคลื่อนไหวในสวีเดนในนามผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอิสลามและเป็นผู้แปลคัมภีร์อัลกุรอานเป็นภาษาสวีเดน

แกรี่ เลเกนโฮเซน (Gary Carl (Muhammad) Legenhausen) นักปรัชญาอเมริกัน

แกรี่ เลเกนโฮเซน (Gary Carl (Muhammad) Legenhausen) นักปรัชญาอเมริกัน

     แกรี่ เลเกนโฮเซน เกิดในปี 1953 ในครอบครัวคาทอลิกในนิวยอร์ก หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่มหาวิทยาลัยรัฐนิวยอร์ก เขาได้เข้าศึกษาต่อปริญญาโทในสาขาปรัชญาที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสที่มหาวิทยาลัยเท็กซัส เลเกนโฮเซน ได้เริ่มสอนวิทยาศาสตร์ปรัชญาที่มหาวิทยาลัยเท็กซัสในปี 1979 และในปีเดียวกันนั้นเขาเริ่มรู้จักกับศาสนาอิสลามผ่านนักศึกษามุสลิมบางคน

     หลังจากการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม ในปี 1983 เขาได้เข้ารับอิสลามพร้อมกับการรับปริญญาเอกด้านปรัชญาจากมหาวิทยาลัยไรซ์ หลังจากนั้นไม่นานเขาได้ก่อตั้งสมาคมนักศึกษามุสลิมขึ้นในมหาวิทยาลัยเท็กซัส และหลังจากที่เขาได้รู้จักกับนักศึกษาชาวอิหร่านคนหนึ่ง เขาก็รับรู้เรื่องราวเกี่ยวกับมัซฮับ (สายธาร) ชิอะฮ์และได้เดินทางไปอิหร่าน

Stephen Suleyman Schwartz นักหนังสือพิมพ์และนักเขียนชาวอเมริกัน

Stephen Suleyman Schwartz นักหนังสือพิมพ์และนักเขียนชาวอเมริกัน

     นักข่าวชาวอเมริกันวัย 70 ปี ที่เขียนคอลัมน์ให้กับสื่อต่างๆ อย่างเช่น นิตยสาร “Wall street Journal” ได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในปี 1997 แม้เขาจะเกิดในครอบครัวชาวยิวในปี 1948 แต่เขาก็ได้เลือกอิสลามสำหรับการดำเนินชีวิตของตน

     สตีเฟน สุไลย์มาน ชวาร์ทซ ได้กล่าวถึงพ่อแม่ของเขาว่าเป็นพวก "ขวาจัดและต่อต้านศาสนาอย่างรุนแรง" จนกระทั่งในปี 1984 เขาได้พบกับแนวคิดของพรรคคอมมิวนิสต์เลนิน ในปี 2005 เขาได้ก่อตั้งสถาบันคลังสมอง หรือ Think Tank ที่ชื่อ " Center for Islamic Pluralism " ในวอชิงตันและเป็นหนึ่งในนักวิจารณ์ที่รุนแรงต่อลัทธิวะฮ์ฮาบีและอิสลามนิยมหัวรุนแรง

ลอเร็น บูธ (Lauren Booth) ผู้ดำเนินรายการและผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษ

ลอเร็น บูธ (Lauren Booth) ผู้ดำเนินรายการและผู้สื่อข่าวชาวอังกฤษ

     นักเคลื่อนไหวทางด้านสื่อชาวอังกฤษผู้นี้ เป็นน้องสาวภรรยาของโทนี แบลร์ อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ เธอเคยทำหน้าที่ในการเขียนคอลัมน์ให้กับหนังสือพิมพ์ต่างๆ ในระดับแนวหน้าและหนังสือพิมพ์เดลี่เมล์ นอกจากนี้เธอยังเป็นหนึ่งในผู้ต่อต้านสงครามอิรักและเป็นสมาชิกขององค์กรพลเรือน " Stop the War Coalition" แม้แต่ในปี 2008 เธอได้พยายามที่เข้าไปในชนวนกาซาโดยทางทะเลพร้อมกับนักเคลื่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชนจำนวน 46 คน และทำลายการปิดล้อมพื้นที่นี้ แต่ก็ต้องเผชิญกับการสกัดกั้นของระบอบไซออนิสต์

      เธอได้เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม ในปี 2010 สืบเนื่องจากการเดินทางไปยังประเทศอิหร่านเพื่อนำเสนอข่าวการเดินขบวนประท้วงในวันอัลกุดส์ (Quds Day) ในกรุงเตหะราน หลังจากการแสวงบุญ (ซิยาเราะฮ์) ในสถานฝังศพของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ มะอ์ซูมะฮ์ (อ.) ในเมืองกุม และสถานฝังศพของอิมามริฎอ (อ.) ในเมืองมัชฮัด บูธได้กล่าวว่า เธอได้สัมผัสกับความสงบ (ทางจิตใจ) ในสถานที่เหล่านี้ที่ทำให้เธอเกิดการเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล จากนั้นหลังจากที่เธอเดินทางกลับไปยังกรุงลอนดอน เมื่อเธอลงจากเครื่องบินพร้อมกับผ้าคลุมศีรษะ (ฮิญาบ) ที่สมบูรณ์ เธอได้ทำให้ทุกคนประหลาดใจ และเธอได้กล่าวในที่นั้นว่า : "ชื่อของดิฉัน คือ ลอเร็น บูธ และดิฉันเป็นมุสลิม"

มาเฮิร์ซชาล่าลาชบาซ อาลี (Mahershalalhashbaz Ali Gilmore) นักแสดงชาวอเมริกัน

มาเฮิร์ซชาล่าลาชบาซ อาลี (Mahershalalhashbaz Ali Gilmore) นักแสดงชาวอเมริกัน

     มาเฮิร์ซชาล่า วัย 45 ปี เกิดในครอบครัวคริสเตียนในโอ๊คแลนด์ รัฐแคลิฟอร์เนีย เขาได้เข้ารับอิสลามในปี 2000 และได้เลือกชื่อสกุลว่า “อาลี” ตามคำพูดของอาลี หลังจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 ตำรวจสหรัฐฯ ได้ติดตามตัวเขาและเขาได้เผชิญกับปัญหามากมายในประเด็นต่างๆ อย่างเช่น บัญชีธนาคาร การใช้สนามบิน แม้แต่การดำเนินชีวิตประจำวัน

    ในปี 2017 หลังจากการลงสมัครชิงรางวัลออสการ์สาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมในภาพยนตร์เรื่อง “มูนไลท์” (Moonlight) อาลีได้กล่าวในการให้สัมภาษณ์กับ Radio Times เกี่ยวกับสภาพการณ์ที่ไม่ดีสำหรับคนผิวดำและชาวมุสลิมในสหรัฐอเมริกาว่า : "หากพวกท่านเข้ารับอิสลามหลังจากการมีชีวิตอยู่ในอเมริกาหลายทศวรรษในฐานะคนผิวดำ แล้วพวกท่านจะต้องเผชิญกับการอคติในลักษณะต่างๆ ผลที่เกิดจากสิ่งดังกล่าวนี้ พวกท่านก็จะไม่รู้สึกแปลกและไม่น่าตกใจใดๆ ... มุสลิม (ในที่อื่นๆ ในโลก) อาจจะรู้สึกว่าความอคติต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับพวกเขาเป็นเรื่องใหม่ แต่สำหรับพวกเรา (คนผิวดำอเมริกัน) ไม่ใช่เรื่องใหม่เลย"

    นอกจากรางวัลมากมายที่เขาได้รับแล้ว เขายังเป็นนักแสดงมุสลิมคนแรกที่ชนะรางวัลออสการ์ (สำหรับภาพยนตร์เรื่อง “มูนไลท์” ในปี 2017) ในปี 2018 เขาได้รับรางวัลลูกโลกทองคำสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมที่สุดจากภาพยนตร์เรื่อง "Green Book" และยังเป็นผู้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้ด้วย และเขาก็ได้รับรางวัลออสการ์อีกครั้งในปีนี้

    รายชื่อของบรรดาบุคคลที่มีชื่อเสียงที่เปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามในอเมริกาและยุโรปนั้นมีมากกว่าที่ได้กล่าวถึงในรายงานนี้ ซึ่งสามารถชี้ให้เห็นได้โดยสังเขปอย่างเช่น มุฮัมมัด อะลี เคล์ (นักมวยอเมริกัน) , นีกอลา อาแนลกา (นักฟุตบอลชาวฝรั่งเศส), ไมก์ ไทสัน (นักมวยอเมริกัน), อิบติฮาจ มูฮัมหมัด (นักกีฬาหญิงชาวอเมริกันคนแรกที่สวมฮิญาบ) ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 2016 เขาได้รับรางวัลเหรียญทองแดงในการฟันดาบ) และคนอื่น ๆ

    การขยายตัวของการเข้ารับอิสลามของบรรดาบุคคลสำคัญในยุโรปและสหรัฐอเมริกาไม่เพียงแต่สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของศาสนาแห่งพระเจ้านี้ในระดับสูงสุดของสังคมตะวันตกเท่านั้น ทว่ายังสะท้อนถึงแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของจำนวนชาวมุสลิมในประเทศเหล่านี้อีกด้วย ตามการยอมรับของสถาบันคลังสมอง หรือ Think Tank และสถาบันวิจัยต่างๆ ชี้ให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนมุสลิมในประเทศเหล่านี้ และนี่คือข้อเท็จจริงประการหนึ่งที่ว่า ศาสนาอิสลามกำลังขยายตัวมากขึ้นในยุโรปและอเมริกา แม้จะมีการดำเนินการต่างๆ ที่เลวร้ายและการถูกต่อต้านจากกลุ่มหัวรุนแรงต่างๆ ก็ตาม

    เว็บไซต์ข่าวเชิงวิเคราะห์ “ซีบีเอ็น” (Christian Broadcasting Network  หรือ CBN News) ในบทความเรื่อง " Why are So Many Westerners Converting to Islam? " (เหตุใดชาวตะวันตกจำนวนมากจึงเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลาม) ได้ยอมรับว่า ทุกวันมีผู้คนจำนวนมากในสหรัฐอเมริกาและยุโรปเข้ารับอิสลามเพิ่มมากขึ้น พร้อมกับเขียนว่า : "บางทีในสหรัฐอเมริกาคนส่วนใหญ่ (ที่เข้ารับอิสลาม) อาจเป็นชาวอเมริกันเชื้อสายแอฟริกา แต่ก็มีจำนวนมากจากชาติพันธ์แองโกลที่เปลี่ยนมาเป็นมุสลิมและส่วนมาก พวกเขาก็เป็นคนมีการศึกษาสูง"

    เว็บไซต์ข่าวนี้ซึ่งเป็นของคริสตจักร ชาวคริสต์ในสหรัฐอเมริกา อธิบายถึงเหตุผลที่ชาวตะวันตกจำนวนมากหันมานับถือศาสนาอิสลามว้าเช่นนี้ว่า : "หลักคำสอนของศาสนาอิสลามนั้นเรียบง่ายและสมเหตุสมผลผู้ศรัทธาทุกคนมีความเท่าเทียมกัน (อิสลาม) เป็นศาสนาที่ใช้งาน (ปฏิบัติจริง) ได้ และไม่มีประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุริมภาพ (ลำดับความสำคัญ) ของฐานะปุโรหิต ... อีกปัจจัยหนึ่งคือการชี้นำทาง (ฮิดายะฮ์) และความเป็นระบบระเบียบ (นัศม์)”

    ในอีกด้านหนึ่ง ตามความเชื่อของซีบีเอ็น อีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ชาวอเมริกันโดยเฉพาะชนกลุ่มน้อยผิวดำหันมาสู่อิสลามก็คือ "การเลือกปฏิบัติและการเหยียดสีผิว" ที่พวกเขาต้องเผชิญในสหรัฐอเมริกาเป็นประจำทุกวัน ตามคำพูดของบุคคลเหล่านี้ การเลือกปฏิบัติทางสังคมและต่อพลเมืองทำให้ศาสนาอิสลามดูน่าสนใจสำหรับพวกเขา เนื่องจากอิสลามชี้ทางให้พวกเขานำตัวออกจากวัฒนธรรมของการเลือกปฏิบัติและการเหยียดผิว ซึ่งไม่เป็นที่ยอมรับของชนกลุ่มน้อย นอกจากนี้ศาสนาอิสลามด้วยกับการปฏิบัติตามคำสัญญาต่างๆ ของตนจะช่วยทำให้พวกเขานำชีวิตของพวกเขาเองกลับมาสู่สภาวะปกติ

    ในตอนท้ายของบทความนี้ได้อธิบายถึงอีกเหตุผลหนึ่งที่สำคัญสำหรับแนวโน้มดังกล่าวไว้ว่า อิสลามให้โอกาสในการเปลี่ยนศาสนา "โดยไม่จำเป็นต้องสารภาพบาปทั้งหมดและไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าชดเชยสำหรับการไถ่โทษ" ส่วนผู้คนที่ต้องการจะประสบความสำเร็จและความผาสุกไพบูลย์นั้น เพียงแค่ปฏิบัติตามคำสั่งและข้อกำหนดเพียงหนึ่งเดียวเท่านั้น นั่นคือพระเจ้า

    ศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) ในการศึกษาวิจัยจำนวนมากที่ได้กระทำนั้นได้ยอมรับถึงแนวโน้มของจำนวนประชากรมุสลิมที่เพิ่มขึ้นและความเลื่อมใสที่เพิ่มมากขึ้นของประชากรโลกที่มีต่อศาสนาอิสลาม หนึ่งในงานวิจัยเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2017 ศูนย์วิจัยพิวได้รายงานว่า จำนวนเด็กที่ถือกำเนิดขึ้นจากชาวมุสลิมในปี 2035 จะมีจำนวนมากกว่าเด็กที่ถือกำเนิดขึ้นจากคริสเตียนอย่างเห็นได้ชัด

   ในการศึกษาวิจัยนี้คาดการณ์ว่า ในทศวรรษหน้า ศาสนาอิสลามและประชากรมุสลิมจะเติบโตเร็วที่สุดในท่ามกลางกลุ่มศาสนาต่างๆ ซึ่งนับจากช่วงเวลาขณะนี้ก็มีสัญญาณต่างๆ บ่งชี้ให้เห็นถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วนี้แล้ว ระหว่างปี 2010 ถึงปี 2015 เด็กที่ถือกำเนิดจากชาวมุสลิมคิดเป็นประมาณร้อยละ 31 ของเด็กทารกทั่วโลก นอกจากนี้ตามแนวโน้มปัจจุบันของการเติบโตของประชากรโลก ในปี 2060 ประชากรมุสลิม (2.99 พันล้านคน) โดยประมาณแล้วจะใกล้เคียงกับประชากรของคริสเตียน (3.05 พันล้านคน)

   บนพื้นฐานดังกล่าวนี้ เนื่องจากประชากรที่ค่อนข้างอยู่ในวัยหนุ่มสาวและมีอัตราการเจริญพันธุ์สูงในหมู่ชาวมุสลิมจึงคาดการณ์ว่าจำนวนทารกที่จะเกิดในโลกมุสลิมระหว่างปี 2030 ถึง 2035 จะสูงกว่าทารกที่นับถือศาสนาคริสต์ ในขณะที่ตามสถิติล่าสุด (ในปี 2015) จำนวนประชากรคริสเตียนทั้งหมดในโลกมีประมาณ 2.3 พันล้านคน และประชากรมุสลิมทั้งหมดมีประมาณ 1.8 พันล้านคน

   จากการศึกษาวิจัยอีกเรื่องหนึ่งของศูนย์วิจัยพิว (Pew Research Center) พบว่ามีชาวมุสลิมอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาประมาณ 3.45 ล้านคนซึ่งตอนนี้เป็นกลุ่มศาสนาที่ใหญ่เป็นอันดับสามของประเทศ ในการศึกษาวิจัยนี้คาดการณ์ว่าในปี 2050 ประชากรมุสลิมในสหรัฐอเมริกาจะเพิ่มขึ้นเป็น 8.1 ล้านคนและจะสูงกว่าชาวยิวในฐานะกลุ่มศาสนาที่มีประชากรมากเป็นอันดับสองในประเทศนี้


แหล่งที่มา :

- Pew Research Center, The Changing Global Religious Landscape, 2017

- Pew Research Center, New estimates show U.S. Muslim population continues to grow, 2018

- CBN, Why are So Many Westerners Converting to Islam?, 2001


แปลและเรียบเรียง : ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม