foto1
foto1
foto1
foto1
foto1

In the name of Allah I بِسْــــــــــــــــــمِ اﷲِالرَّحْمَنِ اارَّحِيم

Assalamualaikum I اَلسَّلَامُ عَلَيْكُم

ขอความสันติ จงมีแด่ท่าน I Peace Be Upon You

WELCOME TO IICTH.COM I ยินดีต้อนรับ สู่เว็บไซต์

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม I Islamic Information Center

ภาพ-นิทรรศการ

25,10,0,50,1
5,600,50,1,3000,500,25,800
100,150,1,50,12,30,50,1,70,12,1,40,1,1,1,3000
0,1,0,0,2,40,15,5,2,1,0,17,0,1
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW..
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...
Loves Of Muhammad SAW...

คำแนะนำของศาสดา (ซ็อลฯ) สำหรับการขออภัยโทษในเดือนรอมฎอน

การขออภัยโทษ (อิสติฆฟาร) คือหนึ่งในแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการขจัดบาปออกจากชีวิตของผู้ศรัทธาและเป็นแนวทางที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งในการหลุดพ้นจากปัญหาและความทุกข์ยากต่าง ๆ ในชีวิต

     แนวทางที่สำคัญที่สุดประการหนึ่งในการที่จะได้รับประโยชน์จากช่วงวันทั้งหลายของเดือนรอมฎอนอันจำเริญ คือการทบทวนริวายะฮ์ (คำรายงาน) ต่าง ๆ ที่อธิบายเกี่ยวกับความประเสริฐของเดือนนี้ ริวายะฮ์เหล่านี้รวมครอบคลุมถึงความประเสริฐและมารยาทต่าง ๆ ของเดือน ตลอดจนการกระทำต่าง ๆ ที่เหมาะสมในการปฏิบัติสำหรับเดือนแห่งการเป็นแขกของพระผู้เป็นเจ้า หนึ่งในคำรายงานที่มีเนื้อหาครอบคลุมมากที่สุดเกี่ยวกับความประเสริฐและมารยาทของเดือนนี้คือ คุฎบะฮ์ (คำเทศนา) จากท่านศาสนทูตของอัลลอ ฮ (ซ็อลฯ) ซึ่งท่านได้กล่าวไว้ในวันศุกร์สุดท้ายของเดือนชะอ์บาน

     ในคุฏบะฮ์ (คำเทศนา) นี้ ประกอบกับการอธิบายถึงคุณลักษณะพิเศษบางประการของเดือนรอมฎอนอันจำเริญ ท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ได้กล่าวถึงการกระทำต่างๆ ที่สมควรยื่งสำหรับเดือนที่มีเกียรตินี้ ในบางส่วนของคำพูดนี้ท่านกล่าวว่า :

أَیُّهَا النَّاسُ إِنَّ أَنْفُسَکُمْ مَرْهُونَةٌ بِأَعْمَالِکُمْ فَفُکُّوهَا بِاسْتِغْفَارِکُمْ وَ ظُهُورَکُمْ ثَقِیلَةٌ مِنْ أَوْزَارِکُمْ فَخَفِّفُوا عَنْهَا بِطُولِ سُجُودِکُمْ وَ اعْلَمُوا أَنَّ اللَّهَ أَقْسَمَ بِعِزَّتِهِ أَنْ لَا یُعَذِّبَ الْمُصَلِّینَ وَ السَّاجِدِینَ وَ أَنْ لَا یُرَوِّعَهُمْ بِالنَّارِ یَوْمَ یَقُومُ النَّاسُ لِرَبِّ الْعَالَمِینَ

"โอ้ประชาชนเอ๋ย! แท้ที่จริง ชีวิตของพวกท่านนั้นถูกพันธนาการไว้ด้วยการกระทำทั้งหลายของพวกท่านเอง ดังนั้นจงปลดปล่อยมันด้วยการขออภัยโทษของพวกท่าน

     และหลังของพวกท่านนั้นหนักอึ้งจากความผิดบาปของพวกท่านเอง ดังนั้นจงทำให้มันเบาบางลงด้วยการซุญูด (กราบกรานพระองค์) ที่ยาวนานเถิด

     และพึงรู้เถิดว่า แท้จริงอัลลอฮ์ทรงสาบานด้วยเกียรติของพระองค์ว่า จะไม่ลงโทษผู้ดำรงนมาซและผู้ทำการซุญูด และจะไม่ทำให้พวกเขาหวาดกลัวด้วยไฟนรกในวันที่มวลมนุษย์จะยืนขึ้นเพื่อ (รับการพิพากษา) ของพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก" (1)

    ในเนื้อหาส่วนนี้ได้ชี้ถึงมารยาทสองประการในการปฏิบัติสำหรับเดือนรอมฎอนอันจำเริญ คือ :

1- การขออภัยโทษ (อิสติฆฟาร) 

2- การสุญูดอย่างยาวนาน (ทั้งในการนมาซและนอกการนมาซ)

     ในส่วนแรกท่านได้ชี้ถึงผลของการวิงวอนขออภัยโทษ (อิสติฆฟาร) จากพระผู้เป็นเจ้าให้ปลดเปลื้องมนุษย์ออกจากจากบ่วงแห่งพันธนาการของการกระทำต่างๆ ที่น่าเกลียดที่เขาได้ประกอบขึ้นในระหว่างปี ทั้งนี้เนื่องจากว่าบาปและการกระทำที่ชั่วร้ายทั้งหลายนั้น จะเป็นเหมือนปลอกคอที่พันธนาการคอของมนุษย์ไว้หรือเหมือนกับเมฆหมอกแห่งความมืดมนปลกคลุมอยู่เหนือตัวเขา และเป็นสาเหตุทำให้ความสะอาดบริสุทธิ์ของบุคคลถูกทำลายลง นำมาซึ่งความพิโรธและโทษทัณฑ์จากพระผู้เป็นเจ้า การเปลี่ยนผันเนี๊ยะอ์มัต (ความสุขสบายของการดำรงอยู่) การถูกกักขังของดุอาอ์จากการถูกตอบรับและเป็นสาเหตุนำมาซึ่งความทุกข์ยาก (บะลาอ์) ต่างๆ ในชีวิต มันคือบาปต่าง ๆ ที่ท่านอมีรุลมุอ์มินีน อะลี บินอบีฏอลิบ (อ.) ได้สอนเราให้วิงวอนขออภัยโทษจากพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงสูงส่งในบทดุอาอ์กุเมล โดยที่ท่านกล่าวว่า :

اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِیَ الذُّنُوبَ الَّتِی تَهْتِكُ الْعِصَمَ، اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِیَ الذُّنُوبَ الَّتِی تُنْزِلُ النِّقَمَ، اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِیَ‏ الذُّنُوبَ‏ الَّتِی‏ تُغَیِّرُ النِّعَمِ، اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِیَ الذُّنُوبَ الَّتِی تَحْبِسُ الدُّعَاءَ، اللَّهُمَّ اغْفِرْ لِیَ الذُّنُوبَ الَّتِی تُنْزِلُ الْبَلَاء

"ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดอภัยโทษแก่ข้าฯ ในบาปทั้งหลายที่บันทอนทำลายความสะอาดบริสุทธิ์

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดอภัยโทษแก่ข้าฯ ในบาปทั้งหลายที่นำมาซึ่งความพิโรธและโทษทัณฑ์

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดอภัยโทษแก่ข้าฯ ในบาปทั้งหลายที่เปลี่ยนผันความสุขสบายของการดำรงอยู่

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดอภัยโทษแก่ข้าฯ ในบาปทั้งหลายที่กักขังคำวิงวอนขอ (ไม่ให้ถูกตอบรับ)

ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า โปรดอภัยโทษแก่ข้าฯ ในบาปทั้งหลายที่จะนำมาซึ่งความทุกข์ยาก" (2)

     ดังนั้นการขออภัยโทษ (อิสติฆฟาร) จึงเป็นแนวทางที่ดีที่สุดประการหนึ่งในการขจัดบาปดังกล่าวนี้ออกไปจากชีวิตของผู้ศรัทธา และเป็นวิธีที่สำคัญที่สุดวิธีหนึ่งในการที่จะหลุดพ้นออกจากปัญหาและความทุกข์ยากต่าง ๆ ที่มาประสบกับชีวิต ในขณะที่ในโองการต่าง ๆ ของคัมภีร์อัลกุรอานมีการเน้นย้ำมากมายในเรื่องนี้ ดังที่พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ในคัมภีร์อัลกุรอานว่า :

وَ مَا کَانَ اللَّهُ لِیُعَذِّبَهُمْ وَأَنْتَ فِیهِمْ وَ مَا کَانَ اللَّهُ مُعَذِّبَهُمْ وَ هُمْ یَسْتَغْفِرُونَ

"และอัลลอฮ์จะไม่ทรงลงโทษพวกเขา ขณะที่เจ้าอยู่กับพวกเขา และอัลลอฮ์จะไม่ทรงลงโทษพวกเขาในขณะที่พวกเขายังขออภัยโทษกัน" (3)

     ตามโองการที่ 10 ถึง 12 ของซูเราะฮ์ (บท) นูห์ การขออภัยโทษ (อิสติฆฟาร) นอกจากจะปัดป้องการลงโทษ (อะซาบ) และความทุกข์ยาก (บะลาอ์) แล้วยังช่วยเพิ่มพูนปัจจัยดำรงชีพและความจำเริญ (บะรอกัต) เข้ามาในชีวิตอีกด้วย ดังที่คัมภีร์อัลกุรอานกล่าวว่า :

 اسْتَغْفِرُوا رَبَّکُمْ إِنَّهُ کانَ غَفَّاراً، یُرْسِلِ السَّماءَ عَلَیْکُمْ مِدْراراً وَ یُمْدِدْکُمْ بِأَمْوالٍ وَ بَنِینَ وَ یَجْعَلْ لَکُمْ جَنَّاتٍ وَ یَجْعَلْ لَکُمْ أَنْهاراً

"พวกท่านทั้งหลายจงขออภัยโทษต่อองค์พระผู้อภิบาลของพวกท่านเถิด แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้อภัยยิ่งนัก พระองค์จะทรงประทานฝนจากฟากฟ้าลงมายังพวกท่านอย่างมากมาย และจะทรงประทานความมั่งคั่งแก่พวกท่านด้วยทรัพย์สินและลูกหลาน และจะทรงบันดาลสวนต่างๆ แก่พวกท่านและทรงบันดาลบรรดาสายน้ำแก่พวกท่าน" (4)


เชิงอรรถ :

1.ส่วนหนึ่งจาก “คุฏบะฮ์ ชะอ์บานียะฮ์” คำเทศนาของท่านศาสดา (ซ็อลฯ) ในวันศุกร์สุดท้ายของเดือนชะอ์บาน

2.เนื้อหาส่วนหนึ่งจากดุอาอ์กุเมล

3.อัลกุรอานบทอัลอันฟาล โองการที่ 33

4.อัลกุรอานบทนูห์ โองการที่ 10 ถึง 12


แปลและเรียบเรียง : เชคมุฮัมมัดนาอีม ประดับญาติ

ศูนย์สารสนเทศอิสลาม สถาบันส่งเสริมการศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับอิสลาม